ข่าว

 เปิดมาตรการผลไม้ไทยรุกตลาดโลก ปรับกลยุทธ์ฝ่าวิกฤติ"โควิท-19

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

 เปิดมาตรการผลไม้ไทยรุกตลาดโลก ปรับกลยุทธ์ฝ่าวิกฤติ"โควิท-19"

             เคราะห์ซ้ำกรรมซัดชาวสวนผลไม้ภาคตะวันออกที่ผลผลิตกำลังออกสู่ตลาดต้องมาเจอสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาด ที่จะส่งผลกระทบการส่งออกไปยังตลาดหลักอย่างสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ โดยเฉพาะทุเรียน มังคุด และเงาะ ที่ปีนี้(2563)คาดว่าจะมีปริมาณรวมกว่า 84,275 ตัน โดยเฉพาะทุเรียนนั้นมีมากถึง 584,712 ตันที่จะออกสู่ตลาดในเดือนเมษายน-พฤษภาคมนี้ 

 เปิดมาตรการผลไม้ไทยรุกตลาดโลก ปรับกลยุทธ์ฝ่าวิกฤติ"โควิท-19

ทุเรียน ราชาผลไม้

 

         จากข้อมูลที่คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ระบุในภาวะปกติหากไม่มีผลกระทบไวรัสโควิด คาดว่าจะส่งออกทุเรียน 409,298 ตัน แต่หากเจอภาวะเช่นนี้คาดว่าจะส่งออกทุเรียนได้แค่ 350,827 ตันเท่านั้น ส่วนที่เหลืออีก 2 แสนกว่าตันคงต้องกระจายสู่ผู้บริโภคภายในประเทศแทน 

           สำหรับมาตรการช่วยเหลือในการกระจายผลผลิตผลไม้จากการประชุมของคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้หรือฟรุ๊ตบอร์ด(Fruit Board) ครั้งที่ 2/2563 ณ กรมส่งเสริมการเกษตร ที่มี“อลงกรณ์ พลบุตร” ที่ปรึกษารมว.เกษตรฯ เป็นประธานเมื่อปลายสัปดาหืที่ผ่านมา มีข้อสรุป 4 ประการ ประกอบด้วย 1.โครงการประสานใจเกษตรกรไทยสู่พี่น้องชาวจีนสู้ วิกฤติโควิด-19 โดยจะส่งมอบผลไม้ไทยให้พี่น้องชาวจีน ช่วงวันที่ 25 เม.ย. – 10 พ.ค. 2563  2.โครงการรณรงค์ส่งเสริมการบริโภคผลไม้ภายในประเทศ Eat Thai First เพื่อส่งเสริมให้คนไทยได้บริโภคผลไม้ไทยเกรดพรีเมี่ยมในราคายุติธรรมตามฤดูกาล 

      3.โครงการสินค้าเกษตรไทยปลอดภัยจากโควิด-19  เพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพสินค้าเกษตรไทยและ 4.โครงการหาตลาดใหม่สินค้าเกษตรเพิ่มเติม ได้แก่ การจัดแคมเปญ/นิทรรศการ/Road Show/Exhibition ในประเทศต่าง ๆ  นอกจากนี้ ได้เร่งศึกษากฎระเบียบการส่งออกผลไม้ไปประเทศอื่น ๆ ที่มีศักยภาพ  

 เปิดมาตรการผลไม้ไทยรุกตลาดโลก ปรับกลยุทธ์ฝ่าวิกฤติ"โควิท-19

มังคุด ราชินีผลไม้

            ส่วนการช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการ ทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ขอความร่วมมือ ธ.ก.ส. ผ่อนปรนการชำระหนี้ให้กับเกษตรกร โดยบอร์ด ธ.ก.ส. ได้พิจารณาอนุมัติมาตรการ ช่วยเหลือเกษตรกรในการปรับโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้โดยปลอดการชำระหนี้เป็นเวลา 3 ปี ระยะเวลาการดำเนินมาตรการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 – 31 ธันวาคม 2564 และ  สนับสนุนสินเชื่อฟื้นฟูเพื่อเสริมสภาพคล่องให้เกษตรกร สถาบันเกษตร และผู้ประกอบการเพื่อนำไปเสริมสภาพคล่องดำเนินธุรกิจ  

          ขณะที่กระทรวงพาณิชย์เอง โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ก็ได้นำทีมผู้ประกอบการส่งออกผลไม้ไทยกว่า 70 ราย ร่วมเจรจาซื้อขายกับผู้นำเข้า ผู้ซื้อ และตัวแทนจำหน่ายจากภูมิภาคต่าง ๆ 45 บริษัท จาก 13 ประเทศทั่วโลก ขณะเดียวกันยังได้จัดพิธีลงนามความตกลงทางการค้า (MOU) สร้างความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยกับคู่ค้าจากสิงคโปร์และฮ่องกง ในการซื้อขายสินค้าผลไม้สด ผักสด และผลไม้อบแห้งต่าง ๆ กว่า 10,000 ตัน รวมมูลค่าซื้อขายกว่า 1,095 ล้านบาทด้วย ทั้งนี้เพื่อรองรับผลผลิตที่จะออกมาจำนวนมากในช่วงฤดูกาลผลไม้ที่จะถึง 

          โดยหนึ่งในบริษัทคู่ค้าที่ได้ร่วมลงนามข้อตกลงกันนั้น คือ บริษัท สวีต บี ฟาร์ม จำกัด ร่วมกับ บริษัท เลิฟ ฟาร์ม กรุ๊ป จำกัด ลงนามความตกลงกับ บริษัท ยูนิฟายด์ อินเวสท์เมนต์ แอนด์ โฮลดิ้งส์ จำกัด เพื่อขยายตลาดผลิตภัณฑ์ผลไม้ไทยสู่ประเทศสิงคโปร์

         มร.พี เอช โลว ผู้บริหาร บริษัท ยูนิฟายด์ อินเวสท์เมนต์ แอนด์ โฮลดิ้งส์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทเป็นหนึ่งในบริษัทสัญชาติสิงคโปร์ที่เน้นการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากประเทศไทยโดยเฉพาะ ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปและของทานเล่นประเภทต่าง ๆ ก่อนหน้านี้ มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากประเทศอื่น ๆ ด้วย แต่เมื่อได้ศึกษาด้านการรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาล (Halal) ตลอดจนถึงการผลิตและกระบวนการแปรรูปผลไม้ของประเทศไทย ทำให้ทางบริษัทตัดสินใจที่จะมุ่งเน้นเฉพาะการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากประเทศไทยโดยเฉพาะ และมีการดำเนินงานอยู่ในธุรกิจนี้มาประมาณ 6 ปีแล้ว นอกจากจะจัดจำหน่ายในสิงคโปร์ แล้วยังมีการทำตลาดในฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ด้วย

 เปิดมาตรการผลไม้ไทยรุกตลาดโลก ปรับกลยุทธ์ฝ่าวิกฤติ"โควิท-19

     มร.พี เอช โลว 

        “แนวโน้มของตลาดผู้บริโภคชาวสิงคโปร์นั้น ผู้บริโภคยุคใหม่ถือเป็นกลุ่มที่เน้นด้านสุขภาพมากขึ้น มีความรู้และความตื่นตัวในด้านสุขภาพ ค้นหาข้อมูลสุขด้านภาพ มีการบริโภคน้ำตาลและความหวานที่ลดลง สถานกาณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิท-19 ขณะนี้ มองว่าแม้ผู้บริโภคบางส่วนจะลดการออกมาจับจ่ายใช้สอย แต่ผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปยังมีลู่ทางที่สามารถจัดจำหน่ายได้ทางแพลตฟอร์มออนไลน์ บริษัทจึงเล็งเห็นโอกาสในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และมองเห็นถึงโอกาสในการนำเข้าผลิตภัณฑ์อื่นๆ รวมถึงผลไม้สดจากประเทศไทยอีกด้วย อาทิ มะม่วง ลำไยอบแห้ง หรือสับปะรด”

        อย่างไรก็ตามบริษัท ยูนิฟายด์ อินเวสท์เมนต์ แอนด์ โฮลดิ้งส์ จำกัด ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) นำเข้าผลิตภัณฑ์แปรรูปกับบริษัท สวีต บี ฟาร์ม จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์แบรนด์ “บ้านมะขาม” และบริษัท เลิฟ ฟาร์ม กรุ๊ป จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูป แบรนด์ ”เลิฟฟาร์ม” ในการนำเข้าผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปเป็นมูลค่ารวม 500,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 15.8 ล้านบาท) 

 

 

        อุบลรัตน์ โฆวงศ์ประเสริฐ รองประธานฝ่ายขายและการตลาด บริษัท สวีต บี ฟาร์ม จำกัด และผู้ก่อตั้งบริษัท เลิฟ ฟาร์ม กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า จากสถานการณ์ปัจจุบันมีผลกระทบบ้างในส่วนของตลาดส่งออกไปยังประเทศจีน เนื่องจากเป็นตลาดหลัก แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีคำสั่งซื้อจากประเทศญี่ปุ่น เกาหลี และสิงค์โปร์อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าประเทศเหล่านี้จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิท-19 เช่นกัน  ส่วนในยุโรปปัจจุบันมีตัวแทนในประเทศอังกฤษ ซึ่งจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของทั้งสองแบรนด์ โดยเน้นวางจำหน่ายในซูเปอร์มาเก็ตในย่านชุมชนชาวเอเชียเป็นหลัก และขณะนี้กำลังวางแผนขยายตลาดไปยังแถบตะวันออกกลาง เนื่องจากเป็นตลาดที่มีศักยภาพและมีกำลังซื้อสูง โดยได้มีการทดลองจำหน่ายสินค้าในบางประเทศไปบ้างแล้ว  โดยเฉพาะบาห์เรนให้การตอบรับและมีการสั่งซื้อสินค้าเข้ามาอย่างต่อเนื่อง 

        นับเป็นอีกก้าวของผลไม้ไทยในการปรับกลยุทธ์ส่งออกด้วยการแปรรูปแทนผลไม้สดเพื่อฝ่าสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ