ข่าว

เปิดแผนการปฏิบัติการฝนหลวงประจำวันที่ 5 พฤศจิกายน 2562

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดแผนการปฏิบัติการฝนหลวงประจำวันที่ 5 พฤศจิกายน 2562

 
​​                วันที่ 5 พฤศจิกายน 2562 เวลา 10.30 น. นายปนิธิ เสมอวงษ์ รองอธิบดีกรมฝนหลวงและ        การบินเกษตร ด้านปฏิบัติการ เปิดเผยว่า กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศว่าทางตอนบนของประเทศไทย บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีอุณหภูมิลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อีกประมาณ 3-4 วันข้างหน้าซึ่งจะมีผลให้ปริมาณฝนเริ่มลดลงและจะมีอากาศเย็นต่อเนื่อง ขณะที่เมื่อวานนี้ ( 4 พ.ย. 62) กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ขึ้นบินปฎิบัติการฝนหลวง จำนวน 3 หน่วยปฎิบัติการ ทำให้มีฝนตกบริเวณพื้นที่การเกษตรของ จ.นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี และเพิ่มประมาณน้ำเก็บกักบริเวณพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนภูมิพล และอ่างเก็บน้ำทับเสลา 
        

              ด้านแผนการปฏิบัติการฝนหลวงประจำวันที่ 5 พฤศจิกายน 2562 ตามข้อมูลสถานการณ์ปริมาณน้ำ ในอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่า 30% ของปริมาณน้ำเก็บกัก เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 9 แห่ง และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 69 แห่ง การคาดการณ์พื้นที่ประกาศเสี่ยงฝนตกหนักจากกรมอุตุนิยมวิทยา
วันนี้คาดการณ์ว่าพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักอยู่บริเวณพื้นที่ตอนล่างภาคใต้บริเวณ จ.สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต นครศรีธรรมราช และนราธิวาส ด้านคุณภาพอากาศในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นเรื่องของค่าฝุ่น PM 2.5 หรือฝุ่นละอองขนาดเล็ก พบว่าค่าคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ มีอยู่ในหลายพื้นที่หลักสี่ บางเขน วังทองหลาง บางซื่อ ปทุมธานี บางพลัด และพื้นที่ในสมุทรปราการ ด้านแผนที่ปริมาณน้ำฝนสะสม 1 สัปดาห์ (29 ต.ค.–4 พ.ย.62) พบว่าบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีปริมาณน้ำฝนสะสมต่ำกว่า 10 มิลลิเมตร ทั้งนี้ ทางกรมฝนหลวงและการบินเกษตร จะเร่งดำเนินการช่วยเหลือในพื้นที่ดังกล่าวเมื่อสภาพอากาศเหมาะสม
                 ด้านการติดตามสภาพอากาศเพื่อวางแผนการปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่ภาคเหนือ พบว่า ผลการตรวจสภาพอากาศของสถานีเรดาร์ร้องกวาง มีความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับการเกิดเมฆ 78% (อมก๋อย) 
66% (ร้องกวาง) ความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับการพัฒนาตัวของเมฆ 66% (อมก๋อย) 58% (ร้องกวาง) ค่าดัชนีการยกตัว
ของอากาศ 0.4 (อมก๋อย) 0.5 (ร้องกวาง) และความเร็วลมที่ระดับการเกิดเมฆ 21 กม/ชม. (อมก๋อย) 11 กม/ชม. 
(ร้องกวาง) หน่วยปฏิบัติการฯ จ.เชียงใหม่ พิษณุโลก และ ตาก ขอติดตามสภาพอากาศ หากสภาพอากาศเหมาะสม
               ต่อการปฏิบัติการ หน่วยปฏิบัติการฯ จ.เชียงใหม่ จะวางแผนขึ้นบินปฏิบัติการช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรของ จ.พะเยา และเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักให้กับพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนภูมิพล อ่างเก็บน้ำแม่กวง อ่างเก็บน้ำแม่งัด จ.เชียงใหม่ 
ส่วนหน่วยปฏิบัติการฯ จ.ตาก เพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักให้กับพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนภูมิพล จ.ตาก เขื่อนแม่มอก จ.ลำปาง ส่วนหน่วยปฏิบัติการฯ จ.พิษณุโลก จะวางแผนขึ้นบินปฏิบัติการช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรของ จ.น่าน อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์ และเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักให้กับพื้นที่ลุ่มรับน้ำ เขื่อนสิริกิติ์ และอ่างเก็บน้ำห้วยป่าเลา จ.เพชรบูรณ์
              พื้นที่ภาคกลาง ผลตรวจสภาพอากาศของสถานีเรดาร์ตาคลี จ.นครสวรรค์ พบว่า มีความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับการเกิดเมฆ 59% ความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับการพัฒนาตัวของเมฆ 63% ค่าดัชนีการยกตัว
ของอากาศ 3.6 และความเร็วลมที่ระดับการเกิดเมฆ 20 กม./ชม. หน่วยปฏิบัติการฯ จ.กาญจนบุรี จ.ลพบุรี ขอติดตามสภาพหากสภาพอากาศเหมาะสมต่อการปฏิบัติการ หน่วยปฏิบัติการฯ จ.กาญจนบุรี จะวางแผนขึ้นบินปฏิบัติการช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรของ จ.กาญจนบุรี จ.สุพรรณบุรี และเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักให้กับพื้นที่ลุ่มรับน้ำ อ่างเก็บน้ำกระเสียว อ่างเก็บน้ำห้วยเทียน และหน่วยปฏิบัติการฯ จ.ลพบุรี จะวางแผน
ขึ้นบินปฏิบัติการช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรของ จ.อุทัยธานี นครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี และสระบุรี และเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักให้กับพื้นที่ลุ่มรับน้ำ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และอ่างเก็บน้ําทับเสลา

                 ​พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการตรวจอากาศของสถานีเรดาร์ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ        สถานีเรดาร์พิมาย จ.นครราชสีมา และสถานีเรดาร์บ้านผือ จ.อุดรธานี พบว่า มีความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับการเกิดเมฆ 68% (ราษีไศล) 68% (พิมาย) 74% (บ้านผือ) ความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับการพัฒนาตัวของเมฆ 
47% (ราษีไศล) 52% (พิมาย) 35% (บ้านผือ) ค่าดัชนีการยกตัวของอากาศ 3.2 (ราษีไศล) 5.2 (พิมาย) 5.2 (บ้านผือ) และความเร็วลมที่ระดับการเกิดเมฆ 20 กม./ชม. (ราษีไศล) 19 กม./ชม.(พิมาย) 12 กม./ชม.(บ้านผือ) หน่วยปฏิบัติการฯ จ.ขอนแก่น นครราชสีมา และสุรินทร์ ขอติดตามสภาพอากาศหากสภาพสักระยะ 
หากอากาศเหมาะสมต่อการปฏิบัติการ หน่วยปฏิบัติการฯ ขอนแก่น จึงวางแผนขึ้นบินปฎิบัติการช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร จ.ชัยภูมิ จ.ขอนแก่น และพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น หน่วยปฏิบัติการฯจ.นครราชสีมา จะวางแผนขึ้นบินปฏิบัติการช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรของ นครราชสีมา และเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักให้กับพื้นที่ลุ่มรับน้ำอ่างเก็บน้ำ จ.นครราชสีมา และหน่วยปฏิบัติการฯ จ.สุรินทร์ จะวางแผนขึ้นบินปฏิบัติการช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรของ จ.บุรีรัมย์ (ตอนล่าง) และเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักให้กับพื้นที่ลุ่มรับน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก และอ่างเก็บน้ำห้วยตลาด จ.บุรีรัมย์  
                พื้นที่ภาคตะวันออก ผลการตรวจวัดอากาศของสถานีเรดาร์สัตหีบ จ.ชลบุรี พบว่า มีความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับการเกิดเมฆ 71% ความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับการพัฒนาตัวของเมฆ 76% ค่าดัชนีการยกตัวของอากาศ 1.4 และความเร็วลมที่ระดับการเกิดเมฆ 5 กม./ชม. หน่วยปฏิบัติการฯ จ.ระยอง ขอติดตามสภาพอากาศ เนื่องจากอากาศยังไม่เอื้อต่อการปฎิบัติการ หากสภาพอากาศเหมาะสมต่อการปฏิบัติการ หน่วยปฏิบัติการฯ ระยอง จะปฏิบัติการช่วยเหลือพื้นที่ลุ่มรับน้ำอ่างเก็บน้ำคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา และอ่างเก็บน้ำประแสร์ จ.ระยอง  
     

         และพื้นที่ภาคใต้ ผลการตรวจวัดอากาศขอสถานีเรดาร์พนม จ.สุราษฎร์ธานี และสถานีเรดาร์ปะทิว จ.ชุมพร พบว่า มีความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับการเกิดเมฆ 90% (พนม) 82% (ปะทิว) ความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับการพัฒนาตัวของเมฆ 83% (พนม) 62% (ปะทิว) ค่าดัชนีการยกตัวของอากาศ 0.6 (พนม) -1.1 (ปะทิว)            และความเร็วลมที่ระดับการเกิดเมฆ 18 กม./ชม. (พนม) 5 กม./ชม. (ปะทิว) หน่วยปฏิบัติการฯ จ.สุราษฎร์ธานี ขอติดตามสภาพอากาศเนื่องจากมีเมฆชั้นกลางและเมฆชั้นสูงปกคลุมเป็นส่วนมากอากาศท้องฟ้ายังไม่เปิด หากอากาศเหมาะสมต่อการปฏิบัติการ หน่วยปฏิบัติการฯ จ.สุราษฎร์ธานี เพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักให้กับพื้นที่ลุ่มรับน้ำอ่างเก็บน้ำบางวาด อ่างเก็บน้ำบางหลิวดำ อ่างเก็บน้ำคลองกะทะ
                     อย่างไรก็ตาม กรมฝนหลวงและการบินเกษตร จะเร่งปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อช่วยเหลือในพื้นที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในทุกพื้นที่ทันทีเมื่อสภาพอากาศเหมาะสม ทั้งนี้ สามารถแจ้งการขอรับบริการฝนหลวงได้ที่ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงในทุกภูมิภาคของประเทศ และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ทางเว็บไซต์/เพจ Facebook กรมฝนหลวงและการบินเกษตร   

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ