กรมอุตุนิยมวิทยา เตือน 'อุณหภูมิ' อาจสูงเกิน 1.5 เท่า หวั่นเป็นภัยต่อมนุษย์
กรมอุตุนิยมวิทยา เตือน 'อุณหภูมิ' ที่สูงขึ้น 1.5 เท่า สะเทือนสภาพอากาศทั้งร้อน หนาว ฝนตก น้ำท่วม แนะประชาชนเปลี่ยนพฤติกรรมที่ส่งผลให้โลกร้อนก่อนเจอกับหายนะทางสภาพแวดล้อม
23 มี.ค. 66 ซึ่งถือเป็นวันอุตุนิยมวิทยาโลก 'อนาคตของสภาพอากาศ ภูมิอากาศและน้ำ ที่ส่งผ่านรุ่นสู่รุ่น' โดย ดร.วิจารย์ สิมายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ดร.สมชาย ใบม่วง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านอุตุนิยมวิทยา และรศ.ดร.ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการสถาบันส่ง้สริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ของภาครัฐ เตือนถึงประเด็นในอีก 10 ข้างหน้าหวั่นโลกเจอผลกระทบหนักจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยน
ดร.วิจารย์ กล่าวว่า การณ์เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศปัญหาของโลกในอีก 10 ปีข้างหน้าจะมีผลกระทบถึง 3 ด้าน คือ 1.ความล้มเหลวในการจัดการสภาพ ภูมิอากาศ 2.การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศสุดขั้ว 3.ความล้มเหลวและผลกระทบจากความหลากหลายชีวภาพ ซึ่งขณะนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา มีการวางเป้าหมายระยะยาวในการแก้ไขปัญหา ตามที่ประเทศไทยได้ไปประกาศในเวที COP27 ว่าไทย จะเป็นกลางทางคาร์บอนไดออกไซด์ ในปี 2050 นอกจากนี้ยังมีการประกาศเป้าหมายระยะยาวว่าประเทศไทย จะทำให้ก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ (Net zero) ในปี 2065
อย่างไรก็ตามปัจจุบัน "อุณหภูมิ" โลกสูงขึ้นประมาณ 1.5 เท่า ส่งผลให้ทั่วโลกพยายามที่จะควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงไปถึง 2 องศา เพราะหากอุณหภูมิโลกสูงถึง 2 องศาเมื่อไหร่ จะสร้างผลกระทบให้แก่โลกอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหา น้ำทะเลสูงขึ้น พื้นที่แห้งแล้ง และปัญหาน้ำท่วมที่มีความสูงขึ้นเพิ่มมากขึ้น แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งหากอุณหภูมิพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ จะส่งผลทำให้ประชาชนอยู่ได้ยาก จะทำให้เกิดภัยแล้ง อากาศเป็นพิษ น้ำท่วมสูง อุณหภูมิสูงขึ้นและอุทกภัยต่างๆ ตามมา
สำหรับสภาพแวดล้อม และสภาพอากาศในปีที่ผ่านมา พบว่าปัญหาภัยแล้งยังไม่เกิดขึ้นมากเพราะมีฝนตกบ้าง แต่แตกต่างจากปีนี้ที่หลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้งมากขึ้น โดยสาเหตุหลักเกิดจากการเผาในที่โล่ง ไม่ว่าจะเป็นการเผาไร่อ้อย ไร่ข้าวโพด ซึ่งพฤติกรรมการเผาในที่โล่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นและเป็นมลพิษทางอากาศ ดังนั้น กรมอุตุนิยมวิทยา จึงอยากจะเตือนประชาชนให้พร้อมรับสู่ความเปลี่ยนทางภูมิอากาศที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ทั้งนี้ปัญหาโลกร้อน หรือ ปัจจัยที่ทำให้ "อุณหภูมิ" ของโลกสูงขึ้นมีปัจจัยมาจากหลายอย่าง แต่พบว่ามนุษย์เป็นต้นเหตุหลัก ๆ ที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของอย่างมาก ดร.สมชาย กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้ "อุณหภูมิ" โลกสูงขึ้นมาจากมาจากมนุษย์ ที่ทำการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือการเผาไหมเชื้อเพลิงต่างๆ นำไปสู่สภาพแวดล้อมที่เลวร้ายและอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้น
ดังนั้นจึงมองว่าหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องควรร่วมมือกับภาคประชาชนที่จะต้องติดตามปัญหาต่างๆพร้อมแก้ไขปัญหาตลอดเวลา เมื่อมีเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ต้องมีคำแนะนำและแก้ไขปัญหาร่วมกัน เช่น แนะนำปลูกพืชที่ช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก แนะนำให้ช่วยกันเลิกเผาไหมในที่โล่ง
สุดท้ายจึงอยากให้ประชาชน เลิกเผาไหม้ในที่โล่งที่จะส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศที่เป็นพิษ เลิกปล่อยก๊าสเรือนกระจก เลิกทิ้งขยะพลาสติกลงสู่ทะเล ลดการใช้พลาสติกที่จะทำให้เกิดภาวะโลกร้อน และควรร่วมมือกันช่วยกันในทุกประเทศ เพื่อลดอุณหภูมิโลกร้อนลดวิกฤตและอุทกภัยที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต