Lifestyle

อยู่กับป่า (ตอนที่ 2)

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อยู่กับป่า (ตอนที่ 2) คอลัมน์...  ตำข่าวสารกรอกหม้อ  โดย...  จักรกฤษณ์ สิริริน

 

 

 

          บทสรุปจากหนังสือ “อยู่กับป่า” การจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำอย่างยั่งยืนตามศาสตร์พระราชา ภูมิปัญญา ภูมิสังคม : กรณีศึกษา “ลุ่มน้ำแม่กวง” อำเภอดอยสะเก็ด อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ ผลงานของคณะกรรมการ Forum 21st ภาคเหนือ มีดังนี้ครับ

 

 

          สภาพพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กวงมีอาณาบริเวณครอบคลุมพื้นที่ทางการปกครอง 55 กลุ่มบ้าน 6 ตำบล (เขตการปกครององค์การบริหารส่วนตำบล 2 ตำบล เทศบาลตำบล 4 เทศบาล) พื้นที่ 2 อำเภอ มีหน่วยงานรัฐปฏิบัติการอยู่ในพื้นที่มากกว่า 10 หน่วยงาน


          กระบวนการจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำอย่างยั่งยืนตามศาสตร์พระราชา ภูมิปัญญา ภูมิสังคม กรณีพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กวง อ.ดอยสะเก็ด อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ จากเวทีสังเคราะห์ข้อมูลเครือข่ายลุ่มน้ำแม่กวง และคณะทำงานศึกษาข้อมูลพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กวง พบว่าการจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กวงสามารถเป็นแบบอย่างในการเรียนรู้เพื่อเป็นบทเรียนประยุกต์ใช้ในพื้นที่ลุ่มน้ำเสื่อมโทรมอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในสถานการณ์วิกฤติการณ์ความเสื่อมโทรมพื้นที่ลุ่มน้ำภาคเหนือที่ปรากฏในปัจจุบัน


          อย่างไรก็ดีกระบวนการจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กวงในปัจจุบันควรมีการพิจารณาศึกษา พัฒนาปรับปรุงกระบวนการในการจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ สภาวะการแปรปรวนทางภูมิอากาศ สภาวะโลกร้อน ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและมลพิษ โดย การเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่ายในการจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำ

 

 

          เนื่องจากในกระบวนการทำงานยังมีข้อจำกัดบทบาทหน้าที่ขอบเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ แผนงาน งบประมาณดำเนินการ ซึ่งต่างหน่วยงานต่างมีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ตัวชี้วัดผลงานแตกต่างกัน การปฏิบัติการข้ามเขตมีเงื่อนไข กฎระเบียบ การใช้งบประมาณ และอื่นๆ ไม่สามารถหลอมรวมในเชิงการบูรณาการการจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำได้อย่างแท้จริง




          เพื่อให้บรรลุแนวคิดการบูรณาการในการจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น บนพื้นฐานแนวคิดขอบเขตพื้นที่ลุ่มน้ำเป็นระบบภูมินิเวศ (Landscape Ecology) เดียวกัน องค์ประกอบทุกอย่างในระบบมีความสัมพันธ์เชื่อโยงต่อกัน ทั้งโครงสร้าง (Structure) และการทำหน้าที่ (Function) การจัดการองค์ประกอบในระบบนิเวศ จึงมีลักษณะเป็นองค์รวม (Holistic) มิได้แยกเขตการจัดการตามอำนาจ บทบาทหน้าที่โครงสร้างขององค์กร


          การจัดการบนฐานความเป็นองค์รวม ควรมีวัตถุประสงค์ มีเป้าหมาย มีแผนการดำเนินการที่เป็นอันหนึ่งอันเดียว สามารถบูรณาการแผนงาน งบประมาณองค์กรผู้มีส่วนรับผิดชอบให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ จะเป็นการลดทอนความทับซ้อน ลดขั้นตอนการปฏิบัติแบบต่างคนต่างทำ โครงการแบบเดียวกันสามารถดำเนินการร่วมกันได้โดยไม่สร้างความยุ่งยากให้ชุมชนในพื้นที่เดียวกัน


          จึงเห็นว่าเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สมควรพิจารณาโครงสร้างเครือข่ายการจัดการพื้นที่ เครื่องมือและกลไกเชิงบูรณาการในการดำเนินงาน เช่น โครงสร้างบูรณาการการจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำที่ประกอบด้วยองค์ประกอบภาคประชาชน ชุมชน โดยเฉพาะภาครัฐ ผู้มีบทบาท อำนาจหน้าที่ หน่วยงาน และองค์กรต่างๆ ในพื้นที่ต่อไป (ติดตามตอนจบได้ในสัปดาห์หน้าครับ)

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ