Lifestyle

หนังสือใหม่ "สมพงษ์ สุวรรณจิตกุล" (ตอนที่ 2)

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คอลัมน์...  ตำข่าวสารกรอกหม้อ  โดย...  จักรกฤษณ์ สิริริน

 

 


          เอ่ยชื่อ “สมพงษ์ สุวรรณจิตกุล” แน่นอนว่ามีแฟนหนังสือของเขาจำนวนหนึ่งซึ่งมากพอที่จะทำให้เขาผลิตผลงานได้อย่างต่อเนื่องในรอบ 20 ปีมานี้


          นี่คือหนังสือเล่มใหม่ของเขา ที่ “ตำข่าวสารกรอกหม้อ” ขอแนะนำครับ

 


          บริษัทเล็กๆ จากไต้หวัน กลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกได้อย่างไร ?


          บริษัท ฟอกซ์คอนน์ฯ (Foxconn) ของนายเทอร์รี่ กัว เป็นบริษัทในเครือของบริษัทหอง ไห่ฟรีซีซันอินดัสทรี จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1974 โดยทุนเพียง 7,500 ดอลลาร์ โดยเงินดังกล่าว เขาได้กู้ยืมมาจากมารดาของเขา ตอนนั้นเขามีอายุเพียง 23 ปี


          “เหมือนอย่างการทำธุรกิจทั่วไป ตอนแรกก็มักล้มลุกคลุกคลาน เงินทุนหมุนเวียนก็มักอาศัยการแลกเช็คระหว่างภาคธุรกิจด้วยกัน บางคนทำเช็คเด้ง ก็ต้องติดคุก” นายเทอร์รี กัว กล่าว เริ่มแรกนั้น บริษัทที่เพิ่งก่อตั้งของเขา เริ่มดำเนินกิจการทางธุรกิจ โดยเป็นผู้ผลิตลูกบิดพลาสติกโทรทัศน์ขาวดำ ให้แก่บริษัทในสหรัฐอเมริกา และในประเทศยุโรป โดยตอนนั้นบริษัทของเขามีพนักงานเพียง 11 คน


          แต่จุดหักเหที่ทำให้บริษัทของเทอร์รี กัว ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันดีคือบริษัทฟอกซ์คอนน์นั้น เริ่มขึ้นในปี 1980 หกปีหลังจากที่เขาได้ก่อตั้งบริษัท โดยในปีดังกล่าว บริษัท Atari ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเกมที่มีชื่อเสียงมากในสหรัฐอเมริกาในช่วงปี 1970 ได้ว่าจ้างให้บริษัทเขาผลิตตัว console joystick (หมายถึง อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่มีสายเสียบต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องปลายทาง (terminal) มีคันโยก ทำหน้าที่เหมือนเม้าส์ หมุนได้เป็นวงรอบ ใช้ควบคุมการเคลื่อนตัวไปในทิศทางต่างๆ ของตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) ไปสู่จุดต่างๆ บนจอภาพ นำมาใช้กับการเล่นเกมเท่านั้น)


          ด้วยจุดหักเหนี้เอง ที่ทำให้นายเทอร์รี กัว ซึ่งตอนนั้นอายุ 30 ปี (เขาเกิดปี ค.ศ. 1950) ต้องเดินทางไปสหรัฐอเมริกา เพื่อไปของานจากบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ และบริษัทคอมพิวเตอร์ ระดับยักษ์ใหญ่ พบผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ในอเมริกา รวมถึงบริษัทไอบีเอ็ม ให้ใช้บริษัทของเขาเป็นบริษัทประกอบชิ้นส่วนให้แก่บริษัทเหล่านั้น


          โดยช่วงนั้น เขาใช้เวลาในการเก็บเกี่ยวประสบการณ์และช่องทางการตลาดในอเมริกาเป็นเวลา 11 เดือน ที่อเมริกา เขาพักโรงแรมราคาถูก (motel) โดยจะเลือกโรงแรมที่อยู่ใกล้โรงงาน อย่างเช่นเขาพักโรงแรมที่อยู่ใกล้โรงงานของบริษัทไอบีเอ็ม โดยเขาแวะไปโรงงานของบริษัทไอบีเอ็ม ให้เลือกบริษัทเขาผลิตชิ้นส่วนให้แก่บริษัทไอบีเอ็ม โดยเขาไปโรงงานของบริษัทไอบีเอ็มทุกวันเป็นเวลาสามวัน ในที่สุดบริษัทไอบีเอ็มได้ว่าจ้างให้บริษัทเขา ผลิตตัว connector ให้กับไอบีเอ็มในการใช้ประมวลข้อมูลและอัพเดทข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์นั่นเองครับ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ