ข่าว

เทรนด์สื่อ 'ออนไลน์' โซเชียลปีนี้ มุ่งเน้นปรับตัวผลักดันข่าวให้มีคุณภาพ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ปี 66 แนะ สื่อ "ออนไลน์"ปรับตัวมากขึ้น ใช้คนรุ่นใหม่ขับเคลื่อนข่าว ถอดบทเรียนปี 65 สื่อโซเชียลออนไลน์เน้นข่าวปลุกเร้าอารมณ์มากเกินไป ยอดไลค์ ยอดแชร์ ใช้เนื้อหาข่าววนลูป กองทุนพัฒนาสื่อ ผลักดันให้พัฒนาสื่อออนไลน์อย่างมีคุณภาพ

จากกระแสและประเด็นต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมไทยที่เร่งให้เห็นถึงความสนใจในการสื่อสารในโลกออนไลน์มากยิ่งขึ้นทำให้กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยสังคมและสร้างสรรค ร่วมกับ Wisesight ได้จัดเสวนา "การสื่อสารออนไลน์ของสังคมไทยในปี 2565" และคาดการณ์ทิศทางการสื่อสารออนไลน์ปี 2566 เพื่อพูดถึงประเด็นการรับข่าวสารในโลก "ออนไลน์" ที่เกิดขึ้นและประเด็นที่ผู้คนสนใจใน 10 อันดับที่ผ่านมาจากปี 2565 ดังนี้

 

  1. คดีแตงโม นิดา
  2. เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ปี 2565
  3. การแข่งขันฟุตบอลโลก 2022
  4. สงครามรัสเซีย-ยูเครน
  5. กราดยิงที่หนองบัวลำภู
  6. Blackpink ประกาศคัมแบ็กอย่างเป็นทางการ
  7. One Man and The River หนึ่งคนว่าย หลายคนให้
  8. การแข่งขันซีเกมส์ 2022 
  9. Miss Grand International
  10. วันลอยกระทง

 

 

 

10 ประเด็นข่าวที่คนสนมากที่สุดในปี 65

10 อันดับ ประเด็นที่มีคนสนใจเยอะที่สุด

 

 

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า ในโลกออนไลน์ เราทุกคนสามารถเป็นสื่อ "ออนไลน์" ได้ผู้คนไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นผู้รับสารอย่างเดียวแต่ยังสมารถเป็นผู้สื่อสารส่งสารได้ ผู้คนทั่วๆไปก็สามารถเป็นสื่อได้ และบางคนก็สามารถตั้งสื่อ "ออนไลน์" ในรูปแบบของตนเองได้

 

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

 

โดยกองทุนฯมีการเปิดอกพูดคุยกับสื่อหลักว่าปัญหาทำไม่สื่อถึงนำเสนอข่าวที่ปลุกเร้าอารมณ์ของผู้คนมากกว่าเนื้อหาข่าว ความถูกต้อง และรายละเอียดข่าวให้ลงลึก ปรากฏว่าต้องการ ให้ผู้คนที่อ่านข่าวนั้นให้เกิดแนวโน้มคล้อยตามที่นำเสนอเพื่อที่จะได้ยอดเข้าอ่านเยอะๆ เพื่อเรตติ้งและยอดไลค์ 

 

 

โดยผู้คนส่วนใหญ่สนใจข่าวที่เกี่ยวกับอาญากรรมและเหตุการณ์ทำให้สื่อหลักชอบที่จะขยี้ข่าวเล่นประเด็นซ้ำๆหรือวนลูปเนื้อหาหลายครั้ง ทั้งๆที่ตัวเนื้อหานั้นมีนิดเดียวแล้วสามารถจบได้ และดึงดราม่าอารมณ์จนเกินจริง ทางหน่วยงานกองทุนฯจึงขอฝากเรื่องนี้ให้ทางสื่อกระแสหลักให้นำเสนอข่าวให้ซื่อตรง มองมุมบวกที่การนำเสนอข่าวที่ต้องให้ประโยชน์กับประชาชนมากกว่าที่จะมองแต่กระแสเรตติ้งและยอดไลค์เพียงอย่างเดียว

 

นส.ลลิตา เทียรศรี ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์ข้อมูล บริษัท Wiseslght (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในยุคปัจจุบันการใช้สื่อ โซเชียล มีเดียนั้นเป็นกิจวัตรประจำวันของผู้คนสมัยนี้ จึงมีการเห็นข้อมูลข่าวสารอย่างกว้างขวาง การแชร์ข่าวในแต่ละครั้งเราควรมองถึงข้อเท็จจริงข่าวนั้นว่าเป็นความจริงหรือไม่ ดูแหล่งข่าวว่าน่าเชื่อถือไหมก่อนที่จะแชร์ข่าวเพราะการแชร์ข่าวในแต่ละครั้งนั้นส่งผลกระทบต่อหลายๆคนที่จะได้รับข่าาวสารที่เราแชร์

 

นส.ลลิตา เทียรศรี ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์ข้อมูล บริษัท Wiseslght (ประเทศไทย) จำกัด

 

ถ้าเราแชร์ข่าวสารที่ไม่ถูกต้องจะทำให้คนอื่นได้รับข้อมูลที่เป็นเท็จไปด้วย และในแต่ละแพลตฟอร์มก็มีลักษณะนำเสนอข่าวได้แตกต่างกันไป อาทิ facebook สามารถนำเสนอข่าวได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นคลิปหรือเป็นภาพและข้อมูลต่างๆที่สามารถถกเถียงกันได้จึงเป็นแพลตฟอร์มยอดนิยมที่คนชอบเสพข่าวที่นี่ IG เหมาะโชว์ไลฟ์สไตล์ที่นำเสนอรูปภาพ ทวิตเตอร์ เหมาะที่จะถกเถียงประเด็นต่างๆได้เพราะจะมีคีย์เวิร์ดสำคัญที่พูดถึงประเด็นที่คนกำลังสนใจ Youtube มีข้อจำกัดเรื่องลงรูปภาพส่วนใหญ่เป็นวิดีโอทำให้เหมาะที่จะสรุปประเด็นข่าวแล้วลงวิดีโอให้ผู้คนได้ฟัง

 

 

จะเห็นได้ว่าคนส่วนใหญ่ชอบเสพสื่อโซเชียลมีเดียผ่านแพลตฟอมที่กล่าวมาข้างต้น โดยคนส่วนใหญ่ที่เข้ามาใช้ โซลเชียล มีเดียไม่ได้ใช้เพื่อเสพข่าวอย่างเดียวแต่ใช้เพื่อปกป้องสิทธิ์ของตนเองในเรื่องต่างๆที่กระทบต่อตัวเองมากขึ้น

 

เทรนด์สื่อ 'ออนไลน์' โซเชียลปีนี้ มุ่งเน้นปรับตัวผลักดันข่าวให้มีคุณภาพ

 

นายเชน สุขสวัสดิ์ Business Head-Twitter Entravision MediaDonuts กล่าวว่า แพลตฟอร์มถ้าเทียบกับเมื่อ 10 ปีก่อน มาถึงสมัยนี้ ค่อนข้างที่จะเข้าถึงได้ง่ายกว่าถ้าเป็นเมื่อก่อนเรารับข่าวสารได้จากทางทีวี วิทยุและหนังสื่อพิมพ์ พอมาถึงยุคนี้เรามีโซเชียลเข้าถึงข่าวสารได้ไวขึ้น ร่วมถึงสมารถเข้าถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ได้อย่างหลากหลาย จึงมองว่าอนาคตข้างว่าสื่อจะสามารถพัฒนาไปได้อีกขั้นจนสามารถนำเสนอข่าวสารได้ไวและรวดเร็วขึ้นกว่าเดิมอย่างแน่นอน

 

นายกล้า ตั้งสุวรรณ ประธานบริษัท Wisesight (ประเทศไทย) จำกัด

 

นายกล้า ตั้งสุวรรณ ประธานบริษัท Wisesight (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า คนที่อยู่ในสื่อสังคม "ออนไลน์" ในปัจจุบันหรือสื่อออนไลน์ใหม่ๆนั้น จะได้รับความสนใจจากสังคมมาก เพราะว่าสื่อสังคมเหล่านั้นมี Mindset ความคิดที่พัฒนาบวกกับความคิดใหม่ๆอยู่เสมอ ทำให้โซลเชียลหรือแพลตฟอร์มเหล่านั้นมีความน่าสนใจและทันยุคสมัยมากทำให้ผู้คนสนใจติดตามสื่อเหล่านั้น โดยสื่อเหล่านั้นจะมีการใช้ภาษา การเขียน  การเล่าเรื่อง หรือ content มีความจำเพาะในแบบของคนรุ่นใหม่ๆทำให้เกิดความแตกต่างคนที่ Generation เก่าๆเลย 

 

นส.ชลนภา อนุกูล นักวิจัยสถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

นส.ชลนภา อนุกูล นักวิจัยสถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของสื่อหลักๆ คือ สื่อ ออนไลน์ ที่ยุคสมัยนี้ถือเป็นสื่อกระแสหลักที่ผู้คนให้ความสนใจที่เข้ามาอ่าน ทำให้สะท้อนกลับไปถึงปัญหาที่เกิดขึ้นว่า เนื้อหาของข่าวที่ไม่ลงลึกและจะมาในรูปแบบเชิงการค้ามากขึ้น เพราะถูกขับเคลื่อนไปด้วยเรตติ้งยอดไลค์ ทำให้ข่าวส่วนใหญ่ปลุกเร้าอารมณ์เพื่อทำให้เกิดความน่าสนใจ และสื่อเป็นพื้นที่ให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารหรือชักจูงให้โจมตีอีกฝ่ายได้ สื่อจึงควรมีความเป็นกลางในการทำหน้าส่งสารเพื่อที่จะได้เป็นสื่อที่ดี


อย่างไรก็ตาม การจะเชื่อข่าวในแต่ละครั้งนั้นต้องพิจารณาจากแหล่งข่าวให้ดีๆก่อนทำการแชร์ต่างๆเพราะการแชร์แต่ละครั้งจะสร้าง impact ให้กระผู้คนได้มากและความเห็นต่างควรเคราพซึ่งกันและกันในโลกออนไลน์

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ