ข่าว

ถึงเวลารื้อกฎหมาย 'อาวุธปืน' 76 ปีที่ล้าสมัย ก่อเหตุกราดยิง สังหาร ฆาตกรรม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ถึงเวลารื้อกฎหมาย "อาวุธปืน" 76 ปีที่ไม่มีใครแตะล้าสมัยช่องวางคนพกปืนง่าย ก่อเหตุกราดยิง สังหาร ฆาตกรรมไม่เว้นวัน

เกิดขึ้นซ้ำ ๆ  กับอาการคลุ้มคลั่ง และใช้ "อาวุธปืน"  กราดยิงคนที่ไม่รู้เรื่องราว จนนำมาซึ่งความสูญเสีย และสร้างความหวาดกลัวให้แก่กับคนไทยอย่างมาก เพราะช่วงนี้ดูเหมือนว่าเหตุการณ์กราดยิง จากอาการคลุ้มคลั่งจะเกิดขึ้นถี่ๆ ซ้ำๆ และทุกครั้งมักจะพบว่า อาวุธที่นำมาใช้ในการก่อเหตุคือ "อาวุธปืน" 

 

 

เกิดการตั้งคำถามจากสังคมแบบไม่ได้พักว่าเพราะอะไรกันแน่ทำให้คนทั่วไปสามารถพกพา "อาวุธปืน" และนำมาก่อเหตุอาชญากรรมได้ง่ายดายขนาดนี้ ที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเคยมีความจริงใจที่แก้ไขปัญหา หรือแก้ไขกฎหมายอาวุธปืนให้ทันต่อสถานการณ์บ้างหรือไม่ เพราะหากพิจารณาตามความจริงแล้ว กฎหมายอาวุธปืน ในประเทศไทยมีความล้าหลังอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของการควบคุม และตรวจสอบผู้ถือครอง และการตกทอดมรดกปืนไปยังลูกหลาน 

เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ดร.เดชรัต สุขกำเนิด ผู้อำนวยการ Think Forward Center พรรคก้าวไกล ให้ สัมภาษณ์ กับ คมชัดลึก ไว้อย่างน่าสนใจว่า ที่ผ่านมาไม่เคยมีการเสนอแก้ไข พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ เข้าไปสู่การพิจารณาของสภาฯแล้วแม้แต่ครั้งเดียว ซึ่งอาจจะสะท้อนได้ว่าประเทศไทยไม่ได้เกิดเหตุอาชญากรรม และเหตุการณ์กราดยิงบ่อย ๆ เหมือนกันต่างประเทศ แต่หากย้อนกลับไปเมื่อช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เรากลับพบว่าไทยเกิดเหตุการณ์กราดยิงซ้ำๆ จนประชาชนเริ่มสนใจ และหันมาตั้งคำถามกับรัฐบาลว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องปฏิรูป และรื้อ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ใหม่สักที เพื่อที่อย่างน้อยก็ทำให้คนนำปืนออกมาใช้ได้ยากขึ้น  

 

ดร.เดชรัต สุขกำเนิด

 

 

ดร.เดชรัต กล่าวต่อว่า เพื่อให้อัตราการก่อเหตุอาชญากรรมจากปืน ทั้งกรณีกราดยิง การฆาตกรรมผู้อื่นด้วย "อาวุธปืน" ลดลง พรรคก้าวไกลได้มีการร่างกฎหมาย "อาวุธปืน" และเตรียมจะเสนอเข้าสภาฯในรัฐบาลหน้า โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมายที่ พรรคก้าวไกล ได้จัดทำรายละเอียดไว้นั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการขอใบอนุญาต การตรวจสอบสุขภาพจิต ความสามารถในการใช้  "อาวุธปืน" ที่จะต้องมีการต่ออายุทุกปี ไม่ใช่การให้ใบอนุญาตตลอดชีพ  

 

 

นอกจากนี้ยังรวมไปถึงกรณีที่ตกทอดเป็นมรดก ซึ่งคนที่ได้รับมรดกจะต้องเข้ามาทดสอบ เพื่อให้ใบอนุญาตก่อนไม่ใช่การได้รับใบอนุญาตไปโดยปริยาย เหมือนเช่นทุกวันนี้  รวมไปถึงการบังคับใช้กฎหมายว่าผู้ครอบครอง "อาวุธปืน" จะต้องมีการรายงานสถานะปืนให้ทราบอย่างต่อเนื่อง ว่าตอนนี้ขายไปให้ใคร ใครเป็นผู้ครอบครอง  

 

 

ส่วนการครอบครองปืนของตำรวจนั้น มีการเสนอว่าหากพ้นอายุราชการตำรวจจะต้องส่งปืนคืนหลวงทุกกรณี หรือกาดใช้เงินซื้อมาเอง หน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องซื้อปืนคืนจากตำรวจผู้นั้น เพื่อลดอัตราการครอบครองปืนที่อาจจะมากจนเกินไป 

 

 

ทั้งนี้การแก้กฎหมาย "อาวุธปืน" ที่กล่าวมานั้นเป็นการแก้ไขกฎหมายเพื่อควบคุมปืนที่ซื้อ-ขายกันแบบถูกกฎหมายเท่านั้น  แต่ ดร.เดชรัต ยังได้ระบุเพิ่มเติมว่า อาวุธปืนในประเทศไทยยังมีอาวุธปืนที่ผิดกฎหมายอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถควบคุมและติดตามได้ ดังนั้นสิ่งที่รัฐควรทำคือ การออ กฎหมายนิรโทษกรรมปืน เหมือนกับต่างประเทศไทยเคยทำและประสบความสำเร็จมากแล้ว เพื่อให้คนที่ครอบครองปืนแบบผิดกฎหมายเอาปืยมาส่งมอบให้เจ้าหน้าที่ 

 

 

"คาดหวังว่าความพยายามในการแก้ไขกฎหมาย "อาวุธปืน" จะช่วยลดอัตราการเปิดเหตุกราดยิงซ้ำๆ หรือเหตุอาชญากรรมจากปืนลงได้ และในช่วงเวลาที่ประชาชนเริ่มตั้งคำถามและหันมาสนใจกับเหตุการณ์ดังกล่าว จึงถือว่าการแก้ไข กฎหมายอาวุธปืน ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลชุดต่อไปจะต้องให้ความสำคัญและเริ่มแก้ไขอย่างยิ่งยัง โดยผมคาดการณ์หากเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันนี้อาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 3 ปี แต่ก็ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่คุ้มค่าหากเราจะลดการสูญเสีย และเสียชีวิตของผู้บริสุทธิจากอาวุธปืนลงได้" ดร.เดชรัต กล่าวสรุป

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ