ข่าว

 ส่องงานวิจัยและพัฒนากรมหม่อนไหม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

 ส่องงานวิจัยและพัฒนากรมหม่อนไหม แปลงไหมไทยสู่อุปกรณ์ทางการแพทย์     

  

           นับเป็นอีกก้าวความสำเร็จในการพัฒนาเยื่อโครงสร้างไฮโดรเจลจากโปรตีนไหมไฟโบรอินเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางชีวการแพทย์ จนสามารถรางวัลดีเด่นงานวิจัยประเภทประยุกต์ในการประชุมวิชาการหม่อนไหม ประจำปี 2562  โดยผลงานวิจัยดังกล่าวทดแทนการนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์จากต่างประเทศที่มีราคาแพง 

 ส่องงานวิจัยและพัฒนากรมหม่อนไหม

   

     “ท่องโลกเกษตร”อาทิตย์นี้มาสนทนากับอธิบดีกรมหม่อนไหม“ศิริพร บุญชู” ถึงผลงานความสำเร็จงานวิจัยของกรมหม่อนไหมมุ่งเน้นในเรื่องของการต่อยอดนวัตกรรมเพื่อที่จะมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าหม่อนไหม เป็นงานวิจัยที่เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ โดยการร่วมบูรณาการทำงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อที่จะให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมากที่สุด

      “งานวิจัยเราจะต้องทำเป็นในลักษณะบูรณาการแบบที่เรียกว่า Package คือทำแบบครบวงจรอาจจะต้องร่วมหลายหน่วยงาน ตั้งแต่กรมหม่อนไหมก็อาจจะทำตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เราก็อาจจะร่วมกับพาณิชย์หรือร่วมกับสถานศึกษาต่างๆ ที่จะมาช่วยพัฒนาด้วยกัน เพื่อให้งานวิจัยที่ออกมามันเป็นงานวิจัยที่สมบูรณ์และตอบโจทย์ได้ คือจะเป็น Package ของงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง” 

 ส่องงานวิจัยและพัฒนากรมหม่อนไหม

      สำหรับงานวิจัยการพัฒนาเยื่อโครงสร้างไฮโดรเจลจากโปรตีนไหมไฟโบรอินเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางชีวการแพทย์ ซึ่งรับรางวัลดีเด่นงานวิจัยประเภทประยุกต์ในการประชุมวิชาการหม่อนไหม ประจำปี 2562 นั้น มีแนวคิดมาจากการที่วัสดุทางการแพทย์ที่เราใช้กันในปัจจุบันมีการนำเข้าจากต่างประเทศซึ่งมีราคาสูง ทำให้“ศศิพิมพ์ ลิ่มมณี”นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ กรมหม่อนไหมเผยถึงที่มาของ ในฐานะหัวหน้าทีมวิจัยจึงได้คิดค้นที่จะหาวัสดุที่จะนำมาทดแทน

       โดยเห็นว่าไหมไทยเป็นวัตถุดิบธรรมชาติที่มีคุณสมบัติที่ดี มีความแข็งแรงสูง จึงมีความแนวคิดที่จะเอานำไหมไทยมาผลิตเป็นวัสดุชีวภาพทางการแพทย์ โดยการนำมาใช้การเพาะเลี้ยงเซลล์กระดูกเพื่อพื้นฟูเนื้อเยื้อกระดูกที่เสียหายจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือการเสื่อมของวัย ซึ่งจากการทดลองในเบื้องต้นได้ทำการทดสอบศักยภาพของตัววัสดุชีวภาพจากไหมไทย ในระดับห้องปฏิบัติการ พบว่าไหมไทยเป็นวัสดุทางชีวภาพที่มีศักยภาพในการฟื้นฟูเซลล์กระดูกได้

        ทั้งนี้โดยหลักการในการฟื้นฟูเนื้อเยื้อของร่างกายเมื่อได้รับเกิดอุบัติเหตุหรือความเสื่อม ร่างกายจะมีกลไกในการสร้างเซลล์ใหม่มาเพื่อทำให้เนื้อเยื้อกลับมาสู่สภาพปกติ ซึ่งต้องใช้เวลานาน นอกจากนี้เมื่อเกิดอุบัติรุนแรงจำเป็นต้องมีการผ่าตัดใส่วัตถุชีวภาพเข้าไปในร่างกาย และต้องผ่าตัดซ้ำเพื่อนำวัสดุชีวภาพนั้นออกมา ซึ่งอาจเกิดการติดเชื้อได้ โดยงานวิจัยการพัฒนาเยื่อโครงสร้างไฮโดรเจลจากโปรตีนไหมไฟโบรอินนี้ 

 ส่องงานวิจัยและพัฒนากรมหม่อนไหม

       ซึ่งทีมวิจัยของกรมหม่อนไหมได้ร่วมกับรศ.ดร. จิรัฐ มีเสน และคณะทีมวิจัยของสถาบันวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในการคิดค้นวิธีการนำเซลล์ที่ต้องการฟื้นฟู ใส่ลงไปในวัสดุชีวภาพที่ทำงานไหมไทย กระตุ้นให้เซลล์นั้นเกิดความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แล้วนำเซลล์ที่เจริญเติบโตใส่เข้าไปยังบริเวณที่เกิดความเสียหาย เพื่อให้เกิดการฟื้นฟูเนื้อเยื้อบริเวณได้อย่างรวดเร็วกว่ากระบวนการที่ร่างกายสามารถทำได้เอง ซึ่งเป็นการลดระยะเวลาในการฟื้นฟูอาการบาดเจ็บ และยังสามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายจ่ายการนำเข้าวัสดุชีวภาพทางแพทย์จากต่างประเทศ ทั้งนี้งานวิจัยดังกล่าวจะต้องมีการต่อยอดในลักษณะของการนำไปใช้ในสัตว์ทดลอง เพื่อให้เห็นผลชัดเจนมากขึ้นในสิ่งมีชีวิต และเพื่อพัฒนาต่อยอดไปสู่วัสดุชีวภาพต่อไป

     สำหรับงานวิจัยการพัฒนาเยื่อโครงสร้างไฮโดรเจลจากโปรตีนไหมไฟโบรอินเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางชีวการแพทย์ของ ศศิพิมพ์ ลิ่มมณี ได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดีเด่นประเภทงานวิจัยประยุกต์ ในการประชุมวิชาการหม่อนไหม ประจำปี 2562 นอกจากนี้ยังมีผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัล โดยงานวิจัยประเภทพื้นฐาน ผลงานวิจัยระดับดี ได้แก่ การวิเคราะห์ลำดับเบสของ cpDNAtrnL-trnFและ nrDNA ITS ในหม่อนพันธุ์อนุรักษ์ ของ บุษรา จงรวยทรัพย์ ผลงานวิจัยระดับชมเชย 2 เรื่อง ได้แก่ การศึกษาการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โพรลีนเพื่อช่วยคัดเลือกพันธุ์หม่อนในสภาวะขาดน้ำของมนัสวี สุริยวนากุล

       และผลของการใช้เส้นไหมไทยที่สาวด้วยวิธีการต่างๆ ต่อคุณสมบัติผ้าไหมของ อานุภาพ โตสุวรรณ งานวิจัยประเภทประยุกต์ ผลงานวิจัยระดับดี 2 เรื่อง ได้แก่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผลหม่อนผงจากน้ำหม่อนโดยการทำแห้งแบบโฟมแมทของธนกิจ ถาหมี และกระบวนการผลิตแอนโทไซยานินผงจากผลหม่อนสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของเสาวนีย์ อภิญญานุวัฒน์  ส่วนผลงานวิจัยระดับชมเชย ได้แก่ การศึกษาพันธุ์ไหมไทยที่เหมาะสมในการผลิตกระดาษใยไหมของแดนชัย แก้วต๊ะ  

 

     อย่างไรก็ตามผลงานวิจัยของกรมหม่อนไหมจะนำไปแสดงในนิทรรศการงานตรานกยูงพระราชทาน สืบสานตำนานไหมไทย ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 2562 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็คเมืองทองธานี ฮอลล์ 6-7 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กรมหม่อนไหม โทรสายด่วน1275 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ