ข่าว

ภูมิปัญญาชุมชน แท้งค์น้ำยักษ์ แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ทำง่ายๆ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สุดยอดภูมิปัญญาชุมชน คิด ออกแบบ สร้าง แท้งค์น้ำยักษ์ แหล่งน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค ประปาชุมชน ทำง่ายๆ

วันที่ 28 มิ.ย.2563 ผู้สื่อข่าวรายงาน ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Ta Sithiporn  ได้มีเผยแพร่ภาพ  กลุ่มชาวบ้านได้รวมกันสร้างแท้งค์น้ำขนาดใหญ่ในชุมชมเพื่อกักเก็บน้ำฝน ไว้ใช้ในสวนเกษตร โดยแกนนำเกษตรกรที่มี ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร หรืออ.ยักษ์ และคุณ โจน จันได เครือข่ายศูนย์กสิกรรมธรรมชาติชุมชนต้นน้ำน่าน  โดยมีข้อความว่า

 

การเก็บน้ำด้วยแท้งค์ขนาดใหญ่ที่ชาวบ้านสามารถทำได้เอง​ โดยไม่เกี่ยวข้องกับระบบการก่อสร้างเชิงธุรกิจนี้ ปรากฏขึ้นครั้งแรกที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติชุมชนต้นน้ำน่าน​(ชตน.)​ ผู้ที่คิดค้นวิธีทำแท้งค์นี้คือ​ อาจารย์ยักษ์​ เราจึงเรียกกันว่า​ "แท้งค์ยักษ์" ในครานั้นผู้ที่ควบคุมการสร้างเป็นครั้งแรกคือ​ พี่โจน​ จันได​ ภายหลังท่านอาจารย์จึงได้ให้คำนิยามว่า​ "แท้งค์ยักษ์มาตรฐานโจน"

ภูมิปัญญาชุมชน แท้งค์น้ำยักษ์ แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ทำง่ายๆ

ปัจจุบัน​ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติชุมชนต้นน้ำน่าน (ชตน.​) ได้เป็นศูนย์รวมของแท้งค์ยักษ์เกิดขึ้นเกือบ ๑๐​แท้งค์​ และพี่กุล​ กุล​ ปัญญาวงศ์ยังได้ส่งเสริมให้ไปสร้างแท้งค์ยักษ์ขนาดมหึมาขึ้นที่บ้านใหม่ภูคา​ หรือดอยภูคา​ นอกจากนี้ยังมีพี่น้องเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติได้ทำใช้เองในหลายพื้นที่ด้วยกัน​ เช่น​ ที่​ กาญจนบุรี​ พี่น้องชาวปิล๊อกคี่​ ได้เป็นตัวอย่างที่ดีของการร่วมแรงร่วมใจกันสร้างขึ้น​ โดยใช้งบประมาณที่ไม่มากนัก

 

ต้นปี พ.ศ.2562​ อาจารย์ยักษ์ (ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร)​ ปรารภกับลูกศิษ์ที่มาบเอื้องว่า อยากจะทำแท้งค์เก็บน้ำยักษ์ไว้ที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง เพื่อให้เป็นตัวอย่างของการเก็บน้ำให้ได้ซัก 170,000 ลิตร สร้างแบบบ้านๆ​ ง่ายๆ งบประมาณน้อยๆ​ ใช้วัสดุที่หาเอาได้ในพื้นที่ คนในชุมชนซึ่งมีภูมิความรู้เกี่ยวกับไม้ไผ่อยู่แล้ว​สามารถทำตามได้ ช่วยกันลงแขก​ ไม่นานก็เป็นแท้งค์น้ำขนาดยักษ์​ ซึ่งอาจจะเป็นของส่วนรวมที่ชุมชนสามารถใช้น้ำร่วมกันได้ มุ่งเก็บน้ำฝนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อที่ชุมชนจะได้มีน้ำกิน น้ำใช้ ได้ตลอดหน้าแล้ง​

 

แท้งยักษ์นี้ถ้าจะให้ดี​ ก็ควรจะสร้างบนที่สูงกว่าระดับพื้นทั่วไป​ จะทำให้การจ่ายน้ำเพื่อการอุปโภค​ บริโภคง่ายขึ้น​ คือสมมุติว่ากลางวันก็ใช้พลังงานแสงอาทิตย์สูบน้ำจากหนอง​ จากบ่อ​ ขึ้นไปเก็บในแท้งค์​ การจ่ายน้ำลงก็จะประหยัดหรือแทบไม่มีการใช้พลังงานเลยก็ว่าได้

 

ข้าพเจ้านำมาเผยแพร่นี้ด้วยเหตุที่ได้รับมอบหมายให้ควบคุมการก่อสร้างขึ้นที่มาบเอื้องจึงพอรู้​ พอเข้าใจในกระบวนทำแท้งค์ยักษ์ ทั้งนี้​ ข้าพเจ้าไม่มีความรู้แวดล้อมเชิงวิศวกรรมทางการก่อสร้างแต่อย่างใด​ เป็นเพียงเชื่อมั่นและศรัทธาอย่างแรงกล้าในสิ่งอาจารย์สอนคือ​ "คิดพึ่งตน"

มาบัดนี้ข้าพเจ้าเชื่อว่าเราอยู่สมัยที่ไม่มีทางเลือกอื่น​ นอกจากจะพึ่งพาตนเองให้ได้​ ใช่หรือไม่ว่าการลุกขึ้นมาจัดการและรับผิดชอบกับทุกสิ่ง​ ทุกอย่างด้วยมือข้างของตนเอง​นั้น​เป็นความจำเป็นเร่งด่วนของทุกครอบ​ ทุกชุมชน

ภูมิปัญญาชุมชน แท้งค์น้ำยักษ์ แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ทำง่ายๆ

สิ่งสำคัญที่โปรดจงจำให้ขึ้นใจว่า

"ความขาดแคลนไม่เป็นปัญหา​ ถ้ามีปัญญาและความอดทน"

วิธีการทำพอสังเขป (รายละเอียดกรุณาอ่านคำบรรยายใต้ภาพ)​

๑. ขั้นตอนการสร้างแท้งค์น้ำยักษ์ การขุดดินและการทำคานคอดิน

๑.๑ปรับพื้นที่ให้เรียบ​ให้ได้ระดับในแนวราบ​ กำหนดขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลาง​ด้วยการหาจุดศูนย์กลางของแท้งค์

๑.๒ใช้ไม้หรือเหล็กตอกที่จุดศูนย์กลางข้าพเจ้าใช้เชือกคล้องที่หลักศูนย์กลาง​ วาดรัศมีตามขนาดที่ต้องการ

๑.๓​ เมื่อได้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางแล้ว​ จึงขุดเอาดินด้านในของแท้งค์ออก​ เพื่อให้ฐานของแท้งค์อยู่ลึกลงไปประมาณ๑.๕​ ม.

๑.๔​ การขุดสามารถทำได้๒วิธี​ คือใช้คนขุด​ กับใช้รถขุด​ มีข้อแนะนำว่า​ ไม่ว่าจะขุดด้วยวิธีไหน​ ขอให้ขอบของแท้งค์​ เป็นแนวดิ่งตั้งฉาก๙๐องศากับระนาบของพื้นดินเสมอ

๑.๕​ ปรับระดับของพื้นให้ได้ระนาบ​๑๘๐​องศา​ ปรับระดับของผนังให้ตั้งฉากกับพื้น

๑.๖​ ขุดดินเป็นร่อง(สี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้ง)​โดยรอบวงกลม​ เพื่อทำเป็นคานคอดินรับน้ำหนักของแท้งค์(ขั้นตอนเดียวกันการทำคานคอดินในกระบวนการก่อสร้างทั่วไป)​ กำหนดจุดที่จะเป็นท่อระบายน้ำ​ ขุดวางท่อขนาด4นิ้วให้ลอดใต้คานคอดิน​ ให้ปลายที่อยู่ในแท้งค์ใส่ข้องอ๙๐องศา​ ต่อท่อโผล่ขึ้นมาประมาณ30ซม.(เผื่ตัดปลาย)​

ภูมิปัญญาชุมชน แท้งค์น้ำยักษ์ แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ทำง่ายๆ

๑.๗​ ใช้ไม้ไผ่แทนเหล็กเสริมคอนกรีต​ แล้วจึงเทปูนซีเมนต์โครงสร้าง

๑.๘​ เมื่อเทปูนซีเมนต์​แล้วให้ใช้ไม้ไผ่ขนาดความยาวประมาณ๒ม.​ เสียบลงในปูนซีเมนต์ในแนวดิ่ง​ ระยะห่างกัน๕๐ซม.​ เพื่อที่จะใช้เป็นโครงสำหรับสานไม้ไผ่ขึ้นไป

๒. เทคนิคการขึ้นโครง

๒.๑​ เมื่อเทคานคอดินแล้ว​ ก็ทำการสานไม้ไผ่เป็นตัวเสริมคอนกรีตที่พื้น

๒.๒​ เทพื้นโดยใช้ปูนซีเมนต์โครงสร้างหนาอย่างน้อย​ ๑๕​ ซม.

ภูมิปัญญาชุมชน แท้งค์น้ำยักษ์ แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ทำง่ายๆ

๓. การทำผนัง และการก่อฉาบ

๓.๑​ ผ่าไม้ไผ่เป็นเส้นๆ​ ความกว้างของแต่ละเส้นประมาณ๓ซม.​ ลบคมให้เรียบร้อย​ สานชิดกันจากไม้ไผ่ที่ทำการเสียบลงในคอนคอดินไว้แล้ว​ขึ้น​ ในลักษณะ​ สานกระบุง​

๓.๒​ เมื่อสานไม้ไผ่สูงขึ้น​ ประมาณ​ ๑​ ม.ให้ทำการฉาบปูนซีเมนต์ที่ไม้ไผ่​ ให้หนาประมาณ​ ๓​ซม.​ เพื่อที่เพื่อที่จะเป็นแบบสำหรับจะเทปูนซีเมนต์ลงไปเป็นผนังของแท้งค์ (ในช่วงนี้ให้วางท่อน้ำออกผ่านทะลุผนังไว้ด้วย)​

๓.๓​ เมื่อฉาบปูนซีเมนต์แห้งได้ที่แล้วให้เทกรอกปูนซีเมนต์โครงสร้างลงไปในช่อง​ ระหว่างดินกับผนังไม้ไผ่​ กระทุ้งเสียบ​น้ำปูน​ อย่าให้มีช่องว่าง

๓.๔​ ค่อยๆทำผนังแท้งค์ขึ้นไปที่ละช่วง​ ช่วงละ​๑​ ฟุต​ อย่าทำทีละช่วงเกินกว่า​ ๑​ ฟุต​ เพราะจะทำให้ผนังไม้ไผ่่ที่ฉาบปูนแล้ว​ ปริแตกได้

ภูมิปัญญาชุมชน แท้งค์น้ำยักษ์ แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ทำง่ายๆ

๓.๕​ เมื่อทำผนังโผล่พ้นระดับของพื้นดินเดิม​ บางวิธีก็ใช้ไม้อัดทำเป็นแบบที่ด้านนอกของแทงค์​ สานไม้ไผ่และฉาบแต่ด้านในของผนัง​ แต่สำหรับวิธีของข้าพเจ้านั้น​ ใช้วิธีสานไม้ไผ่ที่ชั้นนอก​แล้วฉาบปูน​ ซึ่งจะทำเป็นแบบสำหรักเทปูนไปในตัว​ และให้ควบคุมลักษณะของทรงกลม​มิให้บิดเบี้ยวได้ดีกว่า​ การใช้ไม้อัดทำเป็นแบบที่ด้านนอก​

๓.๖​ ให้สานไม้ไผ่​ ฉาบ​เพิ่มความหนา ตกแต่งผิวเรียบเนียน และกรอกปูนซีเมนต์ขึ้นไปเป็นช่วงๆ​ ช่วงละ​ ๑​ ฟุต​ จนได้ความสูงที่ต้องการ​ มีข้อแนะนำว่า​ แต่ละช่วงของการสานไม้ไผ่และเทปูนซีเมนต์ให้ปรับตรวจดูระดับในแนวระนาบของการเทปูนฯด้วย​ ไปจนเมื่อถึงระดับที่ต้องการจะทำให้แท้งค์มีขอบบนที่ได้ระนาบ​ดี

๓.๗​ หากประสงค์จะให้แท้งค์ยักษ์มีความแข็งแรงยิ่งขึ้น​ ท่านให้เอาดินมาเสริมหนุนที่ด้านนอกของแท้งค์​ ก็จะทำให้มั่นคงยิ่ง

ภูมิปัญญาชุมชน แท้งค์น้ำยักษ์ แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ทำง่ายๆ

๔​ .​ การคำนวณปริมาณน้ำ

๔.๑​ แท้งค์ยักษ์ที่ศูนย์กสิดรรมธรรมชาติมาบเอื้อง​ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง​ ๗​ ม.​ สูง​ ๔.๕​ ม.​ ในที่นี้เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณแก่บุคคลทั่วไปจะขอเอาสูตรคำนวญง่ายๆมาแนะนำ

สูตรการคำนวณหาปริมาตรทรงกระบอก​ทั่วไป

 

ดังนั้น​ ๓.๑๔×๑๒.๒๕×๔.๕๐

= ๑๗๓.๐๙๒๕​ ลบม.  หรือ​ = ๑๗๓,๐๙๒.๕​ ลิตร

๔.๒​ ส่วนการคำนวณหาปริมาตรของผนังและพื้น​ จะไม่ขอนำมาลงไว้ณ.ที่นี้​ กรุณาค้นคว้าเพิ่มเติม

ภูมิปัญญาชุมชน แท้งค์น้ำยักษ์ แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ทำง่ายๆ

๕.​ การทำระบบน้ำเข้าและการระบายน้ำออก

๕.๑​ การทำระบบน้ำเข้าไปเก็บในแท้งค์ยักษ์สามารถนำเข้าด้านบนได้เลย​ แต่ระบบน้ำออกเพื่อนำออกไปใช้นั้น​ ขอแนะนำให้ทำท่อน้ำออกอยู่เหนือพื้นของแท้งค์ประมาณ​ ๑ฟุต​ โดยการวางท่อPVCขนาดที่เห็นสมควรผ่านทะลุผนัง​ เพื่อจ่ายน้ำออกไป

๕.๒​ สำหรับการระบายน้ำออกเพื่อการทำความสะอาด​ ให้ปากของท่อระบายอยู่ต่ำเสมอพื้นของแท้งค์​ ก็จะสามารถขจัดเศษวัสดุ​ หรือตะกอนดินที่จะปรากฏอยู่ก้นแท้งค์ได้ง่ายขึ้น

ภูมิปัญญาชุมชน แท้งค์น้ำยักษ์ แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ทำง่ายๆ

๖​. การตบแต่งพื้นที่โดยรอบเพื่อความสวยงามและใช้พื้นที่ให้คุ้มค่า​ ส่วนโครงหลังคาจอแนะนำให้ทำหลังคาเพื่อป้องกันไม่ให้ใบไม้ปลิวลงแท้งค์ได้ซึ่งจะทำให้น้ำเสีย

ภูมิปัญญาชุมชน แท้งค์น้ำยักษ์ แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ทำง่ายๆ

ภูมิปัญญาชุมชน แท้งค์น้ำยักษ์ แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ทำง่ายๆ

 

ข้อมูล Ta Sithiporn

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ