ข่าว

ธรรมนัส ผนึกตราฉัตรผลิตข้าวฮักพะเยาขายเป็นลิมิเต็ดเอดิชั่น

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ธรรมนัส"เปิดงานวันหอมมะลิโลก ผนึกตราฉัตร,Shopee,7-11ผลิตข้าวแบรนด์ฮักพะเยาขายเป็นลิมิเต็ดเอดิชั่น


16 พฤศจิกายน 2562 ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า การขับเคลื่อนการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร ภายใต้ “พะเยาโมเดล” เพื่อสร้างต้นแบบการส่งเสริมการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรที่มีคุณค่าเฉพาะตามความต้องการของตลาด  

ธรรมนัส ผนึกตราฉัตรผลิตข้าวฮักพะเยาขายเป็นลิมิเต็ดเอดิชั่น

 

 

ข้าวหอมมะลิ คือหนึ่งในสินค้าเกษตรที่สำคัญของจังหวัดพะเยา เพราะดินที่ใช้ปลูกข้าวหอมมะลิในจังหวัดพะเยาเป็นดินที่เกิดจากตะกอนลำน้ำที่มีส่วนประกอบจากหินภูเขาไฟและหินตะกอนชนิดต่างๆ  พบบริเวณพื้นที่ราบหรือค่อนข้างราบระหว่างหุบเขา ดินมีการระบายน้ำเลว เนื้อละเอียด ซึ่งเหมาะแก่การปลูกข้าวหอมมะลิ ประกอบกับการมีแร่ธาตุต่างๆ มากมายที่ถูกพัดพามาจากน้ำแม่อิง ทำให้ข้าวหอมมะลิพะเยามีความหอมที่โดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร อีกทั้งเรายังใช้นโยบายการตลาดนำการผลิต เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้แน่นอนและความมั่นคงในอาชีพเกษตรกรรม 

 

ทั้งนี้งานวันเก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิโลก ครั้งที่ 3 นี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของพะเยาโมเดล ภายใต้เงื่อนไขข้อตกลงกับ บริษัท ข้าว ซี.พี.จำกัด ในการรับซื้อข้าวหอมมะลิจากเกษตรกรสมาชิกจังหวัดพะเยาที่ 18,000 บาทต่อตัน ณ ความชื้นที่ 15% 

 

นายสุเมธ เหล่าโมราพร ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ( ซีพี ) กล่าวว่า “ข้าวตราฉัตร” จับมือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดพะเยา และเกษตรกรสมาชิกผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา ภายใต้โครงการพัฒนาวัตถุดิบต้นน้ำ ของ บริษัท ข้าว ซี.พี.จำกัด  เพื่อส่งเสริมและนับซื้อข้าวหอมมะลิ ในราคา 18,000 บาท/ตัน ซึ่งสูงกว่า ราคาประกะนของรัฐบาลที่ 15,000 บาท/ตัน โดยเป้าหมายรับซื้อ 40,000 ตันข้าวเปลือก หรือประมาณ 10,000 ตันข้าวสาร บรรจุขายถุงละ 5 กิโลกรัมราคา 259 บาท ซึ่งเป็นข้่วที่เกิดขึ้นภายใต้โครงการพะเยา โมเดล

 

 

ธรรมนัส ผนึกตราฉัตรผลิตข้าวฮักพะเยาขายเป็นลิมิเต็ดเอดิชั่น  

 

 

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 15 พ.ย. ได้มีการจัดงานวันเก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิโลก ครั้งที่ 3 (3rd World’s Hom Mali Rice Harvesting Day) ขึ้น เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งขับเคลื่อน พะเยาโมเดลตามนโยบายของภาครัฐ ผ่านระบบส่งเสริมการผลิตข้าวที่ได้มาตรฐาน ตรงตามความต้องการตลาด โดยใช้นโยบายการตลาดนำการผลิต ชวนพันธมิตรคู่ค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ C.P.INTERTRADE (SHANGHAI) CO.,LTD  SHANGHAI RONGYOU INTER-TRADE CO.,LTD  7-Eleven Shopee และ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ร่วมลงนาม MOU เพื่อเป็นช่องทางจำหน่ายข้่วหอมมะลิในโครงการให้ถึงมือผู้บริโภคได้รวดเร็ว 

 

“โครงการพะเยาโมเดล ได้รับความร่วมมือจากเกษตรกร ภาครัฐเอกชน ในจังหวัดพะเยา ให้ใช้โลโก้ของจังหวัดติดในถุง ข้าวทุกถุง ภายใต้ชื่อข้าวฮัก พะเยา เพื่อส่งผ่านช่องทางตลาดทั้ง ออฟไลน์ และออนไลน์ สู่ตลาดทั่งในและต้างประเทศ สร้างรายได้ที่แน่นอน และความมั่นคงในอาชีพให้กับเกษตรกร นำไปสู่การพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน และเพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพของข้าวหอมมะลิไทย ซึ่งจังหวัดพะเยา ถือเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ให้คู่ค้าทั้งชาวไทยและต่างชาติได้รู้จัก  โดยข้่วฮักพะเยาเป็นข้าวลิมิเต็ด เอดิชั่น หมดแล้วหมดเลย ขายในช่วงเวลา 3 เดือนเริ่มวางตลาด 15 ธ.ค.“

 

นายสุเมธ กล่าวว่า จุดเด่นของโครงการพัฒนาวัตถุดิบต้นน้ำ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา ภายใต้ระบบการผลิตข้าวคุณภาพด้วยมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices หรือ ข้าว Q) อยู่ที่ คัดเลือกเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี มีความบริสุทธิ์ไม่น้อยกว่า 98% มาเพาะปลูกบนแปลงนาของเกษตรกรสมาชิก  มีการตรวจวิเคราะห์ดิน เพื่อพัฒนาคุณภาพดินในแปลงนาให้ดีขึ้น ไม่มีสารตกค้าง  น้ำที่ใช้ในการเพาะปลูกต้องปลอดภัย ไม่มีการปนเปื้อนวัตถุอันตราย  มีเกณฑ์การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรแบบถูกวิธี เหมาะสม และปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม  มีระบบสำรวจแมลง ศัตรูพืช หรือโรคต่างๆ ในแปลงนา 

 

 

ธรรมนัส ผนึกตราฉัตรผลิตข้าวฮักพะเยาขายเป็นลิมิเต็ดเอดิชั่น

 

 

โดยการตรวจเช็คต้นข้าวในแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ  เลือกช่วงเวลาเก็บเกี่ยวข้าวที่เหมาะสม (ระยะสุกแก่ หรือระยะพลับพลึง) เพื่อให้ได้ข้าวเปลือกที่มีคุณภาพดีที่สุด  และเกษตรกรสมาชิกทุกราย มีระบบการจดบันทึกข้อมูลเพาะปลูกทุกขั้นตอนการผลิตข้าว เพื่อสามารถตรวจสอบที่มาของผลผลิตได้ และที่สำคัญเกษตรกรสมาชิกทุกรายมั่นใจได้ว่า ข้าวที่ปลูก มีตลาดรองรับผลผลิตที่แน่นอน เพราะบริษัทฯ รับซื้อข้าวคืนในราคานำตลาด ตามข้อตกลงการรับซื้อผลผลิตคืนในรูปแบบ “พะเยาโมเดล” ตามนโยบายของภาครัฐ  

 

“พะเยาโมเดล” มีเป้าหมายส่งเสริมคุณภาพชีวิต ยกระดับรายได้เกษตรกรไทย และพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน ตรงตามความต้องการตลาด เพื่อนำร่องไปสู่จังหวัดอื่นๆ และขยายผลไปในสินค้าเกษตรที่สำคัญ โดยมีขอบเขตข้อตกลงการรับซื้อผลผลิต “ข้าวหอมมะลิ” ในจังหวัดพะเยาร่วมกันระหว่างสหกรณ์การเกษตร, สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า, ธ.ก.ส. พะเยา จำกัด

 

บริษัท ข้าว ซี.พี. จำกัด หรือ ข้าวตราฉัตร ตั้งเป้าหมายรับซื้อผลผลิตคืนจากเกษตรกรสมาชิก อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา ภายใต้โครงการพัฒนาวัตถุดิบต้นน้ำ รวมทั้งสิ้น 40,000 ตัน (จากผลผลิตรวมทั้งหมดจังหวัดพะเยา จำนวน 181,340 ตัน) ในราคานำตลาด 18,000 บาทต่อตัน โดยความชื้นที่ 15%มีจุดรับซื้อข้าวเปลือกหอมมะลิจากเกษตรกร จำนวน 12 จุด ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ในจังหวัดพะเยา

 

  ธรรมนัส ผนึกตราฉัตรผลิตข้าวฮักพะเยาขายเป็นลิมิเต็ดเอดิชั่น

 

ทั้งนี้บริษัทฯ ได้จัดทำโครงการพัฒนาวัตถุดิบต้นน้ำ เพื่อส่งเสริมคุณภาพข้าวหอมมะลิในพื้นที่ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา ตั้งแต่ปีฤดูกาลผลิต 2560/61 จนถึงปัจจุบัน (รวมระยะเวลา 2 ปี) ทำให้ปัจจุบันมีพื้นที่ส่งเสริมรวมทั้งหมด จำนวน 20,171 ไร่ และมีเกษตรกรสมาชิก จำนวน 937 ราย

 

 

ธรรมนัส ผนึกตราฉัตรผลิตข้าวฮักพะเยาขายเป็นลิมิเต็ดเอดิชั่น

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ