ข่าว

สูงอีก...ค่าความเค็มสถานีสูบน้ำประปาสำแลเกินเกณฑ์เฝ้าระวัง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เตือน ค่าความเค็มสถานีสูบน้ำประปาสำแล ในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงกว่าเกณฑ์เฝ้าระวัง 0.25กรัม/ลิตร เร่งผลักดันน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา ไล่น้ำเค็ม

 

12 มกราคม 2562 กรมชลประทาน โดยศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขและบรรเทาวิกฤติภัยแล้งปี62/63 รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 11 ม.ค.63) 

 

สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศจํานวน 447 แห่ง มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 46,231 ล้าน ลบ.ม. (61% ของความจุอ่างฯ) เป็นน้ำใช้การได้ 22,410 ล้าน ลบ.ม. (43% ของความจุอ่างฯ)ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30% ของความจุอ่าง จํานวน 14 แห่ง คือ ภูมิพล สิริกิติ์ แม่กวงอุดมธารา แม่มอก จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลําพระเพลิง ลําแชะ ลํานางรอง ป่าสักชลสิทธิ์ ทับเสลา กระเสียว คลองสียัด และหนองปลาไหล

 

สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา (ข้อมูล ณ วันที่11 ม.ค.63)ปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 10,841 ล้าน ลบ.ม. (44% ของความจุอ่างฯ) เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 4,145 ล้าน ลบ.ม. (23% ของความจุอ่างฯ) ผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2562/63 (ข้อมูล ณ วันที่ 11 ม.ค.63)ทั้งประเทศ แผนการจัดสรรน้ำ 17,699 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ําไปแล้ว 6,206 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 35 แบ่งเป็นในส่วนลุ่มเจ้าพระยา แผนการจัดสรรน้ำ 4,000 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 1,917 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 48

 

ทั้งนี้แผน-ผลการเพาะปลูกข้าวนาปรังปี 2562/63 ในเขตชลประทาน (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ม.ค.62)ทั้งประเทศ แผนเพาะปลูกข้าวนาปรัง 2.31 ล้านไร่ ปัจจุบัน เพาะปลูกแล้ว 2.64 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 114.40 ของแผนฯ สำหรับพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา ได้รณรงค์งดทํานาต่อเนื่องในฤดูแล้ง ปี 2562/63 แต่ปัจจุบัน เพาะปลูกแล้ว 1.61 ล้านไร่


ในส่วนคุณภาพน้ำ แม่น้ำเจ้าพระยา สถานีประปาสําแล จ.นนทบุรี สูงกว่าเกณฑ์เฝ้าระวัง 0.25กรัมต่อลิตร ท่าน้ำนนทบุรี จ.นนทบุรี ท่าน้ำกรมชลประทาน สามเสน (สูงกว่าเกณฑ์เฝ้าระวัง) ทั้งนี้ กรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาความเค็ม โดยทําการผันน้ำบางส่วนจากแม่น้ําแม่กลองมายังแม่น้ำเจ้าพระยา  ส่วนแม่น้ำบางปะกง สถานีปราจีนบุรี (ปกติ) แม่น้ำท่าจีน สถานีปากคลองจินดา (ปกติ) และแม่น้ำแม่กลอง สถานีปากคลองดําเนินสะดวก (ปกติ)


จังหวัดที่มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรอง ราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2562 จํานวน 18 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย น่าน เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ นครพนม มหาสารคาม บึงกาฬ หนองคาย บุรีรัมย์ กาฬสินธ์ุ

 

นครราชสีมา กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา อุทัยธานี ชัยนาท นครสวรรค์ สุพรรณบุรี และ สุโขทัย รวมท้ังสิ้น 89 อําเภอ 509 ตําบล 4,429 หมู่บ้าน/ชุมชน (ข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ณ วันที่ 11 มกราคม 2563)
7. กิจกรรมและการให้ความช่วยเหลือของศูนย์อํานวยการเฉพาะกิจแก้ไขและบรรเทาวิกฤตภัยแล้งฯ

 

นายทวีศักดิ์ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่าลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำเพื่อผลักดันน้ำเค็ม ณเขื่อน เจ้าพระยา ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำเขื่อนเจ้าพระยาและการบริหารจัดการน้ำเพื่อผลักดันน้ำเค็ม ณ เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท และในช่วงบ่าย ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ของโครงการส่งน้ำและบํารุงรักษาวังยาง-หนองขวัญ จังหวัดกําแพงเพชร รวมทั้งลงพื้นที่ ติดตามสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพาะยา บริเวณประตูระบายน้ำคลองกระถิน และบริเวณฝายกั้นแม่น้ำปิงจุดที่ 2 ของโครงการชลประทาน นครสวรรค์

 

สํานักงานชลประทานที่ 12 โดยส่วนเครื่องจักรกลสูบน้ำช่วยเหลือชาวสวนผลไม้ที่ประสบปัญหาภัยแล้งสูบน้ำช่วยเหลือช่วยเหลือราษฎร ที่ประสบสบปัญหาภัยแล้งขาดแคลนน้ำในพื้นที่ต่างๆ โดยบริเวณ หมู่ 1 ต.วังน้ำเย็น อ. แสวงหา จ. อ่างทอง ได้ดําเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาด 12 นิ้ว จํานวน 3 เครื่อง และบริเวณหมู่ 3 ต.โคกโคเฒ่า อ. เมืองจ.สุพรรณบุรี ได้ดําเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 12 นิ้ว จํานวน 3 เครื่อง รวมทั้งหมดจํานวน 6 เครื่อง ชึ่งการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำดังกล่าวอยู่ในเขตพื้นที่โครงการส่งน้ำและบํารุงรักษาชันสูตร และโครงการส่งน้ำและบํารุงรักษาโพธิ์พระยา

 

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ