ข่าว

มหากาพย์ "แอชตัน อโศก" คอนโดหรูเกือบโดนทุบ สู่ เพิกถอนใบอนุญาต

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สรุป "แอชตัน อโศก" มหากาพย์ฟ้องร้องก่อสร้าง คอนโดหรู เมื่อ ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่ง เพิกถอนใบอนุญาต เกือบทุบทิ้งทั้งโครงการ

'ศาลปกครองสูงสุด' มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตโครงการ "แอชตัน อโศก" ถือเป็นอันสิ้นสุดข้อพิพาทมานานแรมปี ผู้เสียหายต้องไล่บี้ ฟ้องร้องตามลำดับ ตามที่สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ยื่นฟ้อง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักการโยธา ผู้อำนวยการเขตวัฒนา ที่ดำรงตำแหน่ง ณ ขณะนั้น เพื่อให้มีคำสั่งรื้อถอนอาคารคอนโดมิเนียม "แอชตัน อโศก" ซึ่งพัฒนาโดย บริษัท อนันดา ดีเวลลปอมเม้นท์ จำกัด (มหาชน) 

ก่อนหน้านี้ ศาลปกครองกลางพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องในคดีที่ 1 และผู้ถูกฟ้องในคดีที่ 3 คือ ผู้อำนวยการเขตวัฒนา ดำเนินการออกใบอนุญาตแก่โครงการ "แอชตัน อโศก" โดยฝ่าฝืนข้อ 2 วรรค 2 ของกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัคิควบคุมอาคารจริง แต่เนื่องจากโครงการ "แอชตัน อโศก" เป็นโครงการที่มีเจ้าของห้องชุดจำนวนมาก

 

โดยมีเจ้าของห้องชุดถึง 668 หน่วย การรื้อถอนจึงส่งผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก จึงให้ผู้ว่าฯกทม ผู้อำนวยการเขตวัฒนา และบริษัทอนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หารือเพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง ภายใน 180 วัน 

 

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2557 บริษัท อนันดา ได้เปิดตัวโครงการคอนโดหรูทำเลทองติดรถไฟฟ้า หนึ่งในนั้นคือโครงการ "แอชตัน อโศก" ซึ่่งมีที่ตั้งอยู่บริเวณด้านหลัง ห้างสรรพสินค้าเทอร์มินอล และสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์  ติดกับสถานีรถไฟฟ้า BTS อโศก และ MRT สุขุมวิท ซึ่งทางบริษัทอนันดา ได้เข้าซื้อที่ดินจำนวน 3 แปลง จำนวน 2 ไร่ 3 ไร่ และ 47.6 ไร่ รวมพื้นที่ในอาคาร 55,206.14 ตารางเมตร แต่ที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ตาบอดไม่มีทางเข้า-ออก  เพราะที่ผ่านมา รฟม.ได้เวนคืนที่ดินบริเวณดังกล่าวเพื่อสร้างสถานีรถไฟฟ้า จึงส่งผลให้ที่ดืนผืนดังกล่าวกลายเป็นพื้นที่ตาบอด 

 

ทางเจ้าของโครงการ "แอชตัน อโศก" จึงได้ทำข้อตกลงกับทาง รฟม. เพื่อขอใช้ประโยชน์ที่ดินสำหรับเป็นทางเข้า-ออกโครงการโดยขยายความกว้างถนนจาก 6 เมตร เป็น 12 เมตร เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายผังเมืองซึ่งกำหนดว่าการก่อสร้างอาคารสูงจะต้องมีทางกว้างถนนไม่ต่ำกว่า 12 เมตร 

 

การฟ้องร้อง "แอชตัน อโศก" เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2559 เมื่อ สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนและชาวบ้านผู้อยู่อาศัยย่านสุขุมวิท 19 ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกับซอยสุขุวิท 21 ยื่นฟ้องร้องแก่ศาลปกครองกลาง โดยการฟ้องร้อง ณ ขณะนั้นคือ ละเลยปฏิบัติหน้าที่และออกใบอนุญาต ให้กับ บ.อนันดา ในการสร้าง แอชตัน อโศก โดยเป็นอาคารสูง 51 ชั้น ตั้งบนที่ดิน 2 แปลงในสุขุมวิท 19 แยก 2 ซึ่งแต่เดิมมีซอยเล็ก ๆ กว้างแค่ 3 เมตร 

 

จากนั้นในปี 2560 ผู้ฟ้องคดี ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการใด ๆ เพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา 

 

ตลอดระยะเวลาที่มีการยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครอง "แอชตัน อโศก" ก็ยังคงเดินหน้าก่อสร้างไปอย่างต่อเนื่องจนกระทั้งเมื่อต้นปี  2561 โครงการ "แอชตัน อโศก" ก่อสร้างเสร็จ และยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบการก่อสร้างอาคารชุดโครงการ "แอชตัน อโศก" และขอออกใบรับรองการก่อสร้างอาคาร หรือแบบ อ.6 แต่ทางเจ้าพนักงานมีคำสั่งปฏิเสธไม่ออกใบรับรองการก่อสร้างอาคารแบบ อ.6 ให้แก่โครงการจึงทำให้โครงการไม่สามารถโอนกรรสิทธิ์แก่ลูกบ้านได้ 

 

บ.อนันดา ได้ต่อสู่อย่างที่สุดเพื่อให้สามารถเปิดใช้งานอาคาร และโอนกรรมสิทธิ์ได้  โดยได้มีการเรียน กทม. โดยการยื่นอุทธรน์ไปยังคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หลังจากนั้นคณะกรรมการฯจึงได้เพิกถอนคำสั่งพนักงานท้องถิ่น ทำให้ "แอชตัน อโศก" สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้  

 

การต่อสู้ที่ยาวนานมากว่า 5 ปี ทำให้เมื่อปี 2564 ศาลปกครองกลาง ได้สั่งเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างคอนโด แอชตัน อโศก โดยให้เหตุผลว่า คอนโดมิเนียมตั้งอยู่บนพื้นที่ "ที่ไม่มีด้านใดด้านหนึ่งกว้างกว่า 12 เมตรที่ติดกับถนนที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร" และ "ไม่เชื่อมกับถนนที่มีความกว้าง 18 เมตร" และ หรือคือผิด พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร 

 

เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2565 ที่ผ่านมาศาลปกครองสูงสุดได้พิจารณาคดี "แอชตัน อโศก" เป็นครั้งแรก หลังจากที่ศาปกครองกลางมีคำสั่เพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างมูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาท และล่าสุดวานนี้ คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ได้มติให้ทุกฝ่ายที่ตกเป็นจำเลย หาทางออกและแก้ไขออกแบบในส่วนที่ปิดกฎหมายให้แล้วเสร็จ  

 

อย่างไรก็ตามมหากาพย์การฟ้องร้องในครั้งนี้ดูเหมือนว่าจะกลายเป็นบรรทัดฐานที่สำคัญให้แก่วงการอสังหาริมทรัพย์เลยก็ว่าได้ แต่ท้ายที่สุดแล้วการพิจารณาคดีมีการคำนึงถึงผู้อยู่อาศัยในคอนโดหรู "แอชตัน อโศก" เพราะเห็นได้ชัดเจนว่า หากมีคำสั่งให้ทุบทิ้งจะมีผู้อยู่อาศัยที่ได้รับความเดือดร้อนไม่น้อย 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ