ข่าว

ร้องศาลคุ้มครองไม่แบน 3 สารเล็งฟ้องปปช.เอาผิดสาธารณสุข

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กลุ่มคนรักแม่กลองยื่นศาลปกครองสูงสุดขอรับคุ้มครองชั่วคราว ไม่แบน 3 สาร พร้อมเตรียมยื่น ปปช. ใช้มาตรา 157 ฟ้องกระทรวงสาธารณสุข ใช้ข้อมูลเท็จ

 

18 ธันวาคม 2562 กลุ่มคนรักแม่กลองยื่นศาลปกครองสูงสุดขอรับคุ้มครองชั่วคราว ไม่แบน 3 สาร เตรียมยื่น ปปช. ใช้มาตรา 157 ฟ้องกระทรวงสาธารณสุข ใช้ข้อมูลเท็จ ขณะกรมวิชาการเกษตร หวั่น 6 เดือน หาแนวทางทดแทนพาราควอตไม่ได้ ด้านหมอรามา ชี้ผู้ป่วยกินเพื่อฆ่าตัวตายกว่า 63 % 

 

น.ส.อัญชุลี ลักษณ์อำนวยพร ประธานเครือข่ายอาสาคนรักแม่กลอง เปิดเผยว่า ได้ยื่นคำร้องถึงศาลปกครองสูงสุด ให้คุ้มครองชั่วคราว สมาชิกคนรักแม่กลอง ไม่ให้แบน 3 สารเคมีทางการเกษตร คือ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต โดยเบื้องต้นได้รับคำร้องแล้ว รวมทั้งจะยื่นฟ้อง นายอนุทิน ชาญวีระกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทั้งอดีตและปัจจุบันต่อ สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.) มาตรา 157 ตามประมวลกฎหมายอาญา กรณีเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด


ทั้งนี้เพราะจากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ที่อ้างว่าในปี 2559 สาธารณสุข 6 จังหวัดได้เก็บตัวอย่างผัก ในตลาดมาตรวจสอบและพบสารพาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต ตกค้าง และนำข้อมูลดังกล่าวมาเสนอต่อคณะกรรมการวัตถุอันตรายเพื่อให้แบนสารทั้ง3 ชนิดจนเป็นเหตุให้เกษตรกรผู้ปลูกผักได้รับผลกระทบ เช่นคะน้าจาก กิโลกรัมละ 30 บาทเหลือเพียง 5 บาท เป็นต้น

 

 

ร้องศาลคุ้มครองไม่แบน 3 สารเล็งฟ้องปปช.เอาผิดสาธารณสุข

 


ซึ่งจากการทวนสอบข้อมูลดังกล่าว โดยลงพื้นที่สอบถามไปยังสาธารณสุขในจังหวัดที่ระบุเอาไว้พบว่า ไม่ได้มีการเก็บตัวอย่างผักมาตรวจสอบแต่อย่างใด แต่ข้อมูลที่กระทรวงสาธารณสุขนำมากล่าวอ้างนั้นเป็นการตรวจสอบของเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือไทยแพน (Thai-PAN) ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์


โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้หลังเทศกาลปีใหม่ ซึ่งจะยึดผลการตรวจสอบพืช 8 ชนิด เป็นหลักเช่น คะน้า แก้วมังกร กล้วย ฝรั่ง ใบกระเพรา ชมพู่ทับทิมจันทร์ เป็นต้น  

 

ร้องศาลคุ้มครองไม่แบน 3 สารเล็งฟ้องปปช.เอาผิดสาธารณสุข

 


นายสมศักดิ์ สมานวงศ์ ตัวแทนผู้ประกอบธุรกิจสารเคมีเกษตร กล่าวว่า การจำหน่ายสารเคมี จะมีการอบรม เพื่อให้ขายได้อย่างปลอดภัย มีความรับผิดชอบ สิ่งแวดล้อมและสังคม ที่สำคัญ สารทุกชนิดจะใช้ระยะเวลาวิจัยกว่า 15 ปี งบประมาณหลายพันล้าน การนำไปใช้จึงต้องสมเหตุสมผล ปลอดภัย จริงแต่ความไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้นเนื่องจากนำไปใช้กันผิดวิธี มีความร้ความเข้าใจ การวิจัยใช้เวลานาน 15 ปี ใช้เงินเป็น พันล้าน ถ้าใช้ไปแปบบนึ่งแล้วแบนโดยไม่มีเหตุผลก็ไม่คุ้มกับสิ่งที่เสียไป

 

นายแพทย์ วินัย วนากูล ผู้อำนวยการศูนย์พิษวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ผู้ป่วยที่เข้ามารักษาอันเนื่องมาจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรนั้น ส่วนใหญ่ กว่า 63-64 % เป็นการกินเพื่อฆ่าตัวตาย โดยเป็นการกินยาฆ่าแมลง 46-47 % ซึ่งจะกินไกรโครเซตเป็นอันดับ ส่วนการเกิดอุบัติเหตุมี 3% เท่านั้น เนื่องจากนำสารดังกล่าวไปบรรจุในบรรจุภัณฑ์อื่น เช่น ขวดน้ำดื่ม แล้วจัดเก็บในที่ไม่ปลอดภัยเช่น ตู้เย็น ทำให้มีเด็กตกเป็นเหยื่อ กว่า 30% ดังนั้นการแก้ไขจะต้องลดพฤติกรรมนี้ และ มี 3.7% ที่พบว่ามีปัญหาใช้ในที่ทำงาน เพราะผสมผิดวิธี พ่นผิดวิธีที่ไม่มีการป้องกันตัว

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ