ข่าว

เตือน ! หว่านข้าวแห้งช่วงแล้ง เสี่ยงเสียหาย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"เตือน"เกษตรกรหว่านข้าวแห้งขณะแล้งหรือฝนทิ้งช่วง เมล็ดข้าวไม่งอก เสียหายหนัก จะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐ

 

13 สิงหาคม 2562 นายวุฒิชัย ชิณวงศ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร ปฏิบัติหน้าที่ หัวหน้าศูนย์เฉพาะกิจติดตามสถานการแล้งฝนทิ้งช่วง ปี 2562 กรมส่งเสริมการเกษตร  

 

ได้แจ้งเตือนเกษตรกรที่ทำนาเพาะปลูกข้าวโดยเฉพาะในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของประเทศ โดยบางส่วนไต้หันมาปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกข้าวจากวิธีการทำนาดำเป็นนาหว่านข้าวแห้งมากขึ้น เนื่องจากขาดแรงงานในการปักดำ อีกทั้งยังประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย

 

แต่จากสถานการณ์ที่มีปริมาณฝนตกน้อยหลายพื้นที่ในระยะนี้ ปัญหาที่จะตามมาจากวิธีการหว่านข้าวแห้ง คือ จะทำให้การกระจายและความลึกของเมล็ดข้าวที่ถูกฝังกลบลงดินไม่สม่ำเสมอ ส่งผลต่อเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดข้าวและอาจมีวัชพืชขึ้นแซมในนาข้าวด้วยทำให้ผลผลิตและคุณภาพข้าวต่ำ หรือหากฝนทิ้งช่วงนานเกินไปจะทำให้เมล็ดข้าวที่หว่านไม่งอกเลย ซึ่งการเกิดความเสียหายในกรณีนี้จะไม่ได้รับการช่วยเหลือภัยพิบัติด้านพืช ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562

 

เตือน ! หว่านข้าวแห้งช่วงแล้ง เสี่ยงเสียหาย

 

สำหรับข้อแนะนำการปลูกข้าวในช่วงแล้งหรือฝนทิ้งช่วง เกษตรกรควรวางแผนช่วงเวลาการเพาะปลูกข้าวให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำและสภาพอากาศในปัจจุบัน โตยติดตามสถานการณ์น้ำและสภาพอากาศจากหน่วยงานราชการ กรมอุตุนิยมวิทยา หรือศูนย์เฉพาะกิจติดตามสถานการณ์แล้งฝนทิ้งช่วง ปี 2562 กรมส่งเสริมการเกษตร หรือปรับเปลี่ยนไปเพาะปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้งเพื่อเป็นการประหยัดน้ำ การปลูกพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อย การทำไร่นาสวนผสม หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น

 

นอกจากนี้ให้สำรวจแหล่งน้ำในพื้นที่ เพื่อประเมินน้ำที่จะใช้ในพื้นที่ไร่นาของตนเอง การเก็บกักน้ำไว้ในไร่นา และหาแหล่งน้ำสำรอง โดยประสานกับหน่วยงานด้านแหล่งน้ำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย

 

เตือน ! หว่านข้าวแห้งช่วงแล้ง เสี่ยงเสียหาย

 

ส่วนการขึ้นทะเบียนหรือปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร เพื่อแจ้งข้อมูลการเพาะปลูกข้าวในแต่ละรอบการผลิตกับกรมส่งเสริมการเกษตร สามารถแจ้งข้อมูลได้ ณ สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือปรับปรุงผ่าน Mobile Application Farmbook เพื่อให้ภาครัฐทราบข้อมูลสถานการณ์การผลิตและเกษตรกรจะไต้รับความช่วยเหลือเมื่อเกิดความเสียหาย หากมีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดในพื้นที่

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ