ข่าว

'ก้าวไกล' พร้อมจับมือ 'เพื่อไทย' ตั้งรัฐบาล หวังสูงชนะ 145 เขต

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"พิธา" เผยกับสื่อเครือเนชั่นพรรคก้าวไกลพร้อมร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทยและพันธมิตรฝ่ายค้านเดิม มั่นใจเสียงรวมกันเกิน 375 แน่นอน และยืนยันไม่ขอสังฆกรรมพลังประชารัฐ-รวมไทยสร้างชาติ

พรรคก้าวไกลพร้อมร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทยและพันธมิตรฝ่ายค้านเดิม โดย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล บอกเหตุผลกับสื่อเครือเนชั่นว่า สามารถแสวงจุดร่วมสงวนจุดต่างด้านนโยบายกับเพื่อไทยได้ มั่นใจเสียงรวมกันเกิน 375 แน่นอน

'ก้าวไกล' พร้อมจับมือ 'เพื่อไทย' ตั้งรัฐบาล หวังสูงชนะ 145 เขต

และยืนยันไม่ขอสังฆกรรมกับพรรคพลังประชารัฐและพรรครวมไทยสร้างชาติตั้งรัฐบาล

นายพิธาระบุว่า เป้าหมายประมาณการที่พรรคก้าวไกลหวังผลการเลือกตั้งครั้งหน้าจะได้รับเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) เขตจากทุกภาค ประมาณ 112 เขต กรุงเทพมหานคร (กทม.) อีก 33 เขต รวมทั่วประเทศ 145 เขต

'ก้าวไกล' พร้อมจับมือ 'เพื่อไทย' ตั้งรัฐบาล หวังสูงชนะ 145 เขต

ยกตัวอย่างรายภาค เช่น ภาคเหนือ 27 ที่นั่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 40 ที่นั่ง ภาคกลางและตะวันออก 36 ที่นั่ง กทม.และปริมณฑล 19 ที่นั่ง เฉพาะ จ.สมุทรปราการคาดว่าจะได้ 7 ที่จาก 8 เขต และภาคใต้ 10 ที่นั่ง 

ตัวเลขดังกล่าวเป็นเพียงเป้าหมาย แต่ตัวเลขจริงพรรคก้าวไกลคงได้ สส.ต่ำกว่านั้นมาก โดยเฉพาะในพื้นที่อีสานนั้นถือเป็นสนามหิน เนื่องจากเป็นฐานที่มั่นของพรรคเพื่อไทยที่หวังคะแนนเสียงจาก 132 เขตเลือกตั้ง ให้เกิดแลนด์สไลด์ หรือชนะเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย ขณะเดียวกันยังมีภูมิใจไทยที่จะเป็นตัวแบ่ง สส.ที่สำคัญอีกพรรค

'ก้าวไกล' พร้อมจับมือ 'เพื่อไทย' ตั้งรัฐบาล หวังสูงชนะ 145 เขต

สำหรับการเลือกตั้งเที่ยวนี้พรรคก้าวไกลได้วางยุทธศาสตร์ไว้ 2 ระดับ คือ ระดับชาติและระดับพื้นที่ ซึ่ง ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล เปิดเผยสื่อเครือเนชั่นว่า ก้าวไกลมุ่งทำงานระดับพื้นที่เพื่อให้เข้าเป้ามากที่สุดซึ่งช่วงที่ผ่านมาว่าที่ผู้สมัครและคณะทำงานได้ลงพื้นที่ขายนโยบายให้สอดคล้องกับแต่ละพื้นที่ เช่น นโยบายปฏิรูปที่ดินทั้งระบบ สวัสดิการถ้วนหน้า การดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง เด็กแรกเกิด ฯลฯ  

 

จากการเกาะติดพื้นที่ทำให้พรรคก้าวไกลมั่นใจว่าคะแนน สส.แบบแบ่งเขตจะเป็นปัจจัยชี้ขาดผลการเลือกตั้ง โดยที่ Money Politics หรือการใช้เงินในทุกรูปแบบที่กำลังเกิดขึ้นเวลานี้ ไม่ว่าการดูดผู้สมัคร หรือการใช้กระสุนทางการเมืองในการเลือกตั้งจะเป็นปัจจัยบวกต่อพรรค เนื่องจากในการลงพื้นที่ของว่าที่ผู้สมัครของพรรคและทีมงานตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เทียบกับการเลือกตั้งปี 2562 พบว่าความนิยมของพรรคก้าวไกลเป็นบวก โดยเฉพาะจากการทำงานการเมืองในระดับท้องถิ่น ยกตัวอย่างเช่น ในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งที่ผ่านมา พรรคก้าวไกลได้ สก. ถึง 14 ที่นั่ง  

'ก้าวไกล' พร้อมจับมือ 'เพื่อไทย' ตั้งรัฐบาล หวังสูงชนะ 145 เขต

"พรรคไม่กังวลเรื่องบัตร 2 ใบ บางเขตถือเป็นโอกาสมากกว่าวิกฤต มั่นใจว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะได้ สส.เขตเพิ่มมากขึ้นแบบก้าวกระโดด โดยมีปัจจัยหลัก คือ ความนิยมต่อพรรค ทั้งการทำงานที่เป็นจริงและนโยบายจับต้องได้" เลขาธิการพรรคก้าวไกลระบุ

 

แน่นอนว่าการเลือกตั้งเที่ยวนี้พรรคฝั่งประชาธิปไตยอย่างก้าวไกลจะต้องแข่งเดือดกับพรรคเพื่อไทยที่หวังผลแบบแลนด์สไลด์หรือผลชนะอย่างถล่มทลายเพื่อคว้าโอกาสเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล จึงคาดการณ์กันว่าผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งหรือโหวตเตอร์จำนวนไม่น้อยอาจตัดสินใจเลือกผู้แทนฯ แบบยุทธศาสตร์ หรือเทคะแนนให้พรรคใดพรรคหนึ่งชนะขาด โดยเฉพาะเพื่อไทยซึ่งหวังฐานเสียงจากคนรุ่นใหม่และกลุ่มที่เอือมระอากับการบริหารประเทศของพรรคฝั่งอนุรักษ์นิยมอย่างพลังประชารัฐและพันมิตรในปัจจุบัน

 

ประเด็นนี้ พิธาอธิบายว่า ประชาชนจะตัดสินใจเลือกตั้งอย่างมีความหวัง คงไม่เลือกเพราะความกลัว จึงมั่นใจว่าประชาชนจะให้น้ำหนักในการเลือกผู้นำประเทศมากกว่า ซึ่งแน่นอนว่าพิธาจะเป็นผู้ถูกเสนอชื่อในนามก้าวไกลเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี

 

อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) หรือ “นิด้าโพล" ครั้งล่าสุดเมื่อเดือน ธ.ค. 2565 ซึ่งเป็นการสำรวจรายไตรมาสพบว่าบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี อันดับ 1 ร้อยละ 34 เป็น "อุ๊งอิ๊ง" แพทองธาร ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทย 

 

ขณะที่อันดับ 2 ร้อยละ 14 เป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เพิ่งประกาศตัวในนามพรรครวมไทยสร้างชาติขอพาประเทศไปต่อ และอันดับ 3 ร้อยละ 13 เป็น พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ โดยส่วนหนึ่งของผลสำรวจในครั้งนี้ประชาชนระบุความต้องการให้โอกาส "คนรุ่นใหม่" ที่มีวิสัยทัศน์เข้ามาบริหารประเทศ

 

ทั้งนี้ กกต.ประกาศเขตเลือกตั้งใหม่ทั่วประเทศรวม 400 เขต จำนวน สส. 400 คน แบ่งเป็น ภาคเหนือ 39 คน จากเดิม 33 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 132 คน จากเดิม 116 คน ภาคกลาง 122 คน จากเดิม 106 คน (รวม กทม. 33 คน) ภาคตะวันออก 29 คน จากเดิม 26 คน ภาคตะวันตก 20 คน จากเดิม 19 คน ภาคใต้ 58 คน จากเดิม 50 คน 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ