ข่าว

ร้องกรมชลฯ ขออ่างเก็บน้ำปลูกข้าวญี่ปุ่น

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เกษตรกรบ้านป่าแดด จ.เชียงราย ร้องกรมชลประทานขออ่างเก็บน้ำแม่ตาช้าง ปลูกข้าวญี่ปุ่น

 

               เกษตรกรบ้านป่าแดด จ.เชียงราย ร้องกรมชลประทานขออ่างเก็บน้ำแม่ตาช้าง ปลูกข้าวญี่ปุ่น ด้านกรมชลประทาน เผยผลศึกษา คาดพื้นที่รับประโยชน์ 17,200 ไร่ เยียวยาป่าปลูกเพิ่ม 3,080 ไร่

 

ร้องกรมชลฯ ขออ่างเก็บน้ำปลูกข้าวญี่ปุ่น

 

               กว่า 20 ปี ที่ชาวตำบลป่าแดด ร้องขออ่างเก็บน้ำแม่ตาช้าง ถูก NGO ขัดขวาง คัดค้านการสร้างอ่างเก็บน้ำมาโดยตลอด จนล่าสุด ชาวบ้านได้มีหนังสือ ขอติดตามเร่งรัดโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่ตาช้าง ถึงกรมชลประทาน  

 

ร้องกรมชลฯ ขออ่างเก็บน้ำปลูกข้าวญี่ปุ่น

 

               โดยวันที่ 9 ก.ย.2562 ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน มอบหมายให้ นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ลงพื้นที่ ต.ป่าแดด อ.แม่สรวย จ.เชียงราย  พบปะประชาชนผู้ร้องขอและต้องการอ่างเก็บน้ำแม่ตาช้าง ที่มารอต้อนรับคณะ พร้อมเดินชมพื้นที่บริเวณที่จะก่อสร้าง

 

ร้องกรมชลฯ ขออ่างเก็บน้ำปลูกข้าวญี่ปุ่น

 

               นายเฉลิมเกียรติ  กล่าวว่า จากที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวญี่ปุ่น จาก อ.ป่าแดด จ.เชียงราย ได้ร้องขอน้ำ เพื่อเพาะปลูกข้าวญี่ปุ่น ในพื้นที่ ทางกรมชลประทานจึงได้จัดโครงการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA อ่างเก็บน้ำแม่ตาช้าง ตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ซึ่งมีจุดประสงค์ในการเป็นแหล่งน้ำอุปโภค-บริโภคของเกษตรกร

 

               และประชาชนในพื้นที่ 31 หมู่บ้าน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลป่าแดด ตำบลศรีถ้วย และตำบลแม่พริก มีพื้นที่รับประโยชน์ทั้งสิ้น 17,200 ไร่ ทั้งยังสามารถบรรเทาอุทกภัยในเขตตำบลป่าแดด เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำและประมง เพิ่มความชุ่มชื้นและฟื้นฟูสภาพป่า ไปจนถึงเพิ่มความมั่นคงด้านปริมาณน้ำในบริเวณห้วยแม่ตาช้าง และแม่น้ำลาวในช่วงฤดูแล้ง

 

               ทั้งนี้ที่มาที่ไปของโครงการดังกล่าวนั้น ทางจังหวัดเชียงรายได้มีหนังสือขอรับการสนับสนุนโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ตาช้าง เพื่อช่วยแก้ไขและบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำในพื้นที่ตั้งแต่ปี 2536 อย่างไรก็ตามเนื่องจากบริเวณหัวงานและอ่างเก็บน้ำส่วนหนึ่งอยู่ในเขตป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม (Zone C) จึงต้องทำการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA เพื่อประกอบการขออนุญาตใช้พื้นที่

 

ร้องกรมชลฯ ขออ่างเก็บน้ำปลูกข้าวญี่ปุ่น

 

               โดยหลังจากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงการดังกล่าวประกอบด้วย พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ลาวฝั่งซ้ายอีก 1,540 ไร่ แบ่งเขตป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม (Zone C) 788 ไร่ ป่าเศรษฐกิจ (E) 752 ไร่ นอกเขตป่าสงวน 110 ไร่
 

 

               ซึ่งปัจจุบันมีสภาพเป็นพื้นที่ป่าไม้ 102 ไร่ ป่าเต็งรัง 93 ไร่ ป่าเบญจพรรณ 9 ไร่ รวมถึงในด้านคมนาคมที่จะทำให้ถนนทางเข้าหมู่ 18 บ้านแม่ตาช้างที่เชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 109 บริเวณ กม.12+500 ระยะทาง 2.5 กม. ไม่สามารถสัญจรไปมาได้ ทั้งยังกระทบผู้มีที่ดินทำกินและผู้อยู่อาศัยในบริเวณจัดทำโครงการดังกล่าวอีก 152 ราย 

 

ร้องกรมชลฯ ขออ่างเก็บน้ำปลูกข้าวญี่ปุ่น

 

               “ทางกรมชลประทานมีแนวทางป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบ ผ่านการดำเนินการปลูกป่าทดแทนในพื้นที่ป่าไม้บริเวณใกล้เคียง 3,080 ไร่ หรือ 2 เท่า ของพื้นที่ป่าสงวนแม่ลาวที่สูญเสียไปจากการทำโครงการดังกล่าว โดยใช้ไม้ที่มีคุณค่าเชิงเศรษฐกิจ และเร่งกำหนดอัตราชดเชยทรัพย์สินให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรม ผ่านการคำนึงถึงผู้ได้รับผลกระทบ

 

               นอกจากนี้กรมชลประทานยังต้องดำเนินการสร้างถนนทดแทนให้ประชาชน หมู่ที่ 18 เพื่อทดแทนถนนเดิมที่จะถูกน้ำท่วมอีกด้วย” นายเฉลิมเกียรติกล่าว

 

ร้องกรมชลฯ ขออ่างเก็บน้ำปลูกข้าวญี่ปุ่น

 

               นายเฉลิมเกียรติ อธิบายเพิ่มเติมว่าจากการศึกษาเบื้องต้นโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ตาช้างจะมีพื้นที่หัวงานอยู่บริเวณตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ปิดกั้นลำห้วยแม่ตาช้าง ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำลาว มีพื้นที่รับน้ำ 100.8 ตร.กม. พื้นที่ระดับน้ำสูงสุด 1,375 ไร่ พื้นที่ระดับน้ำเก็บกัก 1,281 ไร่ และพื้นที่ระดับน้ำต่ำสุด 250 ไร่

 

               มีความจุอ่างเก็บน้ำที่ระดับสูงสุด 36 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ระดับน้ำสูงสุด +520.25 ม.รทก. มีความจุอ่างเก็บน้ำที่ระดับเก็บกัก 32 ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำเก็บกัก +519 ม.รทก. โดยพื้นที่ที่เกี่ยวข้องมีปริมาณฝนเฉลี่ย 1,511 มิลลิเมตร และมีน้ำท่า 39.92 ล้าน ลบ.ม. การจัดทำอ่างเก็บน้ำจึงเป็นการสร้างความมั่นคงทางแหล่งน้ำให้ประชาชนในพื้นที่

 

ร้องกรมชลฯ ขออ่างเก็บน้ำปลูกข้าวญี่ปุ่น

 

               โดยลักษณะของอ่างเก็บน้ำแม่ตาช้างนั้น จากการออกแบบเบื้องต้น จะมีลักษณะเป็นเขื่อนดินแบบแบ่งโซนที่มีความกว้างสันเขื่อน 10 เมตร ความยาวเขื่อน 657 เมตร ความสูง 42 เมตร มีอาคารระบายน้ำล้นยาว 70 เมตร ระบายน้ำได้สูงสุด 259.5 ลบ.ม./วินาที รวมถึงมีท่อส่งน้ำลงลำน้ำเดิม เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เมตร อีกด้วย

 

               ด้านนายประพันธ์ แก้วมณี ผู้ใหญ่บ้าน ม.6 ตำบลป่าแดด อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ได้เผยว่า ชาวชุมชนตำบลป่าแดด และพื้นที่ใกล้เคียง ต้องการแหล่งเก็บกักน้ำ เพื่อใช้ในการทำการเกษตร  อุปโภคบริโภค บรรเทาภัยแล้ง บรรเทาอุทกภัย และประชาชนทุกคนพร้อมสนับสนุนให้เกิดโครงการนี้

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-เฉลิมชัย สั่งกรมชลฯ เฝ้าระวัง 5 เขื่อนภาคอีสาน
-"กรมชลฯ"เกาะติดพื้นที่ภัยแล้ง
-กรมชลฯสอบโครงการส่งน้ำเชียงใหม่"มีพิรุธ":
-ล้นทะลักแต่ไม่แตก กรมชลสยบข่าวเขื่อนพัง 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ