ข่าว

จากดินเค็ม...สู่แหล่งปลูกพริกซุปเปอร์ฮอทส่งออก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สพข.5 ฟื้นฟูดินเค็มขอนแก่น สู่แหล่งปลูกพริกซุปเปอร์ฮอทเพื่อการส่งออก

 

14 กันยายน 2562 นางปราณี สีหบัณฑ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวางระบบการพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 กรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยถึงการจัดการพื้นที่ดินเค็มจังหวัดขอนแก่น เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตพืชเพื่อการตลาดและการส่งออก 

 

จากดินเค็ม...สู่แหล่งปลูกพริกซุปเปอร์ฮอทส่งออก

 

โดยกล่าวว่า สืบเนื่องจากพื้นที่จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่ดินเค็มประมาณ 2.1 ล้านไร่ กระจายอยู่ตามอำเภอต่าง ๆ มีทั้งระดับดินเค็มมาก ดินเค็มปานกลาง และดินเค็มน้อย แต่พื้นที่ที่พบปัญหาดินเค็มมากที่สุดอยู่ที่อำเภอบ้านไผ่ จำนวน 1.5 แสนไร่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 ร่วมกับสถานีพัฒนาที่ดินขอนแก่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการความร่วมมือในการเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาดินเค็ม 

 

โดยแบ่งเป็นการทำโครงการปลูกไม้ยืนต้นทนเค็มเพื่อป้องกันการแพร่กระจายดินเค็มในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง ชี มูล (เมืองเพีย) เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2543 จนถึงปัจจุบัน การบริหารจัดการพื้นที่ดินปัญหาเชิงรุก ซึ่งแบ่งพื้นที่ดำเนินการตามเขตโซนนิ่ง คือ N พื้นที่ไม่เหมาะสมต่อการปลูกข้าว (ดินเค็มจัด) พื้นที่ 25,643 คิดเป็นสัดส่วนพื้นที่ 30% ของพื้นที่ทั้งหมด

 

จากดินเค็ม...สู่แหล่งปลูกพริกซุปเปอร์ฮอทส่งออก

 

ทั้งนี้เมื่อเข้าไปแก้ไขโดยพื้นที่ที่ปลูกอะไรไม่ได้จะใช้วิธีล้างเกลือออกด้วยระบบวิศวกรรม สร้างท่อลอดระบายเกลือ ปลูกต้นอคาเซีย หญ้าดิ๊กซี่ ใช้เวลาประมาณ 3 ปี ความเค็มลดลงทำให้ปลูกพืชได้บ้าง ถึงจะปรับพื้นที่ยกร่องปลูกพืชเศรษฐกิจ ส่วนพื้นที่ S2 พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (ดินเค็มน้อย) จำนวน 53,777 ไร่ คิดเป็น 60% ของพื้นที่ ปรับสภาพพื้นที่ทำให้ปลูกข้าว กข 6 ได้ผลผลิต 800 กิโลกรัมต่อไร่ ปลูกไว้บริโภค

 

สำหรับพื้นที่ S3 พื้นที่เหมาะสมน้อย (ดินเค็มปานกลาง)  จำนวน 8,016 ไร่ คิดเป็น 10% ของพื้นที่ ส่งเสริมการปลูกข้าวเพื่อจำหน่าย ทำน้อยได้มากเน้นคุณภาพ โดยปลูกข้าว กข 15 เกษตรกรมีรายได้ 9,750 บาทต่อไร่ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เกษตรกรมีรายได้ 10,500 บาทต่อไร่ 

 

จากดินเค็ม...สู่แหล่งปลูกพริกซุปเปอร์ฮอทส่งออก

 

นอกจากนี้ ได้ทำโครงการผลิตพริกแบบบูรณาการในพื้นที่ดินเค็มทุ่งเมืองเพียสู่การแข่งขันตลาดปลอดภัยและตลาดโลก โดยคัดเลือกพื้นที่ ดินเค็มน้อย (S2) ดินเค็มปานกลาง (S3) เกษตรกรสมัครใจปลูก 1 งานต่อคน รวมกลุ่มปลูกพริกสายพันธุ์ทนเค็มและทนแล้ง (พันธุ์ Super hot) จนกระทั่งสามารถจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรผู้ปลูกพริกในพื้นที่ดินเค็มเพื่อการส่งออก มีการทำเกษตรแบบปลอดภัยได้รับการรับรองมาตรฐานแปลงจีเอพี และยังปฏิบัติตามมาตรการควบคุมพิเศษสำหรับการส่งออกผักและผลไม้สดไปสหภาพยุโรป (EL - Establishment List)

 

โดยเกษตรกรที่สามารถผลิตพริกได้ตามมาตรฐานที่กำหนด จะรับซื้อพริกเกรด A ในราคาประกันที่ 80 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ผลผลิตที่ตกเกรดจะแปรรูปเป็นพริกแห้งหรือพริกป่นขายเองและมีคนมารับซื้อถึงที่ ส่งผลให้เกษตรกรสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจเกษตรกรผู้ปลูกพริกในพื้นที่ดินเค็ม สามารถใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเค็มในการทำการเกษตรสร้างรายได้ที่มั่นคงยิ่งขึ้น

 

จากดินเค็ม...สู่แหล่งปลูกพริกซุปเปอร์ฮอทส่งออก

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ