ข่าว

ศาล MOU สธ.ส่งเสริมด้านแพทย์-สาธารณสุขในคดีเด็กเยาวชน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"เลขาฯ ศาลยุติธรรม" เผย  MOU ช่วย ให้การวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาลเที่ยงธรรมยิ่งขึ้น จากการมีแพทย์ช่วยตรวจ-รักษากรณีมีเหตุอันควรสงสัยพฤติการณ์จำเลยทางการแพทย์ เหมือนคดียาส่งตัว ตรวจวิกลจริสู้คดีได้หรือไม่-ส่งจำเลยบำบัดติดยา

 

 

 

                5 ก.พ.2563- ที่ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณ นนทุบรี เวลา 09.00 น. นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม และ "นายสุขุม กาญจนพิมาย" ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินกระบวนการยุติธรรมด้านคดีเด็ก เยาวชน และครอบครัวที่เกี่ยวของกับการสาธารณสุข ระหว่าง "สำนักงานศาลยุติธรรม" กับ "กระทรวงสาธารณสุข" โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ร่วมเป็นสักขีพยาน

 

 

อ่านข่าว - ศาล MOUก.ยุติธรรม-ป.ป.ส.จัดคลินิกให้คำปรึกษาแก้ปัญหาทำผิดซ้ำ
 

 

 

ศาล MOU สธ.ส่งเสริมด้านแพทย์-สาธารณสุขในคดีเด็กเยาวชน

 

 

                   โดย "นายสราวุธ เบญจกุล" เลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรม กล่าวว่า ภารกิจของศาลยุติธรรมมีหลายประการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานทางด้านสาธารณสุขของประเทศ เช่น การส่งตัวจำเลยในคดีอาญา ไปให้แพทย์ตรวจ หรือรักษากรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่า จำเลยวิกลจริตและไม่อาจต่อสู้คดีได้ , การกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมประพฤติจำเลยโดยให้ไปรับการบำบัดรักษาการติดยาเสพติด และความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจ

 

 

ศาล MOU สธ.ส่งเสริมด้านแพทย์-สาธารณสุขในคดีเด็กเยาวชน

 

 

              หรือความเจ็บป่วยอย่างอื่น ณ สถานที่และตามระยะเวลาที่ศาลกำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคดีเด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่ศาลอาจใช้มาตรการแทนการพิพากษาคดี เพื่อแก้ไขบำบัด ฟื้นฟูเด็กหรือเยาวชน ให้กลับคืนสู่สังคมได้อย่างปกติสุข ขณะที่กระทรวงสาธารณสุข ถือเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานด้านสาธารณสุขของประเทศ มีหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดที่ช่วยรองรับและสนับสนุนภารกิจของศาลยุติธรรมได้เป็นอย่างดี

 

 

 

ศาล MOU สธ.ส่งเสริมด้านแพทย์-สาธารณสุขในคดีเด็กเยาวชน

 

 

               "ความร่วมมืออันดีในครั้งนี้ จะช่วยส่งเสริมให้กระบวนการยุติธรรมด้านคดีเด็ก เยาวชน และครอบครัว ตามพ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีที่อาจมีปัญหาด้านสุขภาพจิต จิตเวช บุคลิกภาพ และสารเสพติด ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการตรวจประเมิน บำบัดรักษาและฟื้นฟู ได้รับความคุ้มครอง และช่วยให้การวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาลเป็นไปโดยเที่ยงธรรมยิ่งขึ้น" นายสราวุธ เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมกล่าวและว่า นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติ ตามพันธกิจของทั้ง 2 หน่วยงานในทุกระดับทั้งด้านบุคลากร ทรัพยากร และวิชาการ อีกด้วย

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ