ข่าว

"พิเชษฐ์" จี้รื้อกติกาคุมเข้มสหกรณ์ วางกรอบธุรกรรมออมทรัพย์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"พิเชษฐ์" จี้รื้อกติกาคุมเข้มสหกรณ์ ขีดเส้นตายปลายปีวางกรอบธุรกรรมสหกรณ์ออมทรัพย์

             วันที่ 9 ต.ค. นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีรักษาการอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ แถลงข่าวภายหลังประชุมผู้บริหารกรมผ่านวีดิโอคอนเฟอร์เรนซ์ ไปยังสหกรณ์จังหวัด 77 จังหวัดทั่วประเทศถึงนโยบายการดำเนินงานในปี 2561 ว่าจะเน้นใน 4 เรื่องหลักประกอบด้วย 1.การสร้างความเข้มแข็งให้กัสหกรณ์ 2.การสนองนโยบายรัฐบาลและกระทรวงเกษตรฯ โดยเฉพาะเกษตรแปลงใหญ่ที่สหกรณ์จะเข้าไปเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก 3.การพัฒนาสผลผลิตและเพิ่มมุลค่าผลิตภัณฑ์ให้กับสินค้าสหกรณ์และ4.การพัฒนาคนทั้งตัวเจ้าหน้าที่สหกรณ์และกรรมการสหกรณ์ให้ก้าวทันกับเทคโนโลยีที่ก้าวไปสู่ไทยแลนด์4.0

       สำหรับทิศทางการขับเคลื่อนงานพัฒนาสหกรณ์ทั่วประเทศนั้นคาดหวังว่าในปี2561 จะทำให้สำเร็จในเรื่องนำระบบการเงินมากำกับสหกรณ์ให้เกิดความเข้มแข็ง รวมทั้งจะร่วมกับกรมตรวจบัญชีสหกรณ์  ธนาคารแห่งประเทศ และกระทรวงการคลังเข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิดด้วย เพื่อให้เกิดความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ ไม่นำไปสู่การทุจริต โดยจะมีการเชื่อมโยงเอกชน ธนาคาร นำเทคโนโลยีสมัยใหม่ จ่ายซื้อสินค้าด้วยบาร์โคด อีกทั้งเร่งแก้ไขปัญหาหนี้สมาชิกรายย่อยภาคครัวเรือน ที่ขณะนี้ที่มีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นจนน่าเป็นห่วง

            ขณะที่ปัญหาการทุจริตนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำชับให้เร่งสะสางทั้งหมด จากการตรวจสอบพบว่าขณะนี้พบข้อบกพร่อง 1,228 แห่ง คาดว่าจะเกิดความเสียหาย 4.3 หมื่นล้าน ซึ่งรวมไปถึงกรณีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นด้วยที่เสียหายกว่า 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งที่ผ่านได้ลงโทษปลดคณะกรรมการ 14 สหกรณ์แบ่งเป็น ลงโทษทางวินัยฝ่ายจัดการ97 ราย ,ไล่ออกดำเนินอาญา 95 สหกรณ์ ,ทางแพ่งฟ้องเรียกทรัพย์คืน 37 สหกรณ์ ทั้งนี้ตั้งเป้าให้ทุกจังหวัด ดำเนินคดีทางกฎหมายภายในเดือนธ.ค.นี้ 

                  “สำหรับสหกรณ์ที่ทุจริต 52 สหกรณ์ มูลค่า 555ล้านบาท แบ่งเป็นเรื่องเงินกู้11 สหกรณ์,กรณียักยอก19 สหกรณ์ ,ปลอมใบถอนเงิน 6สหกรณ์ ,รวบรวมผลผลิตการเกษตร 3สหกรณ์ ,ทุจริตน้ำมัน 5 สหกรณ์, เงินยืมทดลอง 3 สหกรณ์ ซึ่งได้สั่งให้สหกรณ์จังหวัดไปหาคนทุจริตให้ได้”นายพิเชษฐ์กล่าว

            ในส่วนของการดำเนินการธุรกรรมของสหกรณ์ทั้งระบบมีสินเชื่อ ทั้งหมด 1.2ล้านๆบาท เงินฝาก 7 แสนกว่าล้าน เงินลงทุนในตลาดหุ้น ทุน พันธบัตร 8 แสนล้านบาท รวมมูลค่า 2.8 ล้านๆบาท โดยวันที่ 18 ต.ค.นี้ เตรียมหารือเรียกผู้แทนจากสหกรณ์ขนาดใหญ่มีสินทรัพย์ เกิน 5 พันล้านบาท มาหารือรับฟังความคิดเห็นรอบสุดท้ายก่อนจะประกาศใช้เกณฑ์กำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตยูเนียนเพิ่มเติมอีก5ข้อ 

            นายพิเชษฐ์ ยังกล่าวอีกว่า ที่ผ่านมามีข้อโต้แย้งจากสมาชิกสหกรณ์จำนวนมาก เนื่องจากกังวลว่าหากใช้เกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยมากำกับสหกรณ์ อาจส่งผลกระทบทั้งระบบ ทำให้กรมต้องมาทำหน้าที่นำหลักเกณฑ์ไปปรับปรุงเปิดรับฟังใหม่ เช่น การกำหนดอัตราส่วนหนี้สินต่อหุ้นบวกทุนสำรองไม่เกิน 2 เท่า จากเดิมไม่เกิน 1.5 เท่า กำหนดให้สมาชิกสามารถกู้วนซ้ำ ได้หลังจากผ่านมาแล้ว 1 ปี กำหนดสัดส่วนการนำเงินไปลงทุนไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ของทุนตนเอง กำหนดทุนสำรองของสหกรณ์ไม่ต่ำกว่า 3%จากเดิมกำหนด สูงถึง6% โดยเป็นเงินสด1 %เป็นพันธบัตร 2% ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ไม่จำเป็นต้องอยู่ในมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์(กลต.)จากเดิมต้องอยู่ในมาตรฐาน ก.ล.ต. เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงเกินไป 

               อย่างไรก็ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวยังไม่มีกำหนดให้สหกรณ์เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครดิตบูโร คงต้องอาศัยความสมัครใจรวมทั้งต้องรอพ.ร.บ.สหกรณ์ ฉบับใหม่ ประกาศใช้ โดยกฎหมายฉบับนี้จะมาแก้ไขในเรื่องความเสี่ยง4 ด้าน ที่นำพาไปสู่สหกรณ์ล้มทำให้สหกรณ์เกิดความมั่นคง โดยจะเพิ่มโทษผู้บริหารสหกรณ์ทำผิด ทั้งโทษทาง แพ่ง –อาญาสูงสุดไม่เกิน ปรับ 1 ล้านบาทต่อคนจนกว่าแก้ไข หรือจำคุกไม่เกิน5 ปีกรณีขัดคำสั่งนายทะเบียนทำให้สหกรณ์เสียหายเป็นต้น

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ