ข่าว

กสม. เรียกร้องแก้ไขกฏหมายสิทธิ 'คนพิการ' ให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กสม. เรียกร้องแก้ไขกฏหมายสิทธิ 'คนพิการ' ให้ได้รับการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคของบุคคล และการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อ 'คนพิการ'

16 มีนาคม 2566  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยนายภาณุวัฒน์  ทองสุข ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการ สิทธิมนุษยชน แห่งชาติและนายวสันต์  ภัยหลีกลี้ กรรมการ สิทธิมนุษยชน แห่งชาติแถลงประเด็นสำคัญเรื่อง กสม. เตรียมเสนอกระทรวง พม. แก้ไขปรับปรุงกฎหมายส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต 'คนพิการ' ให้สอดคล้องกับหลัก สิทธิมนุษยชน

 

นายภาณุวัฒน์  ทองสุข ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการ

 

นายภาณุวัฒน์  กล่าวว่า กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนเมื่อเดือน ม.ย. 2565 เรื่อง สิทธิ 'คนพิการ' ว่าพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต 'คนพิการ' พ.ศ. 2550 มีรายละเอียดไม่ครอบคลุมสตรี พิการ และเด็ก พิการ ส่งผลให้การถูกกีดกันจำกัด สิทธิ การเข้าถึงทรัพยากรและแหล่งทุน ขาดโอกาสการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจระดับนโยบาย ถูกแสวงหาผลประโยชน์ กระทำความรุนแรงและการล่วงละเมิดในรูปแบบต่าง ๆ  นอกจากนี้บทบัญญัติบางมาตราในกฎหมายดังกล่าว ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 27 และอนุสัญญาว่าด้วย สิทธิ 'คนพิการ' 

 

กสม. ได้พิจารณาข้อเท็จจริง บทบัญญัติของกฎหมาย เห็นว่าบทบัญญัติที่ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 และอนุสัญญาว่าด้วย สิทธิ 'คนพิการ' อาจกระทบต่อหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และไม่เป็นไปตามหลักความเสมอภาคและการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 4 และมาตรา 27

 

ได้กำหนดคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล และกำหนดว่าการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องความ พิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพของบุคคลจะกระทำไม่ได้

 

กสม. ได้พิจารณาข้อเท็จจริง บทบัญญัติของกฎหมาย เห็นว่าบทบัญญัติที่ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต 'คนพิการ' พ.ศ. 2550 ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 และอนุสัญญาว่าด้วย สิทธิ 'คนพิการ' อาจกระทบต่อหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และไม่เป็นไปตามหลักความเสมอภาคและการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 4 และมาตรา 27 ได้กำหนดคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคของบุคคล และการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องความ พิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพของบุคคลจะกระทำไม่ได้

 

นายภาณุวัฒน์  ทองสุข ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการ

 

ด้วยเหตุนี้ กสม. ได้เรียกร้องในคราวประชุม ด้านการคุ้มครองและส่งเสริม สิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2566 จึงขอให้มีมติแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต 'คนพิการ' พ.ศ. 2550 และระเบียบที่เกี่ยวข้อง ไปยังกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต 'คนพิการ' กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สรุปได้ดังนี้

 

1.ให้แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 4 โดยกำหนดให้คำว่า “องค์การ 'คนพิการ' แต่ละประเภท” หมายความว่า องค์กรสมาชิกระดับชาติตามประเภทความ พิการ หรือองค์กร 'คนพิการ' ที่สมาชิกมีความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความ พิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ และสถานะของบุคคลที่ได้แจ้งชื่อไว้กับกรมตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

 

2.ให้แก้ไขปรับปรุง มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต 'คนพิการ'  พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยกำหนดให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากผู้เชี่ยวชาญในด้าน สิทธิ 'คนพิการ' ซึ่งมีประสบการณ์ทำงานหรือมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ และกำหนดให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นสตรี พิการ ไม่น้อยกว่าสองคน เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้แทนของสตรี พิการ จะสามารถเสนอนโยบายและความเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต 'คนพิการ' ต่อคณะรัฐมนตรีได้ รวมถึงคำนึงถึงสัดส่วนผู้ พิการ ชายและหญิงด้วย

 

3.ให้แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต 'คนพิการ' พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยยกเลิกมาตรา 15 วรรคสาม ที่ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติที่มีเหตุผลทางวิชาการ จารีตประเพณี หรือประโยชน์สาธารณะ ต่อ 'คนพิการ' ทั้งนี้เพื่อป้องกันการใช้ดุลพินิจของผู้ใช้กฎหมายในการตีความกฎหมายที่อาจมีผลเป็นการเลือกปฏิบัติต่อ 'คนพิการ' 

 

4.ให้เพิ่มเติมคุณสมบัติขององค์กรที่ขอแจ้งเป็นองค์การ 'คนพิการ' ใน ข้อ 4 ของระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต 'คนพิการ' แห่งชาติว่าด้วยการรับแจ้งชื่อองค์การคนพิการแต่ละประเภท พ.ศ. 2554 โดยให้ “มีผู้แทนของกลุ่ม 'คนพิการ' ที่สะท้อนถึงภูมิหลังหรืออัตลักษณ์ที่หลากหลายของแต่ละบุคคล” ด้วย เพื่อให้องค์กรที่จะได้รับแจ้งชื่อเป็นองค์การ 'คนพิการ' มีคุณสมบัติสอดคล้องกับนิยามองค์การ 'คนพิการ' แต่ละประเภทตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต 'คนพิการ' พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

กสม. เรียกร้องแก้ไขกฏหมายสิทธิ 'คนพิการ' ให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ