ข่าว

ทุ่งเมืองเพียโมเดลแก้ดินเค็ม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สพข.5 ใช้ทุ่งเมืองเพียโมเดลเป็นต้นแบบขยายผลแก้ปัญหาดินเค็มอีสานเหนือจัดทำระบบอนุรักษ์ดิน-น้ำ ปลูกไม้ยืนต้นเศรษฐกิจบนคันนา

 

1 สิงหาคม 2562 นางปราณี สีหบัณฑ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวางระบบการพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 กรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า พื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินเค็ม ตั้งแต่ระดับเล็กน้อยไปจนถึงรุนแรงมาก  


ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว สำนักงานพัฒนาที่ดิน เขต 5 ที่ดูแลรับผิดชอบ 8 จังหวัดภาคอีสานตอนบน ได้จัดทำโครงการส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ดินเค็มแบบบูรณาการในพื้นที่ลุ่มน้ำย่อย โดยจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ และปลูกไม้ยืนต้นเศรษฐกิจบนคันนา เช่นยูคาลิปตัส กระถินออสเตรเลีย 

 

ทุ่งเมืองเพียโมเดลแก้ดินเค็ม

 

ทั้งนี้ จากแผนที่การกระจายคราบเกลือบนผิวดินของพื้นที่สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 ประกอบไปด้วย 8 จังหวัดภาคอีสาน ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ สกลนคร อุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู และบึงกาฬ สามารถแบ่งพื้นที่ออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ พื้นที่การแพร่กระจายคราบเกลือบนผิวดิน มากกว่า 50% จำนวน 16,597 ไร่ พื้นที่การแพร่กระจายคราบเกลือผิวดิน 10-50% จำนวน 51,783 ไร่

 

ทุ่งเมืองเพียโมเดลแก้ดินเค็ม

 

ทุ่งเมืองเพียโมเดลแก้ดินเค็ม

 

พื้นที่การแพร่กระจายคราบเกลือบนผิวดิน 1-10% จำนวน 1,087,017 ไร่ พื้นที่การแพร่กระจายคราบเกลือบนผิวดิน น้อยกว่า 1% จำนวน 10,572,102 ไร่ และพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเกิดดินเค็ม จำนวน 7,784,102 ไร่ ซึ่งสถานีพัฒนาที่ดินทั้ง 8 จังหวัด ได้เข้าไปดำเนินการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ พร้อมกับส่งเสริมการปลูกไม้ยืนต้นบนคันนาเพื่อป้องกันปัญหาดินเค็ม ในพื้นที่ 1,2,3 และ 4 จำนวน 101,943 ไร่ คิดเป็น 0.87% ของพื้นที่ดินเค็ม

 

ทุ่งเมืองเพียโมเดลแก้ดินเค็ม

 

อย่างไรก็ตาม ยังมีพื้นที่ที่ประสบปัญหาดินเค็มอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้ดำเนินการ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเกิดดินเค็ม ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่อื่น สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 จึงเร่งถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรในพื้นที่ดินเค็มได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยนำผลสำเร็จโครงการ ปลูกต้นไม้ทนเค็มเพื่อป้องกันการแพร่กระจายดินเค็มในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง ชี มูล ที่ตำบลเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น หรือ ทุ่เมืองเพียโมเดล มาเป็นต้นแบบในการขยายผลแก้ปัญหาดินเค็มแบบบูรณาการ เน้นการพัฒนาจัดการน้ำ สร้างป่า รักษาดิน พลิกปูมปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ