ข่าว

"อิ้วเมี่ยน"กับตำนานกาแฟคั่วมือ"โรบัสต้า"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"อิ้วเมี่ยน"จากยอดดอยสู่ด้ามขวานกับตำนานกาแฟคั่วมือ"โรบัสต้า"

               ชาว“อิ้วเมี่ยน”เป็นชาวไทยภูเขาเผ่า"เย้า"ที่ย้ายถิ่นฐานมาจากจ.กำแพงเพชรมาลงหลักปักฐานที่บ้านในกรัง หมู่ที่ 9 ตำบลจ.ป.ร.อำเภอกระบุรี จังหวัดระนองตั้งแต่ปี 2529 ซึ่งนับว่าเป็นชาวไทยภูเขากลุ่มเดียวในภาคใต้ โดยยังคงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไว้อย่างสมบูรณ์

"อิ้วเมี่ยน"กับตำนานกาแฟคั่วมือ"โรบัสต้า"

     

         ปัจจุบันมีชาวอิ่วเมี่ยนอาศัยอยู่ 19 ครัวเรือน มีจำนวนสมาชิก 77 คน โดยมีนายเฉงโจว แซ่ฟุ้ง(ลูกค้าธ.ก.ส.สาขาปากจั่น)เป็นผู้นำชาวอิ่วเมี่ยนประกอบอาชีพทำสวนกาแฟและสวนผลไม้ มีเนื้อที่รวมกว่า 350 ไร่ ในปี 2557 ชาวอิ่วเมี่ยนได้รู้จักกับ"สุพจน์ กรประสิทธิ์วัฒน์"หรือก้อง กาแฟ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟคั่วมือและท่องเที่ยวเชิงเกษตร(ก้อง วัลเลย์)

"อิ้วเมี่ยน"กับตำนานกาแฟคั่วมือ"โรบัสต้า"

        "สุพจน์ กรประสิทธิ์วัฒน์"หรือก้อง กาแฟ

            โดยเขาได้ให้ความรู้ในกระบวนการผลิตกาแฟคุณภาพ ทำให้ชาวอิ่วเมี่ยนมีความสนใจและได้ร่วมกันผลิตกาแฟคุณภาพนับตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบันสามารถผลิตกาแฟคุณภาพได้ปีละ 3,000 กิดลกรัม ปัจจุบันการดำเนินชีวิตของชาวอิ่วเมี่ยนยังคงรักษาขนมธรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมดั้งเดิม โดยเฉพาะในโอกาสงานสำคัญ ๆ จะมีการแต่งกายด้วยชุดประจำเผ่าชาวไทยภูเขาที่มีอกลักษณ์โดดเด่นในด้านรูปทรงและการปักเย็บลวดลายด้วยมือที่ปราณีตงดงาม ทั้งยังประดับด้วยเครื่องเงินเพิ่มความแปลกตาแก่ผู้พบเห็น ซึ่งนับว่าเป็นการสร้างเสน่ห์ให้กับชุมชนชาวอิ่วเมี่ยนบ้านในกรังเป็นอย่างยิ่ง

             

        "อิ้วเมี่ยน"กับตำนานกาแฟคั่วมือ"โรบัสต้า"  

           สำหรับชาวอิ้วเมี่ยน หรือ เย้า มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศจีนแถบแม่น้ำแยงซี “เมี่ยน” เป็นชื่อที่ทางราชการตั้งให้ หรือบางครั้งจะเรียกว่า “อิ้วเมี่ยน” แปลว่า มนุษย์ ได้รับการจัดให้อยู่ในเชื้อชาติ มองโกลอยด์ คือ อยู่ในตระกูลจีนธิเบต บรรพชนได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ราบรอบทะเลสาปตงถิง แถบแม่น้ำแยงซี ยอมอ่อนน้อมให้ชนชาติผู้ปกครองรัฐ และไม่ยินยอมอยู่ภายใต้การบังคับกดขี่ของรัฐ จึงได้ทำการอพยพเข้าไปในป่าลึกบนภูเขาสูง ได้ตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านด้วยมือของเขาเอง เพื่อปกป้องเสรีภาพจึงถูกขนานนามว่า ม่อ เย้า ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่ง คำเรียกนี้ี้ถูกยกเลิกไปเหลือแต่คำว่า “เย้า” เท่านั้น  ปัจจุบันชาวเมี่ยนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า อ.ปง จ.พะเยา 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ