ข่าว

"เกษตรกรหนองคาย"เฮ ดินเค็มน้อยลง-ต้นทุนลด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สพด.หนองคายเปิดผลสำเร็จแก้ดินเค็มแบบบูรณาการ ทำดินดีขึ้น เกษตรกรยอมรับ เร่งสร้างแปลงต้นแบบขยายผลสู่เกษตกรเพิ่มขึ้น

 

3 สิงหาคม 2562 นางสาวนุชจรี กองพลพรหม ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินหนองคาย สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 กรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า จังหวัดหนองคายมีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากดินเค็มประมาณ 1,667,166 ไร่ มีพื้นที่ที่พบคราบเกลือตั้งแต่ 1% ของพื้นที่ขึ้นไปประมาณ 18,680 ไร่  

 

"เกษตรกรหนองคาย"เฮ ดินเค็มน้อยลง-ต้นทุนลด

 

แยกเป็นบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากเกลือมากที่สุด พบคราบเกลือที่ผิวดินมากกว่า 50% มีพื้นที่ 95 ไร่ ส่วนบริเวณที่พบคราบเกลือที่ผิวดิน 10-50% มีพื้นที่ 1,184 ไร่ และบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากเกลือปานกลางพบคราบเกลือที่ผิวดิน 1-10% มีพื้นที่ 17,401 ไร่ ซึ่งทั้ง 3 บริเวณนี้จัดว่าเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาต่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อมที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหายหรือผลผลิตต่ำมาก พื้นที่เหล่านี้เกือบทั้งหมดเป็นที่ลุ่มใช้ทำนา

 

"เกษตรกรหนองคาย"เฮ ดินเค็มน้อยลง-ต้นทุนลด


สถานีพัฒนาที่ดินหนองคาย ได้ทำโครงการส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ดินเค็มแบบบูรณากรในพื้นที่ลุ่มน้ำย่อย เพื่อลดผลกระทบจากดินเค็มที่มีต่อการเพาะปลูกพืชของเกษตรกร พัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ดินเค็มให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นต้นแบบและพัฒนาแนวทางการจัดการปัญหาดินเค็มในพื้นที่ต่าง ๆ ของจังหวัดหนองคายต่อไป โดยเริ่มดำเนินการปี 2561 ที่บ้านดงแสนแผง ม.2 ต.คอกช้าง อ.สระใคร ครอบคลุมพื้นที่ 1,500 ไร่ เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 62 ราย ในปี 2562 ขยายพื้นที่เพิ่มจากบ้านดงแสนแผง ม.2 ไปยังบ้านพลายงาม ม.11 ต.คอกช้าง เกษตรกรเข้าร่วม 38 ราย พื้นที่ 900 ไร่ 

 

"เกษตรกรหนองคาย"เฮ ดินเค็มน้อยลง-ต้นทุนลด


สำหรับกิจกรรมที่เข้าไปดำเนินการแบ่งเป็น 2 กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำพร้อมปลูกไม้ยืนต้นเศรษฐกิจบนคันนา และกิจกรรมควบคุมระดับน้ำใต้ดินเค็มทั้งบนผิวดินและใต้ผิวดิน โดยการปรับรูปแปลงนา ทำให้คันนาใหญ่ขึ้นขวางทิศทางการไหลของน้ำ ชะลอให้น้ำอยู่ในพื้นที่ให้นานที่สุดจะได้ซึมลงดินกดเกลือที่อยู่ในดินให้ลงไปชั้นใต้ดิน 

 

ควบคู่กับส่งเสริมปลูกยูคาลิปตัสหรือกระถินออสเตรเลียบนคันนา ซึ่งเป็นพืชที่สามารถช่วยคุมน้ำเค็มใต้ดินได้ดี และยังเป็นรายได้เสริมให้กับเกษตรกรอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ได้จัดทำแปลงสาธิตปลูกพืชปุ๋ยสดปรับปรุงบำรุงดิน (ปอเทือง) เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุ ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกร อีกทั้งได้ถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิตและใช้สารอินทรีย์ทางการเกษตร

 

"เกษตรกรหนองคาย"เฮ ดินเค็มน้อยลง-ต้นทุนลด


ผลจากการการแก้ไขดินเค็มแบบบูรณาอย่างต่อเนื่อง พบว่าผลวิเคราะห์ดินมีคุณภาพดีขึ้น หลังการเก็บเกี่ยวข้าวนาปีพบว่าระดับค่าการนำไฟฟ้าของดินมีแนวโน้มลดลง แสดงว่าดินเค็มลดลง ขณะที่ปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามเกษตรกรในพื้นที่พบว่ามีความพึงพอใจอย่างมากและยอมรับในแนวทางแก้ปัญหาของกรมพัฒนาที่ดิน และต้องการให้สนับสนุนปัจจัยการผลิตในการปรับปรุงบำรุงดินให้มากขึ้น

 

"เกษตรกรหนองคาย"เฮ ดินเค็มน้อยลง-ต้นทุนลด

 

รวมถึงให้มีการจัดฝึกอบรมและต่อยอดขยายผลไปยังพื้นที่ที่มีปัญหาดินเค็มอื่นๆ ด้วย โดยสถานีพัฒนาที่ดินหนองคาย เตรียมขยายผลดำเนินการในปีงบประมาณ 2563 ในพื้นที่บ้านโนนดู่ บ้านโนนแดง ต.บ้านฝาง อ.สระใคร พื้นที่ไม่ต่ำกว่า 500 ไร่ เพื่อลดผละกระทบจากดินเค็มที่มีต่อเกษตรกร และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ดินเค็มอย่างเหมาะสมมากขึ้น ที่สำคัญจะใช้เป็นแปลงต้นแบบในการจัดการปัญหาดินเค็ม เพื่อขยายผลแก้ปัญหาดินเค็มของจังหวัดหนองคายต่อไป 
 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ