ข่าว

"ศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ" ยกระดับชาวนา กระบวนการผลิตข้าว-สร้างรายได้มั่นคง 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ เดินหน้า ส่งเสริมกลุ่มทำนาประณีตศรีสำราญ พัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิตข้าว สร้างรายได้มั่นคง ให้กับชาวนา

การส่งเสริมสินค้าเกษตรให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน ถือเป็นนโยบายสําคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคมีความห่วงใยสุขภาพ ให้ความสําคัญกับการเลือกซื้อสิ้นค้าเกษตรที่มีความปลอดภัย ได้คุณภาพและมาตรฐาน

 

โดยเฉพาะข้าว ที่เป็นอาหารหลักของคนไทย เกษตรกรชาวนาไทยจึงจำเป็นต้องผลิตข้าวให้ได้คุรภาพมาตรฐาน เพื่อตอบสนองความต้องการต่อท้องตลาด อีกทั้งยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลผลิตข้าวได้อีกด้วย  

"ศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ" ยกระดับชาวนา กระบวนการผลิตข้าว-สร้างรายได้มั่นคง 

กรมการข้าว ศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร เพื่อเป็นการส่งเสริมให้พี่น้องเกษตรกร มีความรู้ ความเข้าใจ ในการผลิตข้าวมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน  
 

นายอำนวย พงษ์พนัส เจ้าพนักงานการเกษตรชำนาญงาน ศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ กล่าวว่า โครงการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร เป็นโครงการที่ต้องการให้ยกระดับคุณภาพข้าวทั้งในการผลิต เกี่ยวกับแปลงข้าวและผลผลิตของข้าว เพื่อให้ข้าวมีคุณภาพมาตรฐาน เกิดความปลอดภัยกับผู้บริโภค

 

โดยศูนย์วิจัยข้าวชุมแพได้มีการส่งเสริมในหลายพื้นที่ สำหรับกลุ่มทำนาประณีตข้าวอินทรีย์ศรีสำราญ ตำบลศรีสำราญ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ ก็ป็นอีกหนึ่งพั้นที่ ที่ศูนย์ฯได้เข้ามาดำเนินงานโครงการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร

"ศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ" ยกระดับชาวนา กระบวนการผลิตข้าว-สร้างรายได้มั่นคง 

เนื่องจากว่าแปลงนี้ เป็นแปลงที่เข้าโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ หรือที่รู้จักกันในนาม นาแปลงใหญ่ ตั้งแต่เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2559 และมีการพัฒนาทั้งด้านแปลงและผลผลิตของกลุ่มมาตลอด

เพราะฉะนั้นในการที่จะทำให้ผลผลิตข้าวได้คุณภาพมาตรฐานที่ดี จึงเป็นก้าวแรกในการที่จะพัฒนาเกษตรกรให้เข้าสู่มาตรฐานต่างๆได้ ปัจจุบันกลุ่มทำนาประณีตข้าวอินทรีย์ศรีสำราญได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน ทั้งมาตรฐาน GAP และมาตรฐานข้าวอินทรีย์  

 

ซึ่งทางศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ ได้เข้ามาให้ความรู้ในการทำเมล็ดพันธุ์ ทั้งชั้นพันธุ์คัด ชั้นพันธุ์หลัก โดยทางกลุ่มก็จะผลิตเมล็ดพันธุ์เป็นของตนเองในรูปแบบเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์ และส่งเสริมพัฒนากลุ่มให้เป็นไปตามระบบมาตรฐานข้าวอินทรีย์  โดยไม่ใช้สารเคมี

"ศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ" ยกระดับชาวนา กระบวนการผลิตข้าว-สร้างรายได้มั่นคง 

มีการบริหารจัดการศัตรูข้าวด้วยระบบของชีวภาพ เช่น การใช้เชื้อไตรโคโดม่า ที่จะมาช่วยในการควบคุมโรคพืชของต้นข้าว  มีการควบคุมแปลง ในการตรวจตัดข้าวปน เพื่อให้ได้คุณภาพข้าวของแปลงที่ดี ส่วนนี้จะเป็นการพัฒนาเกี่ยวกับเรื่องของแปลงข้าว เพื่อให้ได้คุณภาพมาตรฐาน ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการแปรรูปสินค้าต่อไป 

 

นายทรงศิริ นราพงษ์ ประธานกลุ่มทำนาประณีตศรีสำราญ เปิดเผยว่ากลุ่มทำนาประณีตข้าวอินทรีย์ศรีสำราญจากเดิมพี่น้องเกษตรกรที่เป็นสมาชิกในปัจจุบันทำนาแบบวิถีธรรมชาติ ส่งต่อวิถีการทำนาจากรุ่นสู่รุ่น ตามบรระบุรุษเคยทำมา ทำโดยไม่มีองค์ความรู้ลองผิดลองถูกกันเองราคาข้าวตกต่ำ ทำนาแต่ละปีก็ไม่ได้ผลผลิตเท่าที่ควรไม่มีคุณภาพมาตรฐาน

 

ส่งผลให้ถูกกดราคาจากโรงสีหรือพ่อค้าคนกลางกระทั่งเมื่อปีพ.ศ.2559กรมการข้าวโดยศูนย์วิจัยข้าวชุมแพมีโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่เข้ามาส่งเสริมในพื้นที่และกลุ่มเห็นว่าอยากที่จะพัฒนาผลผลิตข้าวให้ดีขึ้นรวมถึงราคาข้าวที่จะเพิ่มขึ้นตามมาด้วยพี่น้องเกษตรกรก็มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จึงได้เข้าร่วมโครงการตั้งแต่นั้นมา

"ศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ" ยกระดับชาวนา กระบวนการผลิตข้าว-สร้างรายได้มั่นคง 

ซึ่งเมื่อกลุ่มเข้าร่วมโครงการกับศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ สิ่งแรกเลยที่มีการพัฒนาคือเรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าว เมื่อมีเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดี มีคุณภาพ ผลผลิตข้าวก็ดีขึ้น ราคาขายดีขึ้น เมื่อเมล็ดพันธุ์ดีมีคุณภาพแล้ว กลุ่มจึงมีการต่อยอดสีแปรรูปเพิ่มมูลค่าข้าว ส่งผลให้กลุ่มมีกำไรเพิ่มขึ้นและมีแนวทางที่จะขยายช่องทางการตลาดต่อไหปได้ในอนาคต 

 

นอกจากนี้กลุ่มยังมุ่งเน้นทำนาแบบประณีต จะต้องใส่ใจในกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ทุกขั้นตอน ตั้งแก่แปลงที่มีการตรวจ ตัด พันธุ์ปน จนถึงการเก็บเกี่ยว ซึ่งการผลิตเมล็ดพันธุ์ในรูปแบบของนาประณีตจะมีวิธีการเก็บเกี่ยวต่างจากการทำนาแบบอื่นๆ การเก็บเกี่ยวจะต้องคัดรวงที่สมบูรณ์ที่สุด

"ศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ" ยกระดับชาวนา กระบวนการผลิตข้าว-สร้างรายได้มั่นคง 

โดยใช้แรงงานคน ใน 1 ฤดูกาลผลิตจะเก็บได้ประมาณ 5,000 รวง เพื่อนำมาไว้ใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ในฤดูกาลต่อไป และแจกจ่ายให้กับสมาชิกในกลุ่ม ถือว่าการปรับเปลี่ยนวิถีการทำนาตามคำแนะนำของศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 ถึงปี พ.ศ.2565 จากวันนั้นถึงวันนี้ กลุ่มถือว่ามีการพัฒนามาไปในทางที่ดีขึ้นมาก ส่งผลให้เกิดความมั่นคงสู่กลุ่มอีกด้วย  

 

เห็นได้ชัดว่า เมื่อเกษตรกรมีการรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง พัฒนากลุ่มตามแนวทางที่กรมการข้าวได้ให้คำแนะนำ  ส่งผลให้กลุ่มสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีรายได้เพิ่มมากขึ้น และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามไปด้วย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ