ข่าว

เตือน !! อุบลฯรับมือมวลน้ำทะลักสูงสุดใกล้เคียงปี 54

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กรมชลฯเร่งกู้วิกฤติน้ำท่วม 8 จว. 2.3 พันล้านลบ.ม.ให้หมดภายในเดือนนี้ ชาวอุบลฯรับมวลน้ำสูงสุด 13 ก.ย.ใกล้เคียงปี 54 มาอีกลูกพายุก่อตัวในมหาสมุทร

 

12 กันยายน 2562 ที่ศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะน้ำ กรมชลประทาน นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน แถลงถึงแนวทางแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคอีสาน ว่าจะเปิดศูนย์บัญชาการบริหารน้ำมูล-ชี ส่วนหน้าที่สำนักชลประทาน7 อุบลราชธานี ในวันที่ 14 ก.ย.นี้  

 

ทั้งนี้หลังจากที่นายกรัฐมนตรี ได้ลงพื้นที่ดูสภาพน้ำท่วมระหว่างนั่งเครื่องบิน ได้สั่งการให้กรมชลประทาน เร่งดำเนินการบริหารจัดการน้ำให้คลี่คลายเร็วที่สุด อีกทั้งนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้กำชับให้กรมชลฯทำทุกวิธีทางเคลียร์น้ำออกจากพื้นที่เพื่อให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตปกติโดยเร็ว  และหน่วยงานเร่งสำรวจความเสียพื้นที่เกษตร ฟื้นฟูอาชีพ หาแนวทางเสริมรายได้ให้เกษตรกร

 

ทั้งนี้ตนจะลงไปบริหารจัดการน้ำด้วยตนเอง เนื่องจากการประเมินมีปริมาณน้ำค้างทุ่ง 1.6 พันล้านลบ.ม. จากปริมาณน้ำทั้งหมดถ้ารวมที่ท่วมในพื้นที่ภาคอีสาน มีน้ำรวม 2.3 พันล้านลบ.ม.ซึ่งเกิดจากอิทธิพล พายุโพดุล และคาจิกิ รวมแล้ว ตั้งแต่วันที่ 27 ส.ค.ถึงปัจจุบัน มีน้ำท่วมพื้นที่ 1.5 ล้านไร่ 80อำเภอ 8 จังหวัด ได้แก่ จ.กาฬสินธุ์ ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ มุกดาหาร อุบลราชธานีและมหาสารคาม 

 

เดิมคาดว่าปริมาณน้ำก้อนใหญ่ ไหลลงสู่สถานีM7 สะพานประชาธิปไตย จ.อุบลราชธานี ก่อนลงแม่น้ำโขง ในคืนที่ 11 ก.ย.ที่ผ่านมา ที่ระดับ 15.5 เมตร รทก.หรือระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 3.70-3.80 เมตร และเนื่องจากมีฝนตกมาเพิ่มในพื้นที่ทำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเป็น 15.7 เมตร.รทก.ที่สถานี M7 ใกล้เคียงกับปี 2545 ประกอบกับขณะนี้ระดับน้ำโขง ยังต่ำกว่าตลิ่งประมาณ 1.6 เมตร

 

เตือน !! อุบลฯรับมือมวลน้ำทะลักสูงสุดใกล้เคียงปี 54

 

ดังนั้นกรมชลประทาน ได้ระดมเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำไปตั้งตลอดแนว ที่ ปากมูล แก่งสะพือ เพื่อผลักดันน้ำลงแม่น้ำโขงให้เร็วที่สุด รวม 160 เครื่อง และกาลักน้ำ 34 ชุด จึงคาดว่าสถานการณ์น้ำจะมีระดับน้ำเข้าสู่ภาวะปกติภายในสิ้นเดือนนี้ และประชาชนสามารถกลับเข้าบ้านเรือนได้ในช่วง 18-19 ก.ย.นี้ ถ้าไม่มีฝนมาตกเพิ่มในพื้นที่

 

ปริมาณน้ำ 1.6 พันล้านลบ.ม.เป็นน้ำที่อยู่ในทุ่งพื้นที่จ.ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ประมาณ 346 ล้านลบ.ม.อยู่ในพื้นที่ลำเสียวใหญ่ 35 ล้านลบ.ม.และอยู่ในพื้นที่อ.ธาตุน้อย เซบาย เซบก อีกประมาณ 1.1 พันล้านลบ.ม.ซึ่งน้ำจากลำน้ำชี และที่ลำเสียวใหญ่ จะไหลมาที่สถานี M7 ทั้งหมดเช่นกันในช่วงวันที่ 13 ก.ย.นี้ จะเป็นน้ำระดับสูงสุด ส่งผลให้ระดับน้ำอยู่ที่ 15.8 เมตร รกท.หรือ 10.8 เมตร รสก.ระดับท้องน้ำสูงจากตลิ่งประมาณ 3 เมตรกว่า  ส่งผลให้พื้นที่จ.อุบลราชธานี ฝั่งขวา อ.วารินทรชำราบ ได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่ฝั่งอ.เมืองอุบลราชธานี จะไม่ได้รับผลกระทบเนื่องจากพื้นที่ตลิ่งสูงกว่า

 

ส่งผลให้พื้นที่จ.อุบลราชธานี ฝั่งขวา อ.วารินทรชำราบ ได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่ฝั่งอ.เมืองอุบลราชธานี จะไม่ได้รับผลกระทบเนื่องพื้นที่ตลิ่งสูงกว่า ทั้งนี้เมื่อระดับน้ำเข้าสู่ภาวะปกติ กรมชลฯจะเก็บน้ำเข้าแก้มลิงธรรมชาติ สองลุ่มน้ำ หรือพื้นที่การเกษตรของประชาชนที่มีร้องขอเข้ามาเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งที่จะถึงนี้ นอกจากนี้จากการประชุมร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่าพบการก่อตัวของในมหาสมุทร แต่ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่าจะก่อตัวเป็นพายุหรือไม่ 

 

เตือน !! อุบลฯรับมือมวลน้ำทะลักสูงสุดใกล้เคียงปี 54


นายทองเปลว กล่าวว่าขณะนี้สำหรับการบริหารน้ำใน 2 ลำน้ำ ชีและมูล ได้สั่งการให้สำนักชลประทาน จัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ท้ายน้ำ ซึ่งในลำน้ำชี ได้ชะลอน้ำจากแม่น้ำชีตอนบน ที่เขื่อนมหาสารคาม และควบคุมการระบายน้ำจากอ่างขนาดใหญ่ กลาง เล็ก 23 แห่ง เพื่อปรับอัตราระบายน้ำให้เหลือวันละ36ล้านลบ.ม.
โดยในลำน้ำมูล ได้ลดการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ กลาง เล็ก รวม 57 แห่ง และชะลอน้ำในลำเซบาย และลำโดมใหญ่ พร้อมกับลำน้ำสาขาอื่น ๆ เพื่อลดน้ำไปสมทบกันที่ท้ายน้ำ 

 

อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่าพร้อมกันนี้ได้กำชับผ่านวีดีโอคอนเฟอร์เรนท์ไปทุกสำนักชลประทาน ในพื้นที่ขอให้ช่วยกันอย่างเต็มที่เพื่อให้ประชาชนผ่านพ้นวิกฤติ จะลดความเดือดร้อนได้เร็ว และให้สลับเวรยามกันดูแลเครื่องมือพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา เมื่อน้ำลดแล้วข้าราชการกรมชลประทาน ซึ่งเป็นจิตอาสาชลประทาน จะเข้าช่วยฟื้นฟูที่อยู่อาศัยและทำความสะอาดบ้านเรือนให้ประชาชน สามารถเข้าอยู่ทันทีหลังน้ำลด

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-5 จว.อีสาน น้ำท่วมถนน 12 แห่งห้ามผ่าน
-เพจลุงตู่ ปล่อยคลิปเพลงให้กำลังใจ บิ๊กตู่ ช่วยน้ำท่วม
-เร่งระบายน้ำท่วม 5 จว.อีสาน
-นายกฯ ลั่น น้ำท่วมต้องคิดแก้ใหม่ทั้งหมด
 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ