ข่าว

 เปิดใจ"สมาร์ท ฟาร์มเมอร์"บ้านเกตรี 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

 เปิดใจ"สมาร์ท ฟาร์มเมอร์"บ้านเกตรี พึ่งพาเครือข่าย-สร้างรายได้ด้วยตนเอง

 

              “วิกฤตต้มยำกุ้ง วิกฤตน้ำท่วมหาดใหญ่ ปี 2543 ผมไม่เหลืออะไรจริงๆ แต่วันนี้ผมมีหน้ามีตาในสังคม เลี้ยงดูครอบครัวได้ เพราะนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุคจนได้มาเป็นสมาร์ทฟาร์เมอร์ในหลายๆกลุ่มของกระทรวงเกษตรฯ”

 เปิดใจ"สมาร์ท ฟาร์มเมอร์"บ้านเกตรี 

 

              คำบอกเล่าของนายยุสุบ สันหมุด 1 ใน“สมาร์ท ฟาเมอร์” ประจำหมู่บ้านชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตร“บ้านเกตรี” หมู่ที่ 3 ต.เกตรี อ.เมือง จ.สตูล ซึ่งได้เผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับการทำเกษตรที่ยึดหลักวิถีชุมชนให้กับหน่วยงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด ที่ได้นำคณะสื่อมวลชนและผู้ประกอบการบริษัทนำเที่ยวลงพื้นที่ประเมินศักยภาพเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอันดามัน ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT) ระหว่างวันที่ 15-20 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา ณ จังหวัดภูเก็ต, พังงา, กระบี่, ตรัง และสตูล   เปิดใจ"สมาร์ท ฟาร์มเมอร์"บ้านเกตรี 

               สมาร์ท ฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) หรือ เกษตรอัจฉริยะ เป็นนโยบายสำคัญตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ซึ่งได้กำหนดวิสัยทัศน์ของแผนพัฒนาการเกษตร คือ “เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ประชาชนมีความมั่นคงด้านอาหารเป็นฐานสร้างรายได้ให้แผ่นดิน”  เปิดใจ"สมาร์ท ฟาร์มเมอร์"บ้านเกตรี 

              ขณะที่นิยาม สมาร์ท ฟาเมอร์ ในมุมมองกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หมายถึง เกษตรกรที่มีความรู้อย่างถ่องแท้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีความคิดในการวางแผนเป็นเลิศ มีความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มีความสามารถในการแก้ปัญหาได้รวดเร็ว โดยการวิเคราะห์ข้อมูลรอบด้านเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจที่ตั้งอยู่บนหลักการและเหตุผล ตลอดจนรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการเกษตร

              ก่อนที่จะหันมาประกอบอาชีพเกษตรกร นายยุสุบ เล่าให้ฟังว่าก่อนหน้านี้ทำอาชีพขับวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่หาดใหญ่ จากนั้นค่อยๆ เก็บหอมลอมลิบรายได้เพื่อวันหนึ่งจะประกอบอาชีพของตัวเอง แต่ตอนนั้นยังคิดไม่ออกว่าจะทำอะไร

             ขณะเดียวกันกว่าจะได้รับเลือกเป็นเกษตรอัจฉริยะ นายยุสุบต้องประสบปัญหามากมาย ตั้งแต่ วิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 2540 วิกฤตน้ำท่วมหาดใหญ่ ปี 2543 ทำให้สมาร์ทฟาร์เมอร์ผู้นี้แทบจะหมดหนทางลืมตาอ้าปาก

             อย่างไรก็ตามด้วยความเชื่อมั่นประกอบกับการศึกษาความรู้ด้านการเกษตร โดยมี “ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” หมู่ที่ 3 ของบ้านเกตุรี ที่น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารจัดการชุมชน พร้อมกับเน้นส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน ทำให้ค่อยๆต่อยอด ลองผิดลองถูก จนวันนี้สามารถพัฒนาจากคนขับรถวินมอร์เตอร์ไซค์รับจ้างขึ้นมาเป็นเกษตรอัจฉริยะที่มีหน้ามีตาในสังคมและเลี้ยงดูครอบครัวได้  เปิดใจ"สมาร์ท ฟาร์มเมอร์"บ้านเกตรี 

              คำถามสำคัญ คือ สมาร์ทฟาเมอร์แห่งบ้านเกตุรีผู้นี้มีวิธีการจัดการอย่างไรถึงสามารถสร้างรายได้ด้วยการพึ่งพาตนเองจนวันนี้แปลงเกษตรของเขาถูกยกให้เป็นการทำเกษตรแบบยั่งยืนพร้อมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรประจำชุมชน

               “การตลาดส่วนตัวแล้วออกตลาดเอง กับการพึ่งพาเครือข่ายตลาด คนที่อยู่เขตนราจะมาช่วยเอาสินค้าไปขาย เพราะการันตีเรื่องสินค้าปลอดสาร มีส่งโรงพยาบาล มีส่งตลาดประชารัฐ แต่ส่วนใหญ่จะเน้นการออกตลาดด้วยตัวเองเพราะจะทำให้การโดนกดขี่จากแม่ค้าจะน้อย”

             “พ่อค้าคนกลางคือตัวเลือกสุดท้ายถ้าสินค้าเราตายจริงๆ ตอนนี้เราก็มีพ่อค้าคนกลางด้วยไม่ได้มีแต่เครือข่ายและการออกตลาดเอง แต่ว่าไม่ได้ส่งเขาจนหมด”

              "เหมือนสินค้าของผมวันนี้กว่า 47 กิโลกรัม ถ้าผมไม่ได้ออกตลาดเอง ผมจะแบ่งให้แม่ค้า 4 ราย รายละ 10 กิโลกรัม ราคาอยู่ที่ 16 บาท แต่ถ้าไปมุ่งอยู่ที่คนเดียวเขาให้ราคา 12 บาม ก็ต้อง 12 บาท

             เมื่อถูกถามว่าราคาสินค้าปลอดสารกับไม่ปลอดสารต่างกันไหม ? 

            นายยุสุบ ระบุว่า ด้านราคาไม่ต่างกัน แต่จะต่างกันตรงการนำเสนอและกลุ่มองค์กรเครือข่ายที่ตัวเกษตรกรไปผูกไว้มากกว่า แต่ถ้าเข้าสู่ตลาดราคาเดียวกัน

           “ประชาชนผู้บริโภคไม่รู้ถึงอันตรายของยา ไม่รู้จักยา ไม่รู้จักสารเคมี ประชาชนรู้อย่างเดียวอันไหนงามอันนั้นเอา”

            “ด้านการบริหารจัดการน้ำ ขั้นแรกต้องรู้จักน้ำ เพราะถ้าเรารู้จักน้ำแสดงว่าเรารู้จักชลประทาน รู้จักฝาย รู้จักแหล่งน้ำ รวมไปถึงการรู้จักว่า 10 ปีที่แล้วเคยแล้งไหม น้ำขนาดขนาดไหน แล้วเรานำสิ่งนั้นมาบริหาร ปกติที่บริหารจัดการอยู่ เดือนมกราคมไปจนถึงเมษายน น้ำจะแล้ง แต่ผมมีบ่อปลา, มีแก้มลิง, มีคูระบายน้ำ และมีพื้นที่เก็บน้ำ เมื่อน้ำมา 1 อาทิตย์ ผมจะรู้ว่าน้ำมาวันที่เท่าไหร่แล้วก็กระจายไปยังคนในพื้นที่”

              สำหรับแปลงเกษตรของฟาร์มแห่งนี้ มีพืชทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ ข้าวโพดหวาน, ปาล์มน้ำมัน, ยางพารา, พืชล้มลุกแตงกวา พริกขี้หนู, อ้อย, มะขามเปรี้ยวและมะขามยักษ์ โดยข้าวโพด คือ พืชหลักที่สร้างรายได้ให้กับฟาร์มที่นี่เพราะข้าวโพดเป็นพืชที่บริโภคทุกวัน พืชรอง คือ ปาล์มน้ำมัน โดยพื่นที่ 1 ไร่ สามารถสร้างรายได้ 5,000 บาทสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน

             ด้วยแนวคิดเช่นนี้ที่ทำให้บนพื้นที่ 4 ไร่ สามารถสร้างรายได้สูงถึง 400,000 ต่อ/ปี จาการปลูกพืชหมุนเวียน หรือเฉลี่ยเป็นเดือนก็ตกเดือนละ 50,000 บาท จากต้นทุน 20,000 บาทต่อเดือน

 เปิดใจ"สมาร์ท ฟาร์มเมอร์"บ้านเกตรี 

           โดยที่นี่ยึดแนวคิดเกษตรกับการท่องเที่ยวต้องไปด้วยกัน ไม่มีป่า ไม่มีน้ำใส แต่เรามีวิถีชุมชน โดยฟาร์มเกษตรของนายยุสุบ ยังเป็นจุดท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีเส้นทางใกล้กับแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ในชุมชน อาทิ บ้านต้องชม ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนด้านพลังงานทดแทน, สะพานชมทุ่ง สะพานซึ่งเป็นแลนด์มาร์กให้นักท่องเที่ยวสัมผัสใกล้ชิดวิถีชีวิตชาวนาในทุ่งนาสีทองกว้างใหญ่  เปิดใจ"สมาร์ท ฟาร์มเมอร์"บ้านเกตรี 

            “บ้านเกตรี” หมู่ที่ 3 เป็นหมู่บ้านอยู่ในเขตการปกครองของตำบลเกตรี แต่เดิมหมู่ที่ 3 บ้านเกตรี อยู่ในตำบลบ้านควน ต่อมาได้แยกอยู่ตำบลเกตรี เมื่อประมาณปี 2527 ซึ่งประกอบด้วย 7 หมู่บ้าน 

            บ้านเกตรี หรือ “บูเก็ตตรี” ภาษามลายูแปลว่า “ลูกสาวเจ้าเมือง” ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตำบล เมื่อมีการตั้งถิ่นฐาน จึงเรียกชื่อหมู่บ้านว่า บ้านบูเก็ตตรี และต่อมาเพี้ยนมาเป็น “บ้านเกตรี” พื้นที่ทั้งหมด 6,672 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 2,434 ไร่ ส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่สาธารณะป่าสงวนแห่งชาติ และทุ่งเลี้ยงสัตว์ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำนาและเพาะปลูก ที่ราบเชิงเขาเหมาะแก่การทำสวนยางพารา และสวนผลไม้ อาทิ เงาะ ทุเรียน ส้ม ลองกอง และมีแหล่งน้ำที่สำคัญ เช่น หนองปลัก และฝายส่งน้ำดุสน ทำให้มีน้ำใช้ตลอดปี   เปิดใจ"สมาร์ท ฟาร์มเมอร์"บ้านเกตรี 

              คำขวัญประจำตำบลเกตรี พื้นดินเขียวขจี บูเก็ตตรีเขานางสมันตรัฐบุรินทร์ลือนาม ถิ่นอิสลาม ร้อยฤทัย

 

 

เรื่องโดย : พชร นาคจู

ภาพ : วันชัย ไกรศรขจิต

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ