ข่าว

ม.มหิดล เร่ง ผลิต ‘ป.โท-เอก’ ประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพระดับโลก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ม.มหิดล เร่งผลิต ‘ป.โท-เอก’ ประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพระดับโลก ประธานหลักสูตรฯ ตั้งข้อสังเกตวิทยานิพนธ์ส่วนใหญ่ไม่มีการหยิบยกเรื่อง สมุนไพร เพื่อศึกษาประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพโดยตรง

รศ.ดร.เภสัชกรหญิงอุษา ฉายเกล็ดแก้ว  ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ(หลักสูตรนานาชาติ)และอาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงความจำเป็นของการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศไทย ซึ่งเป็นแนวคิดในระดับนานาชาติที่จะผลักดันให้แต่ละประเทศจัดให้กับประชาชนในประเทศและอาจกล่าวได้ว่าสหราชอาณาจักรมีการจัดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ควรนำมาเป็นแบบอย่างในการเสริมความแข็งแกร่งและยั่งยืนให้กับ

มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ร่วมกับNational Institute for Health and Care Excellenceหรือ“NICE”ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลในเรื่องของสิทธิหลักประกันถ้วนหน้าแห่งสหราชอาณาจักรพัฒนาหลักสูตรเพื่อสร้างเสริมศักยภาพของการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพให้กับประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางเพื่อสร้างหลักฐานเชิงวิชาการในการสนับสนุนการตัดสินใจด้านนโยบายสุขภาพของประเทศ

 

โดยที่ผ่านมาหลักสูตรฯได้พัฒนากำลังคนด้านการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพในประเทศแถบอาเซียนเอเชียใต้และกำลังขยายขอบเขตสู่ประเทศในแถบทวีปแอฟริกาโดยทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงผลิตบัณฑิตพร้อมมอบทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดลและจากแหล่งทุนอื่น ๆ อาทิ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ(TICA)กระทรวงการต่างประเทศและ“NICE”

 

“เราจะทราบอย่างไรว่าเทคโนโลยีด้านสุขภาพซึ่งรวมทั้งยาวัคซีนวิธีการผ่าตัดหัตถการการคัดกรองการวินิจฉัยและมาตรการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสามารถรักษาผู้ป่วยหายจากโรคหรือป้องกันไม่ให้เกิดโรคมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นพร้อมไปกับการทำให้ผู้ป่วยรวมทั้งผู้ที่ใช้เทคโนโลยีฯเหล่านั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

ดังนั้นการประเมินประสิทธิผลของเทคโนโลยีดังกล่าวรวมถึงประเมินความปลอดภัยต้นทุนความคุ้มค่าและงบประมาณของการนำเอาเทคโนโลยีด้านสุขภาพนั้นๆมาใช้ตลอดจนผลกระทบอื่นๆที่เกี่ยวข้องอาทิผลกระทบทางสังคมจริยธรรมกฎหมายฯลฯจึงเป็นข้อมูลสำคัญต่อการตัดสินใจและกำหนดนโยบายสุขภาพของประเทศ”รศ.ดร.เภสัชกรหญิงอุษา กล่าว

 

หัวข้อวิจัยที่นักศึกษาในหลักสูตรเลือกทำวิทยานิพนธ์ส่วนใหญ่ ได้จากโจทย์นโยบายสุขภาพของประเทศถิ่นเกิดเช่นเพื่อนำไปแก้ไขปัญหายาหรือเครื่องมือแพทย์ที่มีราคาแพง

 

อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมายังไม่มีการหยิบยกเรื่องสมุนไพรเพื่อศึกษาประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพโดยตรง ซึ่ง สมุนไพรฟ้าทะลายโจรเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยและอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติควรศึกษาด้านการประเมินในเรื่องของประสิทธิผลประเมินความปลอดภัยตลอดจนความคุ้มค่าเพื่อประโยชน์สำหรับผู้บริโภคต่อไปในวงกว้าง

 

โดยหลักสูตรฯเป็นโครงการร่วมระหว่างคณะเภสัชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลคณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์สถาบันวิจัยประชากรและสังคมและบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

 

เปิดรับผู้สมัครที่สำเร็จการศึกษาในสาขาเศรษฐศาสตร์ หรือ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ(Health Science)ไม่ว่าจะเป็นปริญญาโทซึ่งรับนักศึกษาที่จบปริญญาตรีใช้เวลาศึกษาประมาณ 2 ปี หรือ เข้าศึกษาในระดับปริญญาเอกจะมีทั้งปริญญาตรีไปปริญญาเอกใช้เวลาศึกษาประมาณ 4 ปี และ ปริญญาโทไปปริญญาเอกใช้เวลาศึกษาประมาณ 3 ปี

 

ทั้งนี้ นับเป็นเวลากว่า2ทศวรรษแล้วหลังจากที่ประเทศไทยได้ประกาศ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือ “30บาทรักษาทุกโรค” เป็นหลักประกันให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างครอบคลุมจนได้รับการยกย่องจากทั่วโลก

 

ผู้สนใจติดต่อขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดลwww.grad.mahidol.ac.th ภายในวันที่15 พฤษภาคม 2566

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ