ข่าว

คำนวณแล้วคุ้มกว่าแนะเกษตรกรปลูกพืชใช้น้ำน้อยแล้งนี้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

วอนเกษตรกรฟังคำแนะนำปลูกพืชน้ำน้อยแทนนาปรัง แล้งกระทบสินค้าเกษตร สศก.คำนวณต้นทุนการผลิต รายได้ ปลูกพืชอื่นแทนข้าว กำไรสูง ลดเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำ

 

13 มกราคม 2563 ภัยแล้งเริ่มกระทบ สินค้าเกษตร วอนเกษตรกรฟังคำแนะนำในการปลูกพืชใช้น้ำน้อย งดทำนาปรังในพื้นที่ที่ไม่มีน้ำสนับสนุน สศก.คำนวณต้นทุนการผลิตและรายได้จากการปลูกพืชอื่นแทนข้าวในแล้งนี้ มีกำไรสูงและลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำ
 

 

 

 

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ห่วงใยเกษตรกรใน 22 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยาซึ่งปลูกข้าวนาปรังในฤดูแล้งนี้ไปแล้ว 2.25 ล้านไร่ ทั้งที่กระทรวงเกษตรฯ แจ้งแล้วว่า ไม่มีแผนการปลูกข้าวนาปรังเนื่องจากกรมชลประทานไม่มีน้ำเพียงพอสนับสนุน

 

จึงขอให้ผู้ที่คิดจะปลูกข้าวนาปรัง หันไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยหรือทำปศุสัตว์ตามคำแนะนำของหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ไม่เช่นนั้นอาจเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ แย่งน้ำภาคการเกษตร อีกทั้งหากต้องสูบน้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะอย่างต่อเนื่องหรือซื้อน้ำเพื่อเลี้ยงต้นข้าวจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น

 

ทั้งนี้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรคาดการณ์ว่า เมื่อกรมชลประทานไม่มีน้ำส่งให้นาปรัง จะมีพื้นที่ปลูกข้าวเสียหายร้อยละ 50 จากพื้นที่ที่ปลูกแล้ว 1.59 ล้านไร่ คิดเป็น 800,000 ไร่ โดยเกษตรกรลงทุนปลูก 5,564 ล้านบาท แต่มูลค่าความเสียหายจะสูงถึง 4,129 ล้านบาท ส่วนพื้นที่ปลูกอีก 1.59 ล้านไร่จะเสียหายร้อยละ 80 คิดเป็น 1.27 ล้านไร่ เกษตรกรลงทุนไปแล้ว 5,658 ล้านบาท แต่มูลค่าความเสียหายจะสูงถึง 6,662 ล้านบาท จึงสั่งการให้ทุกหน่วยงานเร่งเข้าไปส่งเสริมการปลูกพืชอื่นแทนเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายมากไปกว่านี้ 

 

นายระพีพัฒน์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า จากข้อมูลในปี 2562 ลุ่มเจ้าพระยามีพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังทั้งหมด 7.89 ล้านไร่ ปัจจุบันปลูกแล้ว 2.25 ล้านไร่ จึงยังคงมีพื้นที่สำหรับทำการเกษตรกอื่น 5.64 ล้านไร่ โดยสามารถปลูกพืชใช้น้ำน้อยเป็นทางเลือกได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ซึ่งมีพื้นที่ที่เหมาะสม 3.41 ล้านไร่

 

โดยโครงการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดแทนการการทำนาปรังจัดทำขึ้นในปีที่แล้ว สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรสูงกว่าการทำนาปรังเนื่องจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชที่ไม่เพียงพอใช้ในประเทศ มีต้นทุนการผลิต 4,370 บาท ขายได้ตันละ 7,810 บาท ส่วนพื้นที่ที่เหลืออีก 2.23 ล้านไร่ สามารถส่งเสริมปลูกพืชตระกูลถั่วทั้งถั่วเขียวและถั่วลิสงเพิ่มเติมได้เนื่องจากยังเป็นพืชที่ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศเช่นกัน

 

 

ทั้งนี้พื้นที่ที่เหลืออีก 1.86 ล้านไร่เห็นควรให้แต่ละจังหวัดพิจารณาส่งเสริมเกษตรทางเลือกหรือกิจกรรมอื่นๆ ตามความเหมาะสมเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร สำหรับพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำโดยสิ้นเชิง จนไม่สามารถทำการเกษตรได้ในลุ่มเจ้าพระยานี้ กระทรวงเกษตรฯ มอบหมายกรมชลประทานจัดทำโครงการจ้างแรงงานขุดลอกแหล่งน้ำเพื่อเตรียมเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูเพาะปลูกที่จะมาถึง ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้อย่างต่อเนื่องตลอดฤดูแล้ง โดยกำลังเร่งเตรียมแผนปฏิบัติการเพื่อเปิดรับสมัครในเร็ววันนี้


 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ