Lifestyle

อยู่กับป่า (ตอนจบ)

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อยู่กับป่า (ตอนจบ) คอลัมน์...  ตำข่าวสารกรอกหม้อ  โดย...   จักรกฤษณ์ สิริริน

 

 

 

          บทสรุปจากหนังสือ “อยู่กับป่า” การจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำอย่างยั่งยืนตามศาสตร์พระราชา ภูมิปัญญา ภูมิสังคม: กรณีศึกษา “ลุ่มน้ำแม่กวง” อ.ดอยสะเก็ด อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ ผลงานของ คณะกรรมการ Forum 21st ภาคเหนือ มีดังนี้ครับ

 

 

          บทเรียนในการจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำอย่างยั่งยืนตามศาสตร์พระราชา ภูมิปัญญา ภูมิสังคม พื้นที่ลุ่มน้ำแม่กวง อ.ดอยสะเก็ด อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ นั้น


          “องค์ความรู้” เป็นปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความสำเร็จ และยังพบว่า การประสานองค์ความรู้ใหม่กับองค์ความรู้ชุมชน ภูมิปัญญา และวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ก็เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้เป็นตัวเร่งให้การจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำประสบผล


          สถานภาพในปัจจุบัน ความสำเร็จซึ่งเกิดจากการจัดการพื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชน มีอยู่กระจัดกระจาย ชุมชนเหล่านี้ สามารถเป็นแบบอย่างในการปลูกสร้างจิตสำนึก เป็นแบบอย่างแนวทางเพื่อการเรียนรู้ในการนำไปขยายผล


          แต่ในการแก้ไขปัญหาในเชิงพื้นที่ลุ่มน้ำที่เป็นระบบนิเวศเชื่อมโยงที่เป็นอยู่ในปัจจุบันยังไม่สามารถนำองค์ความรู้ ศาสตร์พระราชา ต้นแบบองค์ความรู้ในระดับชุมชนไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเป็นระบบ


          โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี อย่างรวดเร็ว ประเทศไทยก็มีนโยบายในการพัฒนาประเทศ เป็นไทยแลนด์ 4.0


          ดังนั้น ความก้าวหน้าในการพัฒนาเพื่อไม่ให้เกิดภาวะซ้ำเติมผลกระทบต่อสภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สังคมชุมชนจำเป็นต้องมีองค์ความรู้เป็นภูมิคุ้มกัน


          จึงสมควรพิจารณาให้มีกระบวนการจัดการความรู้ โดยมีโครงสร้างในการทำหน้าที่ให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อการจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำได้อย่างเป็นระบบ




          ทำหน้าที่ขับเคลื่อนขยายผลการจัดการความรู้ ศาสตร์พระราชา ภูมิปัญญา ภูมิสังคม ไปสู่กลุ่มเป้าหมายในทุกระดับทั้งในสถาบันการศึกษา หน่วยงาน องค์กร เอกชน เป็นองค์กรในการเร่งรัดปลูกฝังจริยธรรมสำนึกสิ่งแวดล้อม


          แนวคิดในเชิงโครงสร้าง คือ การจัดตั้ง “สถาบันทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตเพื่ออนาคต”


          การจัดตั้ง “สถาบันทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตเพื่ออนาคต” นั้น คือการดำเนินการระดมความคิดเพื่อการออกแบบสถาบัน โครงสร้าง บทบาทหน้าที่ กระบวนการขับเคลื่อนองค์ความรู้เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนา โดยกลไกสถาบันการศึกษาในภูมิภาคเป็นแกนกลางในการดำเนินการ


          โครงสร้างประกอบด้วย นักวิชาการ ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นสภาความรู้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ


          บทบาทหน้าที่คณะทำงานประสานความร่วมมือ คณะวิทยากรถ่ายทอด คณะทำหน้าที่เป็นนักจัดการกระบวนการพี่เลี้ยงชุมชน องค์กร หน่วยงานในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ


          “การจัดการความรู้” คือปัจจัย และต้นแบบแห่งความสำเร็จ จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ ชุมชนที่มีความโดดเด่นในแต่ละด้าน เป็นแหล่งเรียนรู้ และพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมในการเรียนรู้สอดคล้องกับสภาพภูมิสังคม


          จัดเวทีให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สัมมนาพัฒนาองค์ความรู้ ตลอดจนการสนับสนุนการวิจัยการจัดการชุมชนลุ่มน้ำอย่างยั่งยืน


          แนวทางในการดำเนินการ โดยการสนับสนุนการดำเนินงานจากภาครัฐ เอกชน และภาคส่วนอื่นๆ ประสานความร่วมมือในการขับเคลื่อนองค์ความรู้ นั่นเองครับผม

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ