ข่าว

ฟันธงย้าย​ 'กทม.เสาชิงช้า'​ ไม่สนแรงต้านราชการ-ร้านค้า

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'ชัชชาติ'​ ลุยแผนย้ายศาลากลาง 'กทม.เสาชิงช้า'​ ไปกทม.​ 2​ ไม่สนแรงต้านราชการ-ร้านค้า​ เร่งศึกษาข้อมูลทุกมิติเสร็จใน  8​ เดือน​ คาดจบโครงการช่วงปลายสมัย​

"นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร​ (กทม.)​ ให้สัมภาษณ์ประเด็นการย้าย "กทม.เสาชิงช้า" ไปยังกทม.2​ (ดินแดง)​ เพื่อปรับปรุงที่เดิมให้เป็นพิพิธภัณฑ์​กรุงเทพฯ​ หลังจากมีเสียงสะท้อนของพนักงานราชการ​ รวมถึงผู้ประกอบการร้านค้าโดยรอบ​ กทม. เกรงได้รับผลกระทบหากกทม.ย้ายที่​ บ้างกังวลที่พักอาศัย​ไกลที่ทำงาน​ บ้างที่ทำงานห่างจากโรงเรียนลูก​ บ้างร้านค้าต้องซบเซา​

 

กทม.​ 2

 

โดย​ "นายชัชชาติ" อธิบายว่า​ แนวคิดในการปรับศาลาว่าการ "กทม." ให้เป็นพื้นที่สำหรับประชาชนในหลายมิติ​ มีพื้นที่ซิตี้​ แลบ​ (City Lab)​ สำหรับนั่งทำงานวิจัย​ คล้ายกับเป็นที่ทำงานหรือว่าที่ให้ประชาชนมาใช้เพื่อประโยชน์ของเมือง​   

 

แต่การจะเริ่มโครงการได้นั้น​ ต้องย้ายทุกส่วนงานไปที่กทม.​ 2​ ก่อน​ ต่อไปเป็นโครงการปรับปรุงพื้นที่ที่กทม. 2 คาดว่าใช้เวลาปรับปรุงประมาณปีครึ่ง ซึ่งรวมถึงปรับปรุงตัวอาคารด้วย เพราะอาคารสร้างมา 26 ปี​แล้ว สภาพเสื่อมโทรมและเก่ามาก​ จำเป็นต้องปรับปรุงเพื่อความปลอดภัย​

ส่วนประเด็นข้อกังวลผลกระทบต่อพนักงานและร้านค้า​ คงเป็นปัญหาระยะสั้นพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อยากย้ายถิ่น​ เรื่องนี้ต้องพูดคุยเพื่อทำความเข้าใจ​ให้มองประโยชน์ของเมืองยิ่งใหญ่กว่า​ โดยช่วงแรกๆ​ อาจจะจัดมินิบัสรับ-ส่ง​

กทม.เสาชิงช้า

 

ในส่วนร้านค้า​ "นายชัชชาติ" มองว่า​ ไม่ต้องเป็นห่วง​ เพราะว่าสิ่งที่เราจะทำ​ เป็นจุดที่มีคนเข้าออกตลอด​ อาจจะ​ 24 ชั่วโมงก็ได้​ มิติพื้นที่นี้เป็นที่ที่มีค่าเกินกว่าที่จะใช้เป็นสำนักงานเอกสาร​ เราจะใช้เป็นพื้นที่จุดศูนย์กลางของกรุงเทพ​ บันทึกเรื่องราว​ ทั้งอดีต​ ปัจจุบัน​ และอนาคต​ เพราะกรุงเทพในอดีตไม่มีที่ไหนบรรยายถึงสิ่งมีคุณค่าที่ผ่านมาไว้แล้ว

 

หลังจากนี้​จะใช้เวลาอีกประมาณไม่เกิน 8 เดือน​ เพื่อศึกษารายละเอียดพื้นที่​ ความเชื่อมโยงทั้งในแง่ของลานคนเมือง​ ตัวศาลาว่าการ รวมถึงชุมชนโดยรอบข้าง ซึ่งต้องศึกษาบริบทต่างๆ​ ของ​ "กทม." การเชื่อมโยงกับชุมชนต่างๆ​ อย่างไร​ รวมทั้งเนื้อหาต่างๆ​ ที่คาดว่าพื้นที่นี้ควรมีไว้ไม่ใช่เป็นเหมือนที่พัก​ ที่ตั้งแสดงโชว์และมีไฟส่องด้วยเฉยๆ  ที่นี่ควรจะเป็นพื้นที่ที่มีกิจกรรมร่วมกันทั้งผู้มาใช้บริการและคนในชุมชน​ แต่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาไปตามสถานการณ์​ หลักๆ​ คือพื้นที่ที่คนได้มาเจอ​กัน​ อาจจะมีการถกแถลง​ เพราะเป็นสภาเก่าอยู่

 

"โครงการนี้เป็นเรื่องยาก​ เพราะเราระบบราชการ​ กรรมการกังวลว่าถ้าเราทำขึ้นมาแล้ว​ ไม่ใช่ตัดริบบิ้นเปิดงานแล้วจบ​ เราตัดสายสะดือแล้วมันต้องเลี้ยงให้โตเลย​ มันจะกลายเป็นเรื่องสำคัญ​ ต้องศึกษาว่าสุดท้ายแล้วใครจะบริหารจัดการพื้นที่นี้ให้มีคุณภาพ​ เราอาจจะมีตัวอย่างจาก สวทช.​ ต้องทำด้วยความรอบคอบ​ ต้องให้ทุกอย่างคิดได้รอบด้าน พยายามให้เสร็จ​ซึ่งน่าจะปลายๆ​ สมัย​ แต่ไม่เร่ง​" "นายชัชชาติ​" ระบุ

 

เสาชิงหน้า

 

ทั้งนี้​ ศาลาว่าการ​ "กทม.​ เสาชิงช้า​" เริ่มตั้งแต่ “วางศิลาฤกษ์” อาคารศาลาเทศบาลนครกรุงเทพ เมื่อ 24 มิถุนายน 2499 นับจนถึงวันนี้ “ศาลาว่าการกทม.เสาชิงช้า” ได้อยู่คู่กรุงเทพมหานครเกือบเต็ม 66 ปี

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ