ข่าว

"บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" พ.ย. นี้ได้ค่าเดินทาง 500 บาท เช็ควิธีใช้จ่ายที่นี่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" เดือนพ.ย. นี้ รับเติมเงินเข้าบัตรค่ารถไฟฟ้า-MRT-ขสมก.-ค่ารถทัวร์ 500 บาท อัปเดตเงื่อนไขและวิธีใช้บัตรฯ จ่ายค่ารถได้ที่นี่

สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ นอกเหนือไปจากค่าใช้จ่ายอื่น ๆ โดยแงเป็น เงินสำหรับซื้อสินค้า 700 หรือ 800 บาทต่อเดือน ที่จะมีการโอนเข้าบัตรฯการทุกเดือน  สว่นลดค่าก๊าซหุ้งต้ม 45 บาท ต่อ 3 เดือน ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้าที่จะได้รับทุกเดือนตามเงื่อนไขการใช้งานแล้วนั้น ผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ยังได้ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ดังนี้ 

  • ค่าโดยสารรถ บขส. 500 บาทต่อเดือน 
  • ค่ารถไฟฟ้า 500 บาทต่อเดือน  
  • ค่ารถโดยสารรถขสมก. รถไฟฟ้าBTS  รถไฟฟ้า MRT และแอพอร์ตเรียลลิ้งค์  500 บาทต่อเดือน (เฉพาะผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพ และปริมณฑลเท่านั้น)

ใช้บัตรฯ จองตั๋วกับ บขส. 
ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสามารถจ่ายค่าตั๋วโดยสารได้ที่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ ทั้ง 3 แห่ง (จตุจักร, เอกมัย,ถนนบรมราชชนนี) และที่ทำการสถานีเดินรถของ บขส. ทั่วประเทศ รวม 121 จุด เพื่ออำนวยความสะดวกในการจองซื้อตั๋วโดยสารแก่ผู้ถือบัตร
สำหรับเงื่อนไขการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐจ่ายค่าโดยสารแต่ละประเภทนั้นผู้ถือบัตร สามารถดำเนินการได้ดังนี้ 

สำหรับเงื่อนไขของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในการใช้สิทธิโดยสารรถของ บขส. มีดังนี้
1.ยื่นบัตรแสดงตนในการซื้อตั๋วโดยสารและต้องเป็นผู้เดินทางเองเท่านั้น
2.สามารถซื้อตั๋วรถโดยสาร บขส. ภายในวงเงิน 500 บาทต่อเดือน กรณีที่ค่าโดยสารเกินวงเงินที่ได้รับต้องจ่ายส่วนต่างเป็นเงินสดเท่านั้น
3.สามารถเดินทางไปกับรถโดยสาร บขส. ได้ทุกมาตรฐาน ทุกเส้นทาง
4.สามารถใช้ร่วมกับสิทธิลดหย่อนอื่น ๆ ได้ตามเงื่อนไขที่บริษัทฯ กำหนด
5.เมื่อซื้อตั๋วโดยสารแล้วไม่สามารถคืนตั๋วได้ทุกกรณี แต่สามารถเลื่อนการเดินทางได้ภายใต้เงื่อนไขที่บริษัทฯ กำหนด
6.สามารถซื้อตั๋วโดยสารได้ที่ช่องจำหน่ายตั๋วของ บขส. ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร,เอกมัย,ถนนบรมราชชนนี) และที่ทำการสถานีเดินรถ บขส.ทั่วประเทศ จำนวน
121 จุด เท่านั้น
สอบถามรายละเอียดเพิมเติ่ม โทร Call Center 1490

 

 

จ่ายค่ารถรถไฟฟ้าBTS ด้วยบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถทำได้ดังนี้ 

นำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ห้องจำหน่วยตั๋วโดยสารได้ทุกสถานี แจ้งสถานีปลายทาง และรับโดยสาร 
เงื่อนไขใช้บัตรสวัสดิการมีดังนี้ 
1.ซื้อตั๋วโดยสารได้ครั้งละไม่เกิน 2 ใบ สำหรับการเดินทางขาไปและขากลับ 
2.เตรียมเงินเพื่อการเดินทางในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐขั้นต่ำ 16 บาท เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถออกตั๋วโดยสารราคาต่ำสุด
3.หากจำนวนเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไม่เพียงพอสำหรับค่าโดยสาร เจ้าหน้าที่จะออกตั๋ว4.โดยสารในราคาต่ำสุด 16 บาท ให้และผู้โดยสารจะตองจ่ายค่าส่วนต่างด้วยเงินสด ที่สถานีปลายทาง 
5.ทังนี้ระบบรถไฟฟ้า BTS  จะรองรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเวอร์ชัน2.0,2.5 และ 4.0 ซึ่งเป็นบัตรที่ใช้เฉพาะในพื้นที่กรุงเทและปริมณฑลเท่านั้น 

 

จ่ายค่ารถเมล์ ขสมก. ด้วยบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
1.ผู้ที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถชำระค่าบริการผ่านเครื่อง EDC (Electronic Data Capture) ที่พนักงานเก็บค่าโดยสารได้แล้วตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งรถโดยสารปรับอากาศและรถโดยสารธรรมดา ขั้นตอนการใช้บริการมีดังนี้ 
2.แจ้งจุดหมายปลายทางที่จะลง  
3.พนักงานระบุค่าโดยสาร
4.แตะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่เครื่อง EDC 
5.พนักงานแสดงการขำระค่าโดยสารเสร็จสมบูรณ์ 
หมายเหตุ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐสามารถจ่ายค่าโดยสารได้เฉพาะรถบริการของขสมก.เท่านั้น ไม่รวมรถร่วมเอกชน

 

จ่ายค่ารถไฟฟ้าMRT ด้วย บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ  มีเงื่อนไขดังนี้ 
1. บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (Welffare Card) (บัตรฯ) หมายถึง บัตรฯ ที่ออกโดยกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ให้แก่ผู้ที่มีคุณสมบัติและเงื่อนไขที่หน่วยงานกาครัฐซึ่งเป็นเจ้าของบัตรฯ ท่าหนด

2. ผู้ที่มีสิทธิ์ใช้บัตรฯ สามารถใช้บริการในระบบรถไฟฟ้ MRT สายสีน้ำเงิน และ สายสีม่วง  ต้องเป็นผู้ลงทะเบียนในเขต 7 จังหวัด ได้แก่  กรุงเทพฯ ,นนทบุรี,ปทุมธานี ,พระนครศรีอยุธยา , สมุทรปราการ, สมุทรสาคร และ นครปฐม

3. บัตรฯ ที่ใช้ในระบบรถไฟฟ้า MRT ต้องเป็นบัตรที่มี 2 ชิปการ์ด คือมีสัญลักษณ์แมงมุมบนหลังบัตร

4. เริ่มใช้งานในระบบรถไฟฟ้า  MRT ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นไป ในช่วงเวลาให้บริการ ตามเงื่อนไขที่ประกาศในระบบรถไฟฟ้า MRT กำหนด

5. สิทธิวงเงินคำโดยสารสำหรับ รถไฟฟ้า ในบัตรฯ เป็นค่าเริ่มต้น 500 บาท/คน/เดือน ไม่สามารถเติมมูลค่าที่ห้องออกบัตรโดยสาร หรือเครื่องออกบัตรโดยสารอัตโนมัติ

(ค่าเริ่มต้นของจงเงินอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังกำหนด) ของระบบรถไฟฟ้า MRT ได้

6 . สิทธิวงเงินค่าโดยสารในบัตรฯ ที่เป็นค่าเริ่มต้น จะถูกบันทึกลงในบัตรเมื่อแตะบัตรที่ประตู อัตโนมัติขาเข้าในระบบรถไฟฟ้า MRT ในวันที่ 1 ของทุกเดือน หรือ วันแรกที่มาใช้บริการของทุกเดือน

7.สิทธิวงเงินค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT ในบัตรมีอายุการใช้งานถึง ณ วันสิ้นเดือนของแต่ละเดือน ไม่มีการสะสมสิทธิวงเงินคงเหลือที่มากกว่า 0 บาทไปยังเดือนถัดไป

8.เมื่อมีการเดินทางในระบบรถไฟฟ้า MRT มูลค่าวงเงินในบัตรฯ จะถูกหักอัตโนมัติเป็นค่าโดยสารตามระยะทาง โดยใช้อัตราค่าโดยสารบุคคลทั่วไปที่ประกาศอยู่ ณ ขณะนั้น

9. สิทธิวงเงินขั้นต่ำในบัตรที่สามารถใช้เดินทางในระบบรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงและสีน้ำเงิน ได้ คือ 1 บาท

10. สิทธิวงเงินในบัตรสามารถติดลบได้ 1 ครั้ง (ไม่เกิน-69 บาท)

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ