ข่าว

 เปิด3แนวทางแก้หนี้"สหกรณ์"ฝ่าโควิด-19 มั่นใจช่วยสมาชิกกว่า11ล้านรายพ้นวิกฤติ  

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

 เปิด3แนวทางแก้หนี้"สหกรณ์"ฝ่าโควิด-19 มั่นใจช่วยสมาชิกกว่า11ล้านรายพ้นวิกฤติ  

           หลังไวรัสโควิด – 19 ระบาด กระทบต่อรายได้ของสมาชิกและการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ ล่าสุดรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์"มนัญญา ไทยเศรษฐ์" ซึ่งกำกับดูแลกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้แถลงออกมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาปัญหาหนี้สินให้กับสมาชิกสหกรณ์และสหกรณ์ทั่วประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโควิค – 19 ระบาด โดยการให้สหกรณ์ผ่อนผันการชำระหนี้และปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้สมาชิก ให้มีเงินเหลือใช้จ่ายในครอบครัว พร้อมเจรจาธ.ก.ส. ขยายเวลาชำระหนี้ให้กับสหกรณ์ เพื่อให้มีสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจและสามารถดูแลการประกอบอาชีพของสมาชิก จนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ 

 เปิด3แนวทางแก้หนี้"สหกรณ์"ฝ่าโควิด-19 มั่นใจช่วยสมาชิกกว่า11ล้านรายพ้นวิกฤติ  

                                     มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรฯ

            จากข้อมูลระบุปัจจุบันมีสหกรณ์ทั่วประเทศทั้งสิ้น 6,579 แห่ง สมาชิกกว่า 11 ล้านคน เป็นสหกรณ์ภาคการเกษตร จำนวน 3,453 สหกรณ์ มีสมาชิกที่กู้ยืมเงินจากสหกรณ์เพื่อไปประกอบอาชีพทางการเกษตร 1.035 ล้านคน จำนวนเงิน 178,473.04 ล้านบาท ซึ่งเงินที่ให้สมาชิกกู้ยืม ส่วนหนึ่งมาจากทุนของสหกรณ์เอง และบางสหกรณ์กู้ยืมมาจากแหล่งเงินทุนภายนอก ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) กองทุนพัฒนาสหกรณ์ และสถาบันการเงินอื่น ๆ 

           ส่วนสหกรณ์นอกภาคการเกษตร อาทิ สหกรณ์ออมทรัพย์ เครดิตยูเนี่ยน บริการ และร้านค้า มีจำนวน  3,126 สหกรณ์และที่ได้รับผลกระทบประมาณ 600 แห่ง เป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการณ์และรัฐวิสาหกิจ สมาชิก 188,700 ราย วงเงินกู้ 122,807 ล้านบาท สำหรับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีจำนวน 36 แห่ง สมาชิก 36,500 ราย วงเงินกู้ 600 ล้านบาท และสหกรณ์เดินรถ ซึ่งเป็นสหกรณ์บริการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจภาคการท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ซึ่งมีจำนวน 230 แห่ง สมาชิก 100,207 ราย มีการให้เงินกู้ยืมแก่สมาชิกรวม 1,444.85 ล้านบาท

 เปิด3แนวทางแก้หนี้"สหกรณ์"ฝ่าโควิด-19 มั่นใจช่วยสมาชิกกว่า11ล้านรายพ้นวิกฤติ  

                                     พิเชษฐ์ วิริยะพาหะ

   พิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์มีมาตรการช่วยเหลือบรรเทาภาระชำระหนี้ให้แก่สมาชิกสหกรณ์และสหกรณ์ โดยออกเป็นประกาศนายทะเบียนสหกรณ์ ให้สหกรณ์ใช้เป็นแนวทาง ในการ บรรเทาความเดือดร้อนของสมาชิกสหกรณ์ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคโควิด – 19 ในขณะนี้ โดยขอความร่วมมือสหกรณ์ผ่อนผันการชำระหนี้ให้กับสมาชิก ทั้งขยายเวลาการชำระหนี้ การพักชำระหนี้เป็นการชั่วคราว ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ส่วนการชำระค่าหุ้นของสมาชิก ขอให้ปรับลดหรืองดส่งค่าหุ้นรายเดือนเป็นการชั่วคราว หรืองดหักส่งค่าหุ้นตามส่วนของเงินกู้ จนกว่าจะเข้าสู่สถานการณ์ปกติ

 เปิด3แนวทางแก้หนี้"สหกรณ์"ฝ่าโควิด-19 มั่นใจช่วยสมาชิกกว่า11ล้านรายพ้นวิกฤติ   สมาชิกสหกรณ์

       "สำหรับมาตรการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาภาระหนี้สินในส่วนของสหกรณ์ มี 3 แนวทาง ได้แก่ สหกรณ์ที่เป็นลูกหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ประสานขอความร่วมมือ ธ.ก.ส. ผ่อนผันการชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์ที่ได้รับผลกระทบ โดยขอขยายระยะเวลาการชำระหนี้ให้สหกรณ์ ไม่เกิน 20 ปี ปลอดชำระต้นเงิน 3 ปีแรก และขอสินเชื่อเพื่อการฟื้นฟูการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ำกว่า MLR-1 ต่อปี หากสหกรณ์ใด มีความประสงค์จะเข้าร่วมมาตรการดังกล่าว สามารถติดต่อ ธ.ก.ส. สาขาที่สหกรณ์กู้ยืมเงิน"

      อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์เผยต่อว่าสำหรับสหกรณ์ที่เป็นลูกหนี้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) ให้ขยายเวลาการชำระหนี้ได้ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2563 ซึ่งสหกรณ์จะต้องผ่อนผันขยายระยะเวลาการชำระหนี้ให้แก่สมาชิกผู้กู้เงินจากสหกรณ์เช่นเดียวกัน ส่วนกลุ่มเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร จะได้รับการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ที่จะครบกำหนดชำระออกไปอีก 1 ปี โดยขยายเวลาชำระหนี้ไปจนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 และกลุ่มเกษตรกรจะต้องขยายระยะเวลาการชำระหนี้ งดคิดดอกเบี้ยและค่าปรับกับสมาชิกด้วย ซึ่งสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่จะขอขยายเวลาการชำระหนี้จากกองทุนพัฒนาสหกรณ์และกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร สามารถยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดทุกจังหวัด

      ทั้งนี้ทุกมาตรการจะช่วยบรรเทาปัญหาภาระหนี้สินให้กับสหกรณ์และสมาชิกสหกรณ์ในช่วงสถานการณ์ การระบาดของโรคโควิด – 19 โดยคาดว่าสหกรณ์ภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตร จำนวน 2,660 แห่ง ที่ขยายเวลาการ ชำระหนี้หรือพักชำระหนี้เป็นการชั่วคราว มีสมาชิกจะได้รับประโยชน์ 5.79 ล้านคน ต้นเงินกู้จำนวน 1,296,843.76 ล้านบาท มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง ร้อยละ 0.50 คิดเป็นมูลค่า 6,480 ล้านบาท ซึ่งการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่สมาชิก ในครั้งนี้ จะช่วยให้สมาชิกสหกรณ์ได้มีเงินเหลือจากการที่สหกรณ์ขยายระยะเวลาชำระหนี้หรือพักหนี้เป็นการชั่วคราว และลดดอกเบี้ยเงินกู้ เฉลี่ยรายละ 19,720 บาทต่อเดือน และมีเงินเหลือจากการปรับลดค่าหุ้นรายเดือนหรืองดส่งค่าหุ้น ตามส่วนของเงินกู้อีกเดือนละประมาณ 430 บาท ซึ่งสมาชิกจะมีเงินเหลือใช้จ่ายในครัวเรือน เฉลี่ยเดือนละ 20,150 บาท

   พิเชษฐ์กล่าวต่อว่าสำหรับการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ให้สหกรณ์การเกษตรที่เป็นลูกหนี้ ธ.ก.ส.และได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ คาดว่าจะช่วยแก้ไขปัญหาหนี้ผิดนัดของสหกรณ์ได้ 710 แห่ง มูลหนี้ 48,800 ล้านบาท ส่วนสหกรณ์ที่เป็นลูกหนี้ กองทุนพัฒนาสหกรณ์ 917 แห่ง ที่ได้รับการขยายเวลาชำระหนี้ จะมีเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ และส่งผลให้สมาชิกสหกรณ์ 108,740 ราย ได้รับผ่อนผันการชำระหนี้รายละ 24,000 บาท และกลุ่มเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร 1,392 แห่ง ที่ได้รับการขยายเวลาชำระหนี้ไปจนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 จะมีเงินทุนหมุนเวียนเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพให้แก่สมาชิก 704.98 ล้านบาท

   อย่างไรก็ตามอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ย้ำด้วยว่าทุกมาตรการจะช่วยผ่อนปรนภาระหนี้สินให้กับสมาชิกสหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกรได้มีเงินสำหรับใช้จ่ายในการดำรงชีพและนำไปลงทุนประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ในช่วงสถานการณ์ปัจจุบัน และส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมและที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ออกเป็นคำแนะนำไปยังสหกรณ์นั้น แต่ละสหกรณ์สามารถเลือกใช้และนำไปปฏิบัติให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการดำเนินงานของสหกรณ์ เพื่อร่วมกันดูแล ความเป็นอยู่และแบ่งเบาภาระหนี้สินให้กับสมาชิกสหกรณ์ จนกว่าจะกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติต่อไป

     

                   

                 ดันสหกรณ์การเกษตรเป็น“ธนาคารอาหาร” 

             มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์โควิด 19 ส่งผลต่อการกระจายผลผลิตทางการเกษตร จึงมีแนวคิดให้สหกรณ์การเกษตรในแต่ละจังหวัดเป็นแหล่งผลิตและกระจายผัก ผลไม้ สำหรับบริโภคในพื้นที่ เนื่องจากหากแต่ละจังหวัดเริ่มมีการเคอร์ฟิว อาจส่งผลต่อการหาหาซื้อสินค้าไว้บริโภคประจำวันได้ ดังนั้น หากแต่ละจังหวัดมีผลผลิตในพื้นที่เองก็จะทำให้บรรเทาความเดือดร้อนลง

 เปิด3แนวทางแก้หนี้"สหกรณ์"ฝ่าโควิด-19 มั่นใจช่วยสมาชิกกว่า11ล้านรายพ้นวิกฤติ  

           “ต้องการให้แต่ละจังหวัดมีแหล่งผลิตของตนเอง เป็นธนาคารอาหาร เป็นความมั่นคงด้านอาหารในพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมาได้พัฒนาเกาะเทโพ ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกผักใช้สารเคมีมาก่อน ต่อมาได้พัฒนาให้เป็นอินทรีย์ เพื่อส่งออกปัจจุบันผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาด เมื่อมีสถานการณ์นี้ก็จะใช้เป็นแหล่งผักที่อุทัยธานี ส่งให้วัดท่าซุงเพื่อเป็นโรงทาน และจัดพื้นที่จำหน่ายแล้ว ทางวัดท่าซุงจะช่วยในเรื่องเมล็ดพันธุ์ผัก เพื่อลดต้นทุนให้สมาชิก จากแนวคิดนี้ ก็จะส่งเสริมให้แต่ละจังหวัดหันกลับไปทำเพื่อให้คนในจังหวัดมีผัก ผลไม้ดีรับประทาน เพื่อต่อสู้โรคโควิด 19 เพราะจะช่วยลดเบาหวานทำให้เสี่ยงโควิด 19 น้อยลง”รมช.เกษตรฯกล่าว

 เปิด3แนวทางแก้หนี้"สหกรณ์"ฝ่าโควิด-19 มั่นใจช่วยสมาชิกกว่า11ล้านรายพ้นวิกฤติ  

          พิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวเสริมว่า เบื้องต้นมี 10 จังหวัดที่พร้อมดำเนินการได้ทันที เพราะมีการผลิตผักเพื่อจำหน่าย เช่น อุทัยธานี กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ ลำปาง เพชรบุรีเพชรบูรณ์ เป็นต้น ซึ่งผักปลูกระยะสั้น 45 วันมีผลผลิตออกมาก็จะช่วยเติมเต็มในระบบตลาดในพื้นที่นั้น ๆ ได้ซึ่งกรมจะช่วยเหลือในเรื่องการลดต้นทุนการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ และจะเชื่อมโยงระหว่างสหกรณ์ บ้าน และวัด เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เป็นสำคัญ 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ