ข่าว

 เสียงเพรียกจาก"เกษตรกรสายสวย"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

 เสียงเพรียกจาก"เกษตรกรสายสวย"เดินตามศาสตร์พระราชาฝ่า"วิกฤติ"

          เช้าวันปลายเดือนแห่งความรักเป็นอีกวันที่เหล่าบรรดาเกษตรกรรุ่นใหม่ต่างยินดีปรีดากับความสำเร็จในการเรียนหลักสูตรศาสตร์แห่งแผ่นดินจากวิทยาลัยบูรณาการศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่สำเร็จเป็นรุ่นแรกจำนวน 185 คนในการศึกษาแบบ“นอนดีกรีหรือไม่มีปริญญา” ซึ่งได้จัดพิธีมอบใบประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ณ ห้องรวงข้าว อาคารวชิรานุสรณ์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โดยได้รับเกียรติจากรักษาการอธิการบดี“ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์”เป็นประธานในการมอบ

 เสียงเพรียกจาก"เกษตรกรสายสวย"

 

 

         วิทยาลัยบูรณาการศาสตร์ เป็นการจัดการเรียนการสอนระยะสั้นใช้วเลา 4 เดือนเพื่อผลิตเกษตรกรพันธุ์ใหม่ยุค4.01 ตามนโยบายรัฐบาล ที่มีการบูรณาการเรียนการสอนข้ามศาสตร์เพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตและการเรียนรู้เกษตรแบบก้าวหน้าที่ผสานทุกศาสตร์เข้าด้วยกัน ปัจจุบันได้เปิดทำการสอนทั้งหมด 18 ชุดวิชา โดยความร่วมมือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธกส.) องค์กรภาคีเครือข่ายหลักในการส่งเสริม สนับสนุนทุนการศึกษาแก่เกษตรกรลูกค้าเข้าร่วมโครงการดังกล่าว

           วัชพงษ์ วรวงศ์หรือบาส เกษตรกรหัวก้าวหน้าจากเมืองหมอแคน สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีด้านการตลาดจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ก่อนมาช่วยครอบครัวดูแลฟาร์มเลี้ยงปลาที่บ้านเกิดและเป้นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการรวมกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ในพื้นที่ในนามกลุ่มทายาทเกษตรกรและเป็น 1 ใน 60 คนที่ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาจากธกส.เพื่อเข้ารับการศึกษาในชุดวิชาวนเกษตรและเป็นจุดเริ่มต้นในการบริหารจัดการฟาร์มปลาสมัยใหม่ จากที่ใช้ความรู้แบบเดิมที่ทำสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ

           "ผมจบป.ตรีสาขาการตลาดจากแม่โจ้ จริง ๆ ที่บ้านทำฟาร์มเลี้ยงปลาอยู่แล้วก็จะเอาองค์ความรู้ตรงนี้เข้าไปเสริม เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำเกษตรต่อยอดจากที่บ้าน  ถามว่ามาสู่จุดนี้ได้อย่างไร คือที่บ้านเรามีกลุ่มทายาทเกษตรพอมีเรื่องอะไร เราก็กระจายข่าวกันให้ทราบ จนมาได้ยินว่าทางธกส.จะให้ทุนเรียนที่มหาวิทยาลัยเกษตรฯเป็นหลักสูตรระยะสั้น 4 เดือนจบ เราก็คุยกันว่าถ้างั้นเราจะไปเรียนด้วยกัน เรามากัน 8 คนเรียนในชุดวิชาวนเกษตร" วัชพงษ์เผยกับ“คมชัดลึก”

         ใช้เวลา 4 เดือนตามหลักสูตรการเรียนการสอนระหว่างนี้บาสและเพื่อนได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ทัง้ภาคทฤษฎีและการลงมือปฏิบัติจริง พร้อมกับการศึกษาดูแลในพื้นที่ต่าง ๆทั่วประเทศเพื่อแสวงหาองค์ความรู้ใหม่มาปรับใช้ในพืน้ที่การเกาตรของตัวเอง โดยบาสยอมรับว่าเหมือนเป้นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ให้กับพวกเรา สลัดทิ้งความเชื่อเดิม ๆ หรือการปฏิบัติตามกันมาจนเคยชินอย่างสิ้นเชิง 

       "ที่บ้านผมทำฟาร์มปลาแล้วพื้นที่รอบ ๆ ฟาร์มหรือบริเวณบ้านก็ไม่ได้ปลูกต้นไม้ใหญ่เอาไว้เลย โดยคิดว่าเพื่อให้การจัดการฟาร์มทำได้ง่าย แต่คิดผิดถนัด พอฝนตกลงมา ลมแรงก็เอาไม่อยู่หลังคาเปิดปลิวว่อนไปหมด พอมาเรียนตรงนี้มันช่วยในการที่จะคิดว่าจะเอาต้นไม้ไหนที่จะเหมาะสมปลูกรอบ ๆ บ้านหรือตามคันบ่อ เพื่อกันแรงกระแทกจากลมและฝนได้ความเสียหายก็จะไม่เกิดขึ้นหรือหนักจากลายเป็นเบาได้ เมื่อก่อนผมไม่ได้ไปยุ่งกับเรื่องพวกนี้เลย แต่พอได้เข้ามาเรียนก็เข้าใจในทุกสถานการณ์ ทุกพื้นที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา"วัชพงษ์กล่าวอย่างภูมิใจ 

         เช่นเดียวกับ "ดารณี สุขอาภรณ์"หรือหนูเล็ก เจ้าของสโลแกน“เกษตรสายสวย”จากอ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี ที่หันหลังให้กับมนุษย์เงินเดือนมาสวมหมวกเกษตรกรด้วยการทำเกษตรผสมผสานที่บ้านเกิด เป็นกษตรกรอีกรายที่ได้รับทุนจากธกส.มาเรียนในชุดวิชา“วนเกษตร” ชีวิตหนูเล็กใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในเมืองหลวงตั้งแต่เล็กจนโต หลังจบปริญญาสาขาบัญชีจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวก็เข้ากระโจนสู่วิีชีวิตลูกจ้างด้วยการเป็นพนักงานบัญชีของบริษัทแห่งหนึ่งเติบโตก้าวหน้าในหน้าที่การงานจนก้าวขึ้นเป็นผู้จัดการด้านบัญชี ใช้เวลาว่างรับงานพริตตี้ เอ็มซีตามงานอีเว้นต่าง ๆ เพื่อหารายได้เสริม ก่อนตัดสินใจกลับสู่บ้านเกิดเพื่อช่วยครอวครัวสานต่ออาชีพเกษตรกรรม

         “ทำไมเกษตรกรต้องหลังสู้ฟ้าหน้าสู่ดิน ทำอาชีพเกษตรจะสวยไม่ได้เลยหรือ”ความคิดของดารณีที่ผ่านมาทางคำพูดจนเพื่อน ๆ ในชั้นเรียนในฉายาว่า“เกษตรกรสายสวย” ซึ่งเธอให้เหตุผลว่าอาชีพเกษตรกรก็สวยไม่แพ้พริตตี้หรืออาชีพอื่น ๆ  และความสวยก็เป็นแรงจูงใจให้ผู้หญิงรุ่นใหม่หันมาสนใจอาชีพเกษตรกรรมมากขึ้น เนื่องจากการประกบออาชีพเกษตรกรรมสมัยใหม่ไม่จำเป็นต้องหลังสู้ฟ้าหน้าสู่ดินอีกต่อไป เพราะมีเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการทำงานมากขึ้น

       "ที่บ้านทำการเกษตร มีพื้นที่ 10 กว่าไร่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวหมด ปลูกคะน้า กวางตุ้ง ถ้าช่วงขายดีก็ดีไป ช่วงไหนมีปัญหาเรื่องราคาก็ขาดทุน ต้องกู้หนี้ยืมสินมาทำต่อ แต่พอเข้ามาเรียนที่นี่ ทำให้รู้ว่าการทำเกษตรผสมผสาน ทำวนเกษตรเดินตามรอยพ่อเศราฐกิจพอเพียงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในทุกยามวิกฤติ"

       เธอยอมรับว่าตอนแรกคิดว่าเราจะเอาไปใช้ประโยชน์อะไรได้ แต่พอได้เข้ามาเรียนมันมีประโยชน์กับเรามาก สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในทุกกระบวนการในชีวิตประจำวัน จากเมื่อก่อนปลูกพืชเชิงเดี่ยวปลูกพืชผักอย่างเดียว ชนิดเดียวกัน เมื่อเกิดปัญหาความเสียหายจึงไม่มีอะไรมาทดแทนหรือช่วยบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น แต่เมื่อปลูกพืชหลากลหายและปลูกสลับกันไป โดยนำองค์ความรู้ที่ร่ำเรียนมาไปปรับใช้เปลี่ยนการปลูกพืชพืชเชิงเดี่ยวมาเป้นเกษตรผสมผสานทำให้มีรายได้ทุกวันตลอดทั้งปี

      "อยากทราบว่าวนเกษตรมันคืออะไร ตอนแรกเข้าใจว่าเกี่ยวกับป่าไม้ พอเข้ามาเรียนก็รู้ว่าเป็นการปรับพื้นจัดรูปแบบในแปลงของเราให้สอดรับกับสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศในแต่ละพื้นที่ก็เลยเลือกเรียนวนเกษตร ของหนูตอบโจทย์พื้นฐาน เพราะหนูไม่ได้อยู่บ้าน ไม่ได้ทำอาชีพเกษตรมาตั้งแต่เกิด แต่ก่อนหนูทำหลายอาชีพ เป็นผู้จัดการ เลขา พริตตี้ เอ็มซีขายสินค้ ไม่เกี่ยวกับงานเกษตรเลยแต่พอตัดสินใจออกมาทำเกษตรจึงอยากมีความรู้ ตอนแรกก็คิดว่าทำเกษตรมันง่าย แต่จริง ๆ แล้วมันไม่ง่ายเลย ทำแบบหลังสู่ฟ้าหน้าสู่ดินไม่ได้แล้ว  ต้องเอามาปรับเปลี่ยนกับตัวเราให้เข้ากับ 4.0 ต่อไปจะเป็น5.0 แล้ว"เกษตรกรสายสวยให้มุมมอง 

     ขณะที่“เจษฎากรณ์ พรหมเทศน์”หรือโบ้ท เจ้าของและผู้จัดการตลาดสดชุมชนน้ำโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ที่สนใจชุดใจชุดวิชาธุรกิจป่าไม้ กล่าวยอมรับกับ“คมชัดลึก”ถึงเหตุผลที่ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการหลักสูตรระยะสั้น ภายใต้การสนับสนุนทุนการศึกษาจากธกส.ว่าต้องการนำองค์ความรู้ไปพัฒนาพื้นที่ไร่นาสวนผสมของตัวเอง มีอยู่ประมาณ 12 ไร่ ซึ่งได้รับมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษ ซึ่งปัจจุบันได้ปล่อยให้เขาเช่า  หลังมีโอกาสได้นำไม้เศรษฐกิจยืนต้น อย่าง สักและพยุงมาทดลองปลูกเพื่อต้องการนำมาใช้ประโยชน์ในอนาคต

   "ผมจบปริญญาตรีทาคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันเป็นเจ้าของและผู้จัดการตลาดสดชุมชนน้ำโมง ในอ.ท่าบ่อ และเป็นเลขานุการและผู้จัดการสถาบันการเงินเทศบาลเมืองท่าบ่อในความอุปถัมภ์ของธกส.ด้วยที่ตัดสินใจเลือกเรียนธุรกิจป่าไม้ มองว่าเป็นหลักสูตรที่ธกส.สนับสนุนและใกล้ตัวผมมากที่สุด" 

    เขายอมรับว่าการเรียนหลักสูตรนี้เหมือนเริ่มจากศูนย์ เนื่องจากไม่มีความรู้ทางด้านการเกษตรมาก่อน  เพราะหลังปริญญาตรีเหรียบทองสาขาคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม ก็กลับมาดูแลธุรกิจตลาดชุมชนที่บ้านเกิด พร้อมทำงานฝ่ายการเงินที่เทศบาลเมืองท่าบ่อ จึงไม่มีโอกาสลงลึกในรายละเอียดในเรื่องการเกษตรมากนัก แม้ว่าจะมีที่ดินทำการเกษตรแต่ก็ปล่อยให้เขาเช่าทำกินแทน ขณะที่ตนเองก็มีความสนใจในเรื่องการปลูกไม้เศราฐกิจมากกว่า หวังใช้ประโยชน์ในระยะยาว

    "เริ่มเรียนวันแรก อาจารย์จะมาถามเลยว่าแต่ละท่านมีบริบทพื้นที่ของตัวเองเป็นอย่างไร บางคนอยากทำเชิงพาณชิย์ บางคนต้องการปลูกกล้าไม้ขาย แต่ผมเรียนเพื่ออยากได้ความรู้ ตอนแรกเราคิดว่าต้องใช้เวลา 5 ปี 10 ปี กว่าเราจะใช้ผลผลิตของมันแต่เมื่อเข้ามาเรียนจริง ๆ เราใช้ประโยชน์จากไม้ได้ทุกส่วนแล้วก็สามารถนำไปขายได้ทุกวัน รายวัน รายไตรมาส รายเดือน 3 ปี 5 ปีตามวัฎจักรวงรอบของต้นไม้" เจษฎากรณ์เผยความตั้งใจ พร้อมเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมเรียนหลักสูตรศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มีให้เลือกกว่า 20 ชุดวิชา โดยจะเริ่มเปิดทำการเรียนการสอนรุ่นต่อไปในเดือนเมษายน 2563 นี้

 

                      ธกส.หนุน“คนรุ่นใหม่”สู่ภาคเกษตร

 เสียงเพรียกจาก"เกษตรกรสายสวย"

                 อภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.)กล่าวให้โอวาทผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนตอนหนึ่งว่าด้วยข้อเท็จจริงปัจจุบันผู้ที่อยู่ในภาคทางการเกษตรและเกษตรกรปัจจุบันมากกว่า 60% อายุเกิน 50 ปีขึ้นไป แต่จะทำอย่างไรให้เกษตรกรเหล่านี้ได้มีโอกาสอัพสกิลเพิ่มทักษะมากขึ้นและทำอย่างไรช่วยกันชักชวนคนจากในเมืองกลับไปสู่บ้านเกิดให้มากขึ้น 

             "น้อง ๆ ที่มาเรียนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ของธกส.ในปีนี้เราจะทำให้เกิดมักผลจริง ๆ ทางกระทรวงเกษตรฯเองก็ได้สร้างสมาร์ทฟาร์มเมอร์ไปแล้วกว่า 7 หมื่นราย ล่าสุดกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้เชิญชวนให้คนรุน่ใหม่กลับบ้าน  อีกทั้งยังส่งคนรุ่นใหม่ไปฝึกงานที่ญี่ปุ่นอยู่ที่นั่น 11 เดือน กรมอาชีวศึกษาก็ส่งนิสิตไปฝึกงานที่ประเทศอิสราเอล ซึ่งที่นั่นมีเทคโนโลยีทางการเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการระบบน้ำการเกษตร นี่คือสิ่งที่รัฐบาลลงทุนไป"

             ผู้จัดการธกส.กล่าวต่อว่าโครงการนี้มหาวิทยาลัยได้ทำเอ็มโอยูกับธกส.ในการสนับสนุนส่งเกษตรกรลูกค้าธกส.ที่ต้องการความรู้และประสบการณ์เพิ่มเติมมาใช้ในการประกอบอาชีพและพัฒนาประเทศ โดยยกตัวอย่างประเทศญี่ปุ่นหลังจากเดินทางไปดูงานในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นธนาคารเกษตรญี่ปุ่นใหญ่กว่าธกส. 15 เท่าได้มีการส่งเสริมเกษตรกรในการนำเทคโนโลยีทาการเกษตรสมัยใหม่และหุ่นยนต์ เอไอมาใช้แทนแรงงานเพิ่มมากขึ้น มีการใช้เอไอในการเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ แทนคนด้วย 

       "เรื่องของเอไอญี่ปุ่นให้ความสำคัญมาก มีการนำมาใช้ในงานเกษตรมากมาย ที่ผมไปดูเขาเก็บตัวเลขแล้วให้เอไอวิเคราะห์เป็นรายปี ข้าวทุกเม็ดมีเปอร์เซนต์โปรตีนเท่าไหร่ ใส่ปุ่ยแบบไหน เอไอวิเคราะห์ออกมาให้หมด เขามีส่วนราชการที่เป็นสหกรณ์ องค์กรท้องถิ่นให้คำปรึกษาเพื่อลดต้นทุนการผลิตอย่างจริงจัง"อภิรมย์กล่าวทิ้งท้าย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ