ข่าว

ตราฉัตรเล็งจับมือททท.โปรโมทข้าวคู่ท่องเที่ยว

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ตราฉัตรเล็งจับมือททท.ส.ร้านอาหารยุโรปโปรโมทข้าวคู่ท่องเที่ยวหลังปีนี้บาทแข็งยอดขายหดหนีคู่แข็ง"เวียดนาม-อินเดีย"

 

17 พฤศจิกายน 2562 นายสุเมธ เหล่าโมราพร ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ( ซีพี ) เปิดเผยว่า ปี2562/63  ซีพี หรือ ข้าวตราฉัตร คาดว่าจะมีการส่งออกข้าว 1 ล้านตัน 

 

มูลค่าการส่งออกรวม 1.2-1.3 หมื่นล้านบาท เป็นผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิอันดับ 1 ของไทย มีส่วนแบ่งทางการตลาด(มาร์เก็ตแชร์) ประมาณที่ 4-5 % ของข้าวหอมมะลิที่ส่งออก จากปัจจุบันการส่งออกข้าวตราฉัตรมีสัดส่วนข้าวหอมมะลิประมาณ  5 แสนตันหรือ 50 % ที่เหลือเป็น ข้าวหอมปทุมธานี ประมาณ 1.5-2 แสนตัน ข้าวนึ่ง 2 แสนตัน ปลายข้าวหอมมะลิ 6-7 หมื่นตัน และ ข้าวเหนียว 4-5 หมื่นตัน

 

สำหรับตลาดในประเทศข้าวตราฉัตร มีมูลค่า 8,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20 % จากปีก่อนหน้าที่มียอดขายรวม 6,000-7,000 ล้านบาท อันเป็นผลจากแผนเชิงรุก เน้นข้าวสุขภาพมากขึ้น โดยข้าวกข.43 มาแรงมาก ส่วนการรับซื้อผลผลิตข้าวจากเกษตร บริษัทยังใช้วิธีการส่งเสริมเกษตรกรร่วมกับกรมการข้าวเพื่อควบคุมการใช้พันธุ์และกระบวนการเพาะปลูกทำให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพและปริมาณที่สอดคล้องกับความต้องการ

 

การส่งออกข้าวตราฉัตร ในช่วง 3-4 ปี มีการพยายามปรับสัดส่วนของตลาด ขายข้าวพื้นนุ่ม และข้าวหอมมะลิให้มากขึ้น เพื่อหนีการแข่งขันของคู่แข่ง อาทิ เวียดนาม กัมพูชา พม่าและอินเดีย แต่ตราฉัตรจะไม่ใช้กลยุทธ์ด้านของราคา ลดราคาแข่ง เพราะข้าวหอมมะลิของไทยเป็นที่รู้จัก เป็นข้าวตลาดพรีเมี่ยม ส่งผลให้ปริมาณและมูลค่าการส่งออกของตราฉัตรตกลงเล็กน้อย โดยปริมาณที่ลดลง เพราะหันไปเจาะตลาดข้าวพรีเมี่ยม ส่วนมูลค่าก็ลดลงแต่ไม่มาก ซึ่งเกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าแต่ในปี 2563 คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น 10-15 %  โดยจะเพิ่มการทำตลาดข้าวหอมให้มากขึ้นตามความต้องการของตลาด

 

“ตลาดข้าวของตราฉัตร ในช่วง3-4 ปีที่ผ่านมา นอกจากการปรับสัดส่วนของตลาด ยังมุ่งสร้างการรับรู้เรื่องของคุณสมบัติข้าว สร้างการรับรู้วัฒนธรรมการกินข้าวของไทย ส่งผลให้แม้การแข่งขันในตลาดต่างประเทศจะสูง ส่งผลให้ยอดขายลดลงบ้าง แต่ตลาดในประเทศกลับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปีนี้ยอดขายข้าวตราฉัตรเติบโตสูงมากถึง 20% ส่งผลให้ยอดขายปี 2562 อยู่ในสถานการณ์ที่รับได้”

 

นายสุเมธ กล่าวว่า  ปี 2563 ไทยต้องเร่งทำแบรนดิ้ง ใช้ข้าวหอมมะลิเป็นตัวผลักดันคู่กับการโปรโมทอาหารไทย หรือ ไทยฟู้ด ไทยไรซ์ เป็นการสร้างภาพลักษ์ที่ดี วิธีการนี้จะทำให้ผู้บริโภครู้จัก และเชื่อมั่นในข้าวไทยมากขึ้น เบื้องต้น ได้หารือกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เพื่อร่วมมือกับนำข้าวหอมมะลิไทยออกโปรโมท คู่กับการท่องเที่ยวของไทย ในเวทีที่ททท.และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเดินทางไปโปรโมทการท่องเที่ยวในต่างประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา  จีน  ฮ่องกง เป็นต้น

 

ทั้งนี้ ในตลาดสหรัฐอเมริกา มีการนำเข้าหอมมะลิประมาณ 5-6 แสนตัน เป็นการนำข้าวหอมมะลิปริมาณ 1 แสนตัน มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปีปีละประมาณ 5-8 % ส่วนสหภาพยุโรป (อียู) มีการนำเข้าหองมะลิ 1 ล้านตัน เป็นหอมมะลิไทยประมาณ  5-6 แสนตัน  เป็นข้าวหอมมะลิของซีพีประมาณ 6-7 หมื่นตัน  ถือว่าอัตราการเติบโตทางฝั่งสหรัฐฯและอียูยังดีมีอนาคตสดใส  ขณะที่ตลาดเอเชีย อาทิ สิงคโปร์ ฮ่องกง รวมทั้งไทย มีการบริโภคข้าวในอัตราที่ลดลง

 

อย่างไรก็ตาม การเติบโตของสตรีทฟู้ดในประเทศไทย ทำให้ต่างประเทศ รู้จักข้าวไทย สตรีทฟู้ดไทย ต้องคู่กับข้าวไทย ข้าวไทยต้องหอมมะลิ ดังนั้นในช่วงที่ผ่านมา ตราฉัตรได้ร่วมกับสมาคมร้านอาหารไทยในยุโรป  สร้างการรับรู้แบรนด์ข้าวหอมมะลิตราฉัตร โดยการโปรโมทแบรนด์ตราฉัตรในร้านอาหารไทยในต่างประเทศ เป็นการส่งเสริมร้านอาหารไทยให้ควบคู่กับแบรนด์ข้าวไทย ข้าวตราฉัตร

 

 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ