ข่าว

ต่อพงษ์ ออกบทความ : ครบรอบ 15 ปี รัฐประหาร "19 กันยา" การสูญเสียโอกาสของไทย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ต่อพงษ์ ไชยสาส์น บทความพิเศษ : ครบรอบ 15 ปี รัฐประหาร "19 กันยา" บาดแผล ความขัดแย้ง และการสูญเสียโอกาสของไทย ถ้าไม่มีรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน 2549 ประเทศไทยจะก้าวหน้าและพัฒนาไปอย่างไร

 

นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น ประธานคณะกรรมการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พรรคไทยสร้างไทย  ออกบทความพิเศษ : ครบรอบ 15 ปี #รัฐประหาร #19กันยา บาดแผล ความขัดแย้ง และการสูญเสียโอกาสของไทย

 

 

ถ้าไม่มีรัฐประหารในวันที่ "19 กันยายน 2549" ประเทศไทยจะก้าวหน้าและพัฒนาไปอย่างไร

 

 

การตัดสินใจทำรัฐประหารของพลเอกสนธิ บุณยะรัตกลิน ในวันนั้น ได้เปลี่ยนประเทศไทยเข้าสู่ทศวรรษที่สูญเปล่า เป็นประเทศที่ล้มเหลว ทางการเมืองการปกครอง เผชิญหน้าความล้มเหลวของระบบเศรษฐกิจ เกิดความแตกแยกของผู้คนในสังคม จนยากที่จะประสานให้กลายเป็นเนื้อเดียวกันแบบเดิมได้

 

 

ปี 2549 ไทยเป็นประเทศที่มีความยั่งยืนในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2540 ที่มีบทบัญญัติที่เป็นประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน นายกฯที่ต้องเป็นผู้แทนของประชาชน มีองค์กรอิสระในการตรวจสอบ และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

 

 

นับตั้งแต่ปี 2544 ที่มีการเลือกตั้งโดยใชรัฐธรรมนูญ 2540 นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ มีนโยบายสาธารณะที่ตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาของประเทศตอบสนองต่อประชาชนอย่างแท้จริง 

 

 

แน่นอนว่าพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยทำให้อำนาจของ รัฐราชการ ที่เคยครอบงำ และมีบทบาทอิทธิพลเหนือระบบการเมือง ต้องลดบทบาทและถอยหลังออกจากระบบการเมืองไทย

 

 

ในเวทีโลก รัฐบาลประชาธิปไตยได้รับการยอมรับและมีบทบาทนำ ทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทวีปเอเชีย และในระดับโลก ซึ่งส่งผลต่อการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ ประชาชนมีความอยู่ดีกินดี สามารถชำระหนี้ ที่มีต่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศได้หมดก่อนกำหนดเวลาการชำระหนี้

 

 


 

 

 

อ่านข่าวเกี่ยวข้อง

 

 

 

 

 

 

 

โครงการสาธารณะขนาดใหญ่ ที่จะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ในภูมิภาค เช่น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ความเหลื่อมล้ำของประชาชนในชาติ ถูกลดช่องว่างลง ผ่านโอกาสทางเศรษฐกิจ

 

 

เช่น กองทุนหมู่บ้าน ,สินค้าหนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล แต่ที่สาคัญ ที่สุดคือประชาชนไทยเข้าถึงบริการ สาธารณสุขในโครงการหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ

 

 

น่าเสียดายที่ระบอบประชาธิปไตยกำลังตั้งมั่นอย่างมั่นคง  ระบบเศรษฐกิจที่กำลังเติบโต ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ต้องมาหยุดชะงักจากการรัฐประหารในวันที่ "19 กันยายน 2549"

 

 

กลไกของรัฐราชการและนักการเมืองจำนวนหนึ่ง ที่พ่ายแพ้ต่อความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และไม่สามารถปรับตัวเข้ากับระบบการเมืองที่เปลี่ยนแปลงได้ร่วมทฤษฎีสมคบคิด ในการทำรัฐประหาร

 

 

และจากวันนั้นจนถึงวันนี้ บาดแผลของการทำรัฐประหารยังฝังอยู่ในส่วนลึกของสังคมไทยอย่างไม่มีวันลืมเลือน

 

 

ในทางการเมือง ระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีสิทธิเสียง มีสิทธิเสรีภาพ ได้กลายเป็นความทรงจำอันพร่าเลือน หลังจากรัฐประหารในวันนั้น ยังมีการทำรัฐประหารอีกคร้ังในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 

 

 

 

มีการจำกัด สิทธิ เสรีภาพของประชาชน โดยใช้มาตรา 44 อำนาจของประชาชนในการปกครองประเทศถูกยึดอำนาจไปในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ซ้ำร้ายเสียงของประชาชนก็ถูกอำนาจเผด็จการ ปิดปากและทำร้าย อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

 

 

 

 

 

ในทางสังคม รอยร้าวความแตกแยกของความคิดทางการเมือง ที่ถูกแบ่งออกเป็นสองฝ่ายได้ทำให้ประเทศนี้ ไม่สามารถกลับไปเป็นสังคมแห่งความสันติสุขแบบเดิม

 

 

ในทางเศรษฐกิจนับแต่วันที่ "19 ก.ย. 2549" เป็นต้นมา เศรษฐกิจไทยถดถอย ลงเป็นลำดับ ขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลกถูกทำลายลงโดยเฉพาะวิสัยทัศน์ของผู้นำจากการทำรัฐประหาร ที่ไม่เข้าใจ และรอบรู้ในเศรษฐกิจดิจิทัล ทำให้ประเทศไทยสูญเสียโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย

 

 

วันที่ "19 กันยายน 2564" ที่กำลังจะมาถึง จะเป็นวันครบรอบ 15 ปี ของรอยด่างประชาธิปไตยในประเทศไทยอันเกิดจากการทำรัฐประหารในปี 2549

 

 

เราขอเรียกร้องให้คืนสิทธิเสรีภาพ อำนาจของประชาชนที่ถูกริดรอนไปโดยเฉพาะรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560 และขอให้การทำรัฐประหารสิ้นสุดไปจากสังคมไทยเพราะระบอบประชาธิปไตยคือ แนวทางการแก้ไขปัญหา และหาทางออกให้กับสังคมได้อย่างดีที่สุด
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ