ข่าว

อลงกรณ์ ยืนยันปัญหาประมงจบภายในเดือนนี้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อลงกรณ์ แจงข้อเรียกร้องสมาคมประมง ยืนยันแก้ปัญหาคืบหน้า 3 โครงการเร่งด่วน เชื่อจบภายในเดือนนี้

 

8 ธันวาคม 2562 “อลงกรณ์”แจงข้อเรียกร้องสมาคมประมง ยืนยันแก้ปัญหาคืบหน้าโดยเฉพาะ3โครงการเร่งด่วน”สินเชื่อ-เรือออกนอกระบบ-แรงงานขาดแคลน”เชื่อจบจบภายในเดือนนี้ เตรียมประชุมร่วมสมาคมประมงและทุกหน่วยงาน 12 ธ.ค.นี้

 

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงเกี่ยวกับข้อเรียกร้องของชาวประมง 22 จังหวัดที่ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดเมื่อวันที่ 6 ธันวาคมที่ผ่านมาว่า นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับปัญหาความเดือดร้อนของชาวประมงเป็นวาระเร่งด่วนโดยเฉพาะ 3 เรื่องใหญ่คือโครงการสินเชื่อแก้ไขปัญหาขาดสภาพคล่องและโครงการนำเรือออกนอกระบบวงเงินเกือบ 2 หมื่นล้านได้ส่งถึงคณะรัฐมนตรีแล้วรวมทั้งการแก้ไขปัญหาแรงงานประมงขาดแคลนรอคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวที่มีรัฐมนตรีแรงงานเป็นประธานประชุมเห็นชอบภายในเดือนนี้ 

 

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาชาวประมงอย่างเป็นระบบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้ที่ปรึกษารัฐมนตรีและกรมประมงจัดประชุมร่วมกับสมาคมการประมงทุกประเภททุกจังหวัดและหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ ตั้งแต่เดือนสิงหาคมจนถึงเดือนพฤศจิกายนเพื่อแก้ไขปัญหาจนมีความคืบหน้าอย่างมีนัยยะสำคัญภายใต้กลไกคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทย ร่วมกับคณะอนุกรรมการ 5 คณะ

 

ทั้งนี้ประกอบด้วยคณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงพื้นบ้าน คณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงพาณิชย์ และการประมงนอกน่านน้ำไทย คณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงการเพาะเลี้ยง คณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพผลิตผลผละผลิตภัณฑ์และการพาณิชย์ และคณะอนุกรรมการยก ร่างพ.ร.บ.จัดตั้งกองทุนพัฒนาการประมง และ ร่างพ.ร.บ.จัดตั้งสภาการประมงแห่งชาติให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันหรือภายในเดือนกุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้

 

นอกจากนี้กรมประมงยังได้แต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขกฎหมายประมงประกอบไปด้วยตัวแทนสมาคมประมงทุกประเภทและหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการประมงของไทยทั้งระบบแบบครบวงจร รวมทั้งยังประสานการทำงานกับคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ของสภาผู้แทนราษฎรอย่างใกล้ชิด

 

ทุกฝ่ายพยายามแก้ไขปัญหาให้าวประมงให้ลุล่วงเร็วที่สุดภายใต้อำนาจทางการบริหารของรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีแต่เรื่องการแก้ไขปัญหากฎหมายไม่สามารถทำได้เร็วนักเพราะต้องผ่านขั้นตอนรัฐบาลและรัฐสภาทั้งยังต้องอยู่คำนึงถึงกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศเช่นไอยูยูสำหรับข้อเรียกร้องที่เกี่ยวกับกระทรวงแรงงานกรณีปัญหาการจ่ายเงินเดือนลูกเรือประมงผ่านเอทีเอ็ม.และกระทรวงการคลังกรณีFleet Cardทางกรมประมงจะช่วยประสานงานกับหน่วยงานดังกล่าวต่อไป

 

ส่วนข้อเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการเยียวยาผลกระทบจากกฎหมายประมงตั้งแต่ปี2558จนถึงปัจจุบันนั้นจะขอความชัดเจนจากสมาคมประมงในที่ประชุมคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพประมงไทยในวันที่12ธ.ค.นี้ที่กรมประมงว่าควรเป็นคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรีหรือไม่เพราะเกี่ยวข้องกับหลายกระทรวงรวมทั้งพิจารณาข้อเรียกร้องต่างๆด้วย
  

นายอลงกรณ์ ยังได้ชี้แจงประเด็นข้อเรียกร้องของสมาคมประมงที่เกี่ยวข้องกับกรมประมงจำนวน 8 ข้อ คือ1.ขอให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการประมงทั้งหมดหยุดออกกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่งต่าง ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของชาวประมง มาเพิ่มเติมขึ้นอีก (ยกเว้นการออก กฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่งที่ผ่อนคลายปัญหาให้กับชาวประมง) โดยชี้แจงว่า ปัจจุบันไม่ได้มีการออกกฎหมายที่สร้างภาระแก่ชาวประมงเพิ่มเติม มีแต่การออกกฎกระทรวงที่ส่งเสริมต่อการประกอบอาชีพของชาวประมง

 

2.ขอให้มีการเสนอแก้ไขกฎหมายพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยเร่งด่วนในช่วงที่มีการประชุมสภานิติบัญญัตินี้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาปรังปรุงแก้ไขกฎหมายประมงของคณะทำงานร่วมทุกภาคส่วนของกรมประมง ประกอบด้วย ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับประมงพื้นบ้าน จำนวน 3 มาตรา และข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับประมงพาณิชย์ จำนวน 15 มาตรา ทั้งนี้การแก้ไขกฎหมายต้องอยู่ภายใต้กรอบนโยบายต่อต้านไอยูยู(IUU fishing combating policy)และนโยบายของรัฐบาลซึ่งต้องผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีและกระบวนการนิติบัญญัติของรัฐสภา


3.ขอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการการซื้อเรือประมงออกนอกระบบคืนโดยเร็ว โดยขอให้รัฐบาลมีการตั้งงบประมาณจำนวน 1 หมื่นล้าน ในปีงบประมาณ 2563 ในการที่จะนำเรือประมงออกนอกระบบ ทั้งนี้กรมประมงได้เร่งรัดดำเนินการนำเรือประมงออกนอกระบบตั้งแต่ปี 2562 โดยมีการดำเนินการโครงการการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน ระยะที่ 1 จำนวน 305 ลำ โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ปีปีงบประมาณ 2562 นำเรือออกนอกระบบจำนวน 252 ลำ งบประมาณ 469,603,900 


2.กรมประมงได้จัดทำโครงการการนำเรือประมงออกนอกระบบ ระยะที่ 2 โดยนำเรือประมงที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐและหรือมีความประสงค์จะเลิกอาชีพทำการประมง จำนวน 2,768 ลำ งบประมาณ7,143,847,900 บาท ขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแล้ว

 

ส่วนข้อเรียกร้องข้อที่ 4.ขอให้รัฐบาลเร่งรัดการช่วยเหลือชาวประมงในโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับชาวประมงโดยเร่งด่วน ภายในเดือนธันวาคม 2562  นั้นกรมประมงจัดทำโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องประมงพื้นบ้านประมงพาณิชย์และประมงนอกน่านน้ำ วงเงินสินเชื่อรวม 10,300 ล้านบาทขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแล้ว


5.ขอให้กรมประมง กรมจัดหางาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดการอนุญาตให้ใช้กฎหมาย มาตรา 83 แห่ง พรก.การประมง พ.ศ. 2558 ในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานประมงโดยเร่งด่วน ภายในเดือนธันวาคม 2562 นี้นั้น ทางกรมประมงมีมติให้ใช้มาตรา 83 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคประมงโดยเสนอต่อกระทรวงแรงงานในเมื่อเดือนสิงหาคม 2562

 

ต่อมากระทรวงแรงงานได้ให้ความเห็นชอบเมื่อเดือนพฤศจิกายนและให้กรมประมงประชุมขอความเห็นชอบจากหน่วยงานกระทรวงคมนาคม กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานทางด้านความมั่นคง (กองทัพเรือ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ)และได้ยืนยันผลการประชุมส่งถึงกระทรวงแรงงานเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (คบต.)ซึ่งมีรมว.แรงงานเป็นประธานเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบภายในเดือนธันวาคมนี้


6.เรือประมงที่มีขนาดไม่เกิน 30 ตันกรอส ไม่ควรมีนโยบายให้ติด VMS เช่น การชักชวนให้เรือประมงขนาดต่ำกว่า 30 ตันกรอส ทดลองติด VMS ฟรี  กรมประมงยังไม่มีนโยบายในการติดตั้งหรือทดลองใช้แต่อย่างใด ส่วนเรือขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไปได้ออกกฎกระทรวงผ่อนปรน 4 กรณีตามที่สมาคมประมงเสนอก่อนหน้านี้แล้ว


7.ขอให้หยุดการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำจากต่างประเทศโดยทันที ด้วยเหตุผล ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามพระราชกำหนด พ.ศ. 2558 มาตรา 92 ซึ่งการนำเข้าสัตว์น้ำจะต้องมีการตรวจสอบว่าสัตว์น้ำเหล่านั้นได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ตามมาตรา 92 วรรคสองและวรรคสาม สินค้าประมงจากต่างประเทศจึงเข้ามาถล่มตลาดสินค้าสัตว์น้ำของชาวประมงที่ทำตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ทำให้ต้นทุนสูงกว่า ราคาจึงตกต่ำ เพราะมีการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำแบบเสรี ไร้การควบคุม มาสต๊อกไว้เต็มห้องเย็นไปหมดแล้ว ดังนั้นจึงต้องแก้ไขระเบียบกรมประมงเดิมที่อนุญาตให้บุคคลธรรมดาสามารถนำเข้าสัตว์น้ำได้เสรี มีมาตรการปกป้องสินค้าสัตว์น้ำภายในประเทศนั้น

 

นายลงกรณ์ กล่าวว่า การห้ามนำเข้าสัตว์น้ำเข้ามาในประเทศไม่สามารถกระทำได้เพราะประเทศไทยต้องปฏิบัติตามพันธกรณีที่มีต่อองค์การการค้าโลก(WTO)และเอฟทีเอ.ทั้งทวิภาคีและพหุภาคี โดยกรมประมงได้สั่งการด่านตรวจสัตว์น้ำทั่วประเทศ จำนวน 27 แห่งทำการตรวจสอบสินค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำให้ถูกต้องตามใบอนุญาต และ ตามมาตรฐานสากลอย่างเคร่งครัดเพื่อดูแลผลประโยชน์ของชาวประมงและราคาสัตว์น้ำในประเทศทั้งนี้ต้องไม่เข้าข่ายการกีดกันทางการค้าจนอาจถูกร้องเรียนหรือตอบโต้ทางการค้า จากมาตรการการตรวจตราและความเข้มงวดในการนำเข้าสัตว์น้ำจากต่างประเทศทำให้มีบางจังหวัดที่เป็นด่านนำเข้าสัตว์น้ำถึงกับมีหนังสือจากผู้ว่าราชการจังหวัดขอให้กรมประมงผ่อนปรน


ส่วนข้อเรียกร้องอันสุดท้ายขอให้พิจารณาเพิ่มวันทำการประมงให้กับพี่น้องชาวประมงทั้งประเทศโดยเร่งด่วน เพราะทำให้เกิดปัญหาการประกอบอาชีพขาดทุนมา 4 - 5 ปีแล้ว เนื่องจากมีการกำหนดให้ทำการประมงได้ไม่ทั้งปี แต่ต้องมีรายจ่ายค่าแรงงานตลอดทั้งปีนั้น นายลงกรณ์ กล่าวว่า ในปีการประมง 2562 มีเรือประมงบางส่วนที่ได้รับการจัดสรรปริมาณสัตว์น้ำไว้แล้ว แต่ไม่ได้ออกทำการประมง ทำให้มีปริมาณสัตว์น้ำคงเหลือที่ไม่ได้จับขึ้นมาใช้ประโยชน์ ซึ่งอาจนำสัตว์น้ำกลุ่มนี้มาจัดสรรเพื่อเพิ่มจำนวนวันทำการประมงได้ ขณะนี้กรมประมงกำลังดำเนินการรวบรวมข้อมูลปริมาณสัตว์น้ำคงเหลือ เพื่อนำมาจัดสรรเพิ่มวันทำการประมงให้กับเรือประมงในปีการประมง 2562

 

“เข้าใจถึงความเดือนร้อนที่ชาวประมงประสบมา 4 ปีแต่เพียง 4 เดือนที่รัฐบาลใหม่เข้ามาแก้ปัญหาจะให้ลุล่วงสำเร็จทั้งหมดคงไม่ได้ 100 % ขอให้ร่วมกันทำงานต่อไปอย่างจริงจังจริงใจไม่นานปัญหาจะลดลงและหมดไปในที่สุดครับ”นายอลงกรณ์กล่าว

 

 


 

ขอเพลทค่ะ

 
“อลงกรณ์”แจงข้อเรียกร้องสมาคมประมง ยืนยันแก้ปัญหาคืบหน้าโดยเฉพาะ3โครงการเร่งด่วน”สินเชื่อ-เรือออกนอกระบบ-แรงงานขาดแคลน”เชื่อจบเดือนธันวาคม เตรียมประชุมร่วมสมาคมประมงและทุกหน่วยงาน12ธ.ค.

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชี้แจงวันนี้(8ธ.ค.)เกี่ยวกับข้อเรียกร้องของชาวประมง22จังหวัดที่ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดเมื่อวันที่6ธันวาคมที่ผ่านมาว่านายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับปัญหาความเดือดร้อนของชาวประมงเป็นวาระเร่งด่วนโดยเฉพาะ3เรื่องใหญ่คือโครงการสินเชื่อแก้ไขปัญหาขาดสภาพคล่องและโครงการนำเรือออกนอกระบบวงเงินเกือบ2หมื่นล้านได้ส่งถึงคณะรัฐมนตรีแล้วรวมทั้งการแก้ไขปัญหาแรงงานประมงขาดแคลนรอคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวที่มีรัฐมนตรีแรงงานเป็นประธานประชุมเห็นชอบภายในเดือนนี้ 
     นายอลงกรณ์กล่าวว่าเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาชาวประมงอย่างเป็นระบบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้ที่ปรึกษารัฐมนตรีและกรมประมงจัดประชุมร่วมกับสมาคมการประมงทุกประเภททุกจังหวัดและหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ตั้งแต่เดือนสิงหาคมจนถึงเดือนพฤศจิกายนเพื่อแก้ไขปัญหาจนมีความคืบหน้าอย่างมีนัยยะสำคัญภายใต้กลไกคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทย ร่วมกับคณะอนุกรรมการ 5 คณะ ประกอบด้วยคณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงพื้นบ้าน คณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงพาณิชย์ และการประมงนอกน่านน้ำไทย คณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงการเพาะเลี้ยง คณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพผลิตผลผละผลิตภัณฑ์และการพาณิชย์ และคณะอนุกรรมการยก ร่างพ.ร.บ.จัดตั้งกองทุนพัฒนาการประมง และ ร่างพ.ร.บ.จัดตั้งสภาการประมงแห่งชาติให้แล้วเสร็จภายใน90วันหรือภายในเดือนกุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ นอกจากนี้กรมประมงยังได้แต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขกฎหมายประมงประกอบไปด้วยตัวแทนสมาคมประมงทุกประเภทและหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการประมงของไทยทั้งระบบแบบครบวงจร รวมทั้งยังประสานการทำงานกับคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ของสภาผู้แทนราษฎรอย่างใกล้ชิด
    นายอลงกรณ์กล่าวต่อไปว่า จะเห็นได้ว่าทุกฝ่ายทุ่มเทความพยายามทำงานแทบไม่มีวันหยุดเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับชาวประมงของเราให้ลุล่วงเร็วที่สุดภายใต้อำนาจทางการบริหารของรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีแต่เรื่องการแก้ไขปัญหากฎหมายไม่สามารถทำได้เร็วนักเพราะต้องผ่านขั้นตอนรัฐบาลและรัฐสภาทั้งยังต้องอยู่คำนึงถึงกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศเช่นไอยูยูสำหรับข้อเรียกร้องที่เกี่ยวกับกระทรวงแรงงานกรณีปัญหาการจ่ายเงินเดือนลูกเรือประมงผ่านเอทีเอ็ม.และกระทรวงการคลังกรณีFleet Cardทางกรมประมงจะช่วยประสานงานกับหน่วยงานดังกล่าวต่อไป ส่วนข้อเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการเยียวยาผลกระทบจากกฎหมายประมงตั้งแต่ปี2558จนถึงปัจจุบันนั้นจะขอความชัดเจนจากสมาคมประมงในที่ประชุมคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพประมงไทยในวันที่12ธ.ค.นี้ที่กรมประมงว่าควรเป็นคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรีหรือไม่เพราะเกี่ยวข้องกับหลายกระทรวงรวมทั้งพิจารณาข้อเรียกร้องต่างๆด้วย
  
   นายอลงกรณ์ยังชี้แจงประเด็นข้อเรียกร้องของสมาคมประมงที่เกี่ยวข้องกับกรมประมงจำนวน8ข้อ
1.ขอให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการประมงทั้งหมดหยุดออกกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่งต่าง ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของชาวประมง มาเพิ่มเติมขึ้นอีก (ยกเว้นการออก กฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่งที่ผ่อนคลายปัญหาให้กับชาวประมง)
     คำชี้แจง: ปัจจุบันไม่ได้มีการออกกฎหมายที่สร้างภาระแก่ชาวประมงเพิ่มเติม มีแต่การออกกฎกระทรวงที่ส่งเสริมต่อการประกอบอาชีพของชาวประมง
2.ขอให้มีการเสนอแก้ไขกฎหมายพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยเร่งด่วนในช่วงที่มีการประชุมสภานิติบัญญัตินี้
    คำชี้แจง: ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาปรังปรุงแก้ไขกฎหมายประมงของคณะทำงานร่วมทุกภาคส่วนของกรมประมง ประกอบด้วย ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับประมงพื้นบ้าน จำนวน 3 มาตรา และข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับประมงพาณิชย์ จำนวน 15 มาตรา ทั้งนี้การแก้ไขกฎหมายต้องอยู่ภายใต้กรอบนโยบายต่อต้านไอยูยู(IUU fishing combating policy)และนโยบายของรัฐบาลซึ่งต้องผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีและกระบวนการนิติบัญญัติของรัฐสภา
3.ขอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการการซื้อเรือประมงออกนอกระบบคืนโดยเร็ว โดยขอให้รัฐบาลมีการตั้งงบประมาณจำนวน 1 หมื่นล้าน ในปีงบประมาณ 2563 ในการที่จะนำเรือประมงออกนอกระบบ
  คำชี้แจง: 1.กรมประมงได้เร่งรัดดำเนินการนำเรือประมงออกนอกระบบตั้งแต่ปี 2562 โดยมีการดำเนินการโครงการการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน ระยะที่ 1 จำนวน 305 ลำ โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ปี
ปีงบประมาณ 2562 นำเรือออกนอกระบบจำนวน 252 ลำ งบประมาณ 469,603,900 
2.กรมประมงได้จัดทำโครงการการนำเรือประมงออกนอกระบบ ระยะที่ 2 โดยนำเรือประมงที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐและหรือมีความประสงค์จะเลิกอาชีพทำการประมง จำนวน 2,768 ลำ งบประมาณ7,143,847,900 บาท
ขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแล้ว
4.ขอให้รัฐบาลเร่งรัดการช่วยเหลือชาวประมงในโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับชาวประมงโดยเร่งด่วน ภายในเดือนธันวาคม 2562 
คำชี้แจง: กรมประมงจัดทำโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องประมงพื้นบ้านประมงพาณิชย์และประมงนอกน่านน้ำ วงเงินสินเชื่อรวม 10,300 ล้านบาท
ขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแล้ว
5.ขอให้กรมประมง กรมจัดหางาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดการอนุญาตให้ใช้กฎหมาย มาตรา 83 แห่ง พรก.การประมง พ.ศ. 2558 ในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานประมงโดยเร่งด่วน ภายในเดือนธันวาคม 2562 นี้ 
คำชี้แจง: กรมประมงมีมติให้ใช้มาตรา 83 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคประมงโดยเสนอต่อกระทรวงแรงงานในเมื่อเดือนสิงหาคม 2562 ต่อมากระทรวงแรงงานได้ให้ความเห็นชอบเมื่อเดือนพฤศจิกายนและให้กรมประมงประชุมขอความเห็นชอบจากหน่วยงานกระทรวงคมนาคม กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานทางด้านความมั่นคง (กองทัพเรือ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ)และได้ยืนยันผลการประชุมส่งถึงกระทรวงแรงงานเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (คบต.)ซึ่งมีรมว.แรงงานเป็นประธานเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบภายในเดือนธันวาคมนี้
6.เรือประมงที่มีขนาดไม่เกิน 30 ตันกรอส ไม่ควรมีนโยบายให้ติด VMS เช่น การชักชวนให้เรือประมงขนาดต่ำกว่า 30 ตันกรอส ทดลองติด VMS ฟรี
   คำชี้แจง: กรมประมงยังไม่มีนโยบายในการติดตั้งหรือทดลองใช้แต่อย่างใด ส่วนเรือขนาด30ตันกรอสขึ้นไปได้ออกกฎกระทรวงผ่อนปรน4กรณีตามที่สมาคมประมงเสนอก่อนหน้านี้แล้ว
7.ขอให้หยุดการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำจากต่างประเทศโดยทันที ด้วยเหตุผล ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามพระราชกำหนด พ.ศ. 2558 มาตรา 92 ซึ่งการนำเข้าสัตว์น้ำจะต้องมีการตรวจสอบว่าสัตว์น้ำเหล่านั้นได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ตามมาตรา 92 วรรคสองและวรรคสาม สินค้าประมงจากต่างประเทศจึงเข้ามาถล่มตลาดสินค้าสัตว์น้ำของชาวประมงที่ทำตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ทำให้ต้นทุนสูงกว่า ราคาจึงตกต่ำ เพราะมีการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำแบบเสรี ไร้การควบคุม มาสต๊อกไว้เต็มห้องเย็นไปหมดแล้ว ดังนั้นจึงต้องแก้ไขระเบียบกรมประมงเดิมที่อนุญาตให้บุคคลธรรมดาสามารถนำเข้าสัตว์น้ำได้เสรี มีมาตรการปกป้องสินค้าสัตว์น้ำภายในประเทศ
คำชี้แจง: การห้ามนำเข้าสัตว์น้ำเข้ามาในประเทศไม่สามารถกระทำได้เพราะประเทศไทยต้องปฏิบัติตามพันธกรณีที่มีต่อองค์การการค้าโลก(WTO)และเอฟทีเอ.ทั้งทวิภาคีและพหุภาคี โดยกรมประมงได้สั่งการด่านตรวจสัตว์น้ำทั่ว 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ