ข่าว

สทนช. จับมือทุกหน่วยน้ำรับมือท่วมใต้-บริหารน้ำแล้ง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ครม.เห็นชอบมาตรการรับมือใต้เสี่ยงท่วมจากฝนตกหนัก ต.ค.-พ.ย. 62 และ 15 มาตรการบริหารน้ำฤดูแล้ง หลัง สทนช. ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงขาดน้ำอุปโภค-บริโภคและการเกษตร

 

 

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ 5 มาตรการ รับมือใต้เสี่ยงท่วมจากฝนตกหนัก ต.ค. – พ.ย. 62 และ 15 มาตรการบริหารน้ำฤดูแล้ง 62/63 หลัง สทนช. ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงขาดน้ำอุปโภค-บริโภคและการเกษตร เตรียมพร้อมรอบด้านจัดการแล้ง-ท่วมอย่างมีประสิทธิภาพ

 

          ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ 5 มาตรการหลักป้องกันผลกระทบจากสถานการณ์น้ำหลากและอุทกภัยจะเริ่มเกิดขึ้นบริเวณทางภาคใต้ ในช่วงเดือน ต.ค. 62 – ธ.ค. 62 ตามที่ สทนช. เสนอ ได้แก่ 1.ตรวจสอบสภาพอาคารบังคับน้ำ ระบบป้องกันน้ำท่วม ระบบระบายน้ำ ตลอดจนสถานีโทรมาตร ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ให้มีความพร้อมใช้งาน 2.ตรวจสอบสิ่งกีดขวางทางน้ำ และบริหารจัดการน้ำหลากของอ่างเก็บน้ำ โดยใช้เกณฑ์ปฏิบัติการ (Rule Curve) ที่ได้ปรับปรุงใหม่ เพื่อช่วยป้องกันและลดผลกระทบน้ำท่วม 3.สำรวจแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์วิกฤติ พร้อมทั้งจัดทำแผนการบริหารจัดการน้ำหลากเป็นไปอย่างเหมาะสม และมีการปรับเปลี่ยนไปตามแนวโน้มสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น 4.วางแผนด้านเครื่องจักรและเครื่องมือในการให้ความช่วยเหลือ พร้อมจัดทำแผนการเคลื่อนย้ายเครื่องจักร เครื่องมือ สนับสนุนในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย และ 5.ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้กับหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่เสี่ยง

 

สทนช. จับมือทุกหน่วยน้ำรับมือท่วมใต้-บริหารน้ำแล้ง

 

          ขณะเดียวกัน ครม. ยังเห็นชอบให้หน่วยงานเกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) และหน่วยงานท้องถิ่น ดำเนินการเชิงป้องกันการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฤดูแล้ง 62/63 ตามที่ สทนช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำล่วงหน้า ประกอบด้วย 15 มาตรการหลัก ครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่

 

          ด้านน้ำต้นทุน 4 มาตรการ คือ 1.จัดทำแผนสำรองน้ำ/แหล่งน้ำสำรอง/ขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำดิบ ทำนบดินชั่วคราวปิดกั้นลำน้ำในพื้นที่เหมาะสม ขุดลอกลำน้ำที่มีสภาพตื้นเขิน รวมถึงดึงน้ำจากแหล่งน้ำใกล้เคียง 2.ปฏิบัติการฝนหลวงเติมน้ำในแหล่งน้ำและพื้นที่เกษตร 3.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการบริหารจัดการน้ำกำหนดปริมาณน้ำจัดสรรในฤดูแล้งให้ชัดเจน และแจ้งให้กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบแผน 4.จัดทำทะเบียนผู้ใช้น้ำจากแหล่งน้ำ เพื่อตรวจสอบข้อมูลแหล่งน้ำ และเป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง

 

สทนช. จับมือทุกหน่วยน้ำรับมือท่วมใต้-บริหารน้ำแล้ง

 

 

          ด้านความต้องการใช้น้ำ 7 มาตรการ แบ่งออกเป็น อุปโภค-บริโภค คือ 1.ทุกภาคส่วนควบคุมการใช้น้ำของพื้นที่ตอนบนให้เป็นไปตามแผนไม่ให้กระทบต่อน้ำอุปโภคบริโภคของพื้นที่ตอนล่าง 2.ควบคุมการผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลองสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างให้เป็นไปตามแผน เพื่อสนับสนุนการใช้น้ำในด้านอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ คือ 1) การควบคุมการปล่อยน้ำเสียจากภาคอุตสาหกรรมและชุมชน ลงสู่แหล่งน้ำ เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำดีไล่น้ำเสีย 2) ติดตามเฝ้า ระวังคุณภาพน้ำที่สถานีสูบน้ำดิบสำแล ปทุมธานี อย่างใกล้ชิด 3) ควบคุมและขึ้นทะเบียนการเลี้ยงปลากระชังในแหล่งน้ำและลำน้ำ 4) สำรวจ ตรวจสอบ ถนนที่เชื่อมต่อกับทางน้ำในพื้นที่อ่อนไหวต่อการทรุดตัวของคันคลองเนื่องจากระดับน้ำลดต่ำกว่าปกติเพื่อการเกษตร และ การเกษตร โดยวางแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง จัดทำทะเบียนผู้ปลูกพืช โดยระบุพื้นที่เพาะปลูก และแหล่งน้ำที่นำมาใช้ให้ชัดเจน เพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน

 

          ด้านการติดตามประเมินผล 3 มาตรการ คือ 1.ติดตาม ควบคุมการจัดสรรน้ำให้เป็นไปตามแผน 2.สทนช. ติดตาม วิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์และกิจกรรมการใช้น้ำร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด 3.หน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำทุกกิจกรรม ติดตาม เฝ้าระวัง และรายงานเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ และ ด้านการเตรียมการและสร้างการรับรู้ สทนช. รับหน้าที่ประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ให้หน่วยงาน คณะกรรมการลุ่มน้ำ และประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง

 

          สำหรับพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค แบ่งเป็น ในเขตพื้นที่ให้บริการของ กปภ. ซึ่งประเมินพบ 42 สาขา 56 อำเภอ ใน 22 จังหวัด เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ ประกอบด้วย เหนือ 7 จังหวัด 19 อำเภอ 12 สาขา ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง พะเยา เชียงราย นครสวรรค์ พิจิตร เพชรบูรณ์ อีสาน 10 จังหวัด 32 อำเภอ 25 สาขา ได้แก่ นครราชสีมา ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชัยภูมิ ขอนแก่น อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย สกลนคร บุรีรัมย์ ตะวันออก 1 จังหวัด 1 อำเภอ 1 สาขา ได้แก่ ชลบุรี  ใต้ 4 จังหวัด 4 อำเภอ 4 สาขา ได้แก่ พังงา ภูเก็ต นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี โดยขณะนี้ กปภ. ได้เตรียมมาตรการรับมือแล้ว อาทิ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ พร้อมวางท่อเพื่อเข้าสู่ระบบผลิต เจาะบ่อบาดาล ฯลฯ ขณะที่พื้นที่นอกเขตบริการ ซึ่งอาจประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค 38 จังหวัด แบ่งเป็น เหนือ 16 จังหวัด อีสาน 7 จังหวัด กลาง 10 จังหวัด ตะวันออก 3 จังหวัด ตะวันตก 2 จังหวัด       

 

สทนช. จับมือทุกหน่วยน้ำรับมือท่วมใต้-บริหารน้ำแล้ง

 

          ขณะที่พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร แบ่งเป็น ในเขตชลประทานและนอกเขตชลปะทาน ซึ่งจากการประเมินสภาพอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ พบว่า มี 25 แห่ง คาดว่าปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตร ได้แก่ 1) อ่างฯ มีปริมาณน้ำไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนการเพาะปลูก 5 แห่ง อาทิ กระเสียว ทับเสลา อุบลรัตน์ ลำนางรอง และจุฬาภรณ์ 2) ปริมาณน้ำเพียงพอเพื่อการเกษตรต่อเนื่อง ได้แก่ พืชไร่ พืชผัก ไม้ผล  ไม้ยืนต้น จำนวน 9 แห่ง อาทิ ภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ ป่าสักฯ แม่กวงฯ แม่มอก มูลบน ลำพระเพลิง คลองสียัด 3) ปริมาณน้ำเพียงพอเพื่อการเกษตรนาข้าวรอบที่ 2 บางพื้นที่ 9 แห่ง อาทิ แม่งัดฯ กิ่วลม กิ่วคอหมา น้ำอูนน้ำพุง ลำตะคอง ลำแชะ บางพระ ประแสร์ และอ่างฯ ขนาดกลางมีปริมาณน้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุ กระทบต่อพื้นที่การเกษตร จำนวน 50 แห่ง อยู่ในภาคเหนือ 17 แห่ง อีสาน 28 แห่ง กลาง 1 แห่ง ตะวันออก 3 แห่ง ตะวันตก 1 แห่ง ใต้ 4 แห่ง

 

         ขณะที่พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรนอกเขตชลประทาน ฤดูแล้ง 62/63 โดยกรมทรัพยากรน้ำ พบ 20 จังหวัด 109 ตำบล ประกอบด้วย เหนือ 9 จังหวัด 84 ตำบล อาทิ เชียงราย อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ พิษณุโลก พิจิตร อีสาน 8 จังหวัด 16 ตำบล อาทิ ยโสธร ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา กลาง 2 จังหวัด 7 ตำบล ได้แก่ ลพบุรี สุพรรณบุรี ตะวันตก 1 จังหวัด 2 ตำบล ได้แก่ กาญจนบุรี ซึ่งขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับทราบข้อมูลปริมาณน้ำที่สามารถจัดสรรได้เพื่อนำไปใช้วางแผนการเพาะปลูกพืช ฤดูแล้งปี 62/63 และประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เกษตรกรโดยเร่งด่วนแล้ว

 

สทนช. จับมือทุกหน่วยน้ำรับมือท่วมใต้-บริหารน้ำแล้ง

 

 

          “สทนช. ได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานด้านน้ำที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยอย่างเต็มที่ โดยกำหนดมาตรการครอบคลุมรอบด้าน เพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ ทั้งอุทกภัยจากฝนตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ในช่วงปลายปีนี้ และฤดูแล้งปี 62/63 ที่กำลังจะมาถึง โดยขณะนี้ ครม. ได้มีมติเห็นชอบต่อมาตรการที่เสนอพิจารณาแล้ว ซึ่ง สทนช. จะดำเนินการขับเคลื่อนทุกมาตรการอย่างเร่งด่วนในทันที เพื่อสามารถช่วยป้องกันปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายแก่ประชาชนจากภัยแล้งและน้ำท่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ” เลขาธิการ สทนช. กล่าว

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-"มณัญญา" บุกกรมวิชาการเกษตร ทวงถามเอกสารสต๊อกสารพิษ
-แฉ ! กระทรวงเกษตรฯยังนำเข้าพาราควอต
-เฉลิมชัย ชงแต่งตั้งซี 10 เข้าครม. 4 ตำแหน่ง
-โยกย้าย ล็อตแรก เขย่าแรงบิ๊กเกษตร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ