ข่าว

นักโทษ 9 หมื่นคน เข้าเกณฑ์ติดกำไลอีเอ็ม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ปลัดยธ.พร้อมเปิดประมูลเช่าใช้กำไลอีเอ็ม คุมเข้มสเป็กไม่ให้บอบบาง สัญญาณเสถียร ประเมินนักโทษ 3.2 แสนคน อาจเข้าเกณฑ์ใส่กำไลอีเอ็ม 9 หมื่นคน ย้ำให้ความมั่นใจผู้พ้นโทษต้องไม่ออกไปสร้างความเดือดร้อน ปล่อยปีแรกทำผิดซ้ำสูง ต้องติดตามใกล้ชิด

 

 

 

             กระทรวงยุติธรรม -5 ก.พ.2563-นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณีคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการเช่าใช้อุปกรณ์กำไลอิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว หรือกำไลอีเอ็ม 30,000 เครื่อง ระยะเวลา 30 เดือน วงเงิน 877.26 ล้านบาทว่า หลังครม.อนุมัติงบประมาณกระทรวงยุติธรรมต้องจัดทำทีโออาร์ใหม่ โดยกรอบคุณสมบัติของกำไลอีเอ็มได้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) แล้ว ซึ่งทีโออาร์ได้ปรับปรุงจากข้อผิดพลาดของกำไลอีเอ็มเดิม

 

 

อ่านข่าว - กำไลอีเอ็มผิดสเปค ยธ.ฟ้องเรียกค่าปรับ 84 ล้าน

 

 

 

 

นักโทษ 9 หมื่นคน เข้าเกณฑ์ติดกำไลอีเอ็ม

 

 

                  ทั้งในระบบปฏิบัติการที่ต้องมีความเสถียร และตัววัสดุต้องมีความมั่นคงปลอดภัย สวมใส่ที่ข้อเท้า โดยขั้นตอนต่อไปต้องประกาศเปิดการประมูลเช่าใช้ระบบทั้งหมด 30,000 เครื่อง ซึ่งสามารถใช้งานได้ทันที ไม่ต้องทดสอบผ่านโครงการนำร่องใดๆ โดยนักโทษเด็ดขาดในเรือนจำทั้งสิ้น 320,000 คน เป็นผู้ต้อวโทษในคดีไม่ร้ายแรง เข้าเกณฑ์ที่จะใช้กำไลอีเอ็ม 90,000 คน ส่วนนักโทษที่จำคุกระหว่างการพิจารณาคดี 60,000 ราย ไม่อยู่ในเกณฑ์ใส่กำไลอีเอ็มของกระทรวงยุติธรรม

 

 

 

 

นักโทษ 9 หมื่นคน เข้าเกณฑ์ติดกำไลอีเอ็ม

 

                นายวิศิษฏ์ กล่าวอีกว่า สำหรับกำไลอีเอ็ม 30,000 เครื่อง จะนำมาใช้กับผู้เสพที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ผู้ที่ถูกศาลสั่งคุมประพฤติและผู้ต้องขังที่เข้าเกณฑ์พักการลงโทษในคดีไม่ร้ายแรง ซึ่งมีอยู่หลายหมื่นคน โดยเมื่อมีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์พักโทษ คือ รับโทษจำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 มีโทษจำคุกคงเหลืออยู่ตั้งแต่หลักเดือน จนถึง 2 ปี ส่วนนักโทษที่รับโทษมาแล้ว 2 ใน 3 แต่คงเหลือโทษจำคุกเกิน 3 ปี แม้จะมีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์การพักโทษแต่ต้องได้รับการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ 

 

 

                อย่างไรก็ตาม กระทรวงยุติธรรมให้ความสำคัญมาโดยตลอดว่า นักโทษที่ได้รับการพักโทษ ปล่อยก่อนกำหนดจะต้องไม่ออกไปสร้างผลกระทบต่อสังคม ซึ่งสถิติที่เก็บรวบรวมไว้พบว่า หลังพ้นโทษ 1 ปีแรก เป็นช่วงที่ผู้พ้นโทษมักกระทำความผิดซ้ำมากที่สุด จึงต้องมีระบบติดตามตัวอย่างเข้มงวด เช่น ไม่ออกจากบ้านในยามวิกาล หรือต้องอยู่ภายในพื้นที่จำกัด

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ