โควิด-19

เผย "วัคซีนโควิด" "ChulaCov19" ต้านได้ 4 สายพันธุ์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เผย "วัคซีนโควิด" "ChulaCov19" ต้านได้ 4 สายพันธุ์ พร้อมจุดเด่นอื่น ๆ อีกเพียบ

"โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์" สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ แจ้งการทดสอบ "วัคซีนโควิด" "ChulaCOV19" ซึ่งเป็นวัคซีนชนิด "mRNA" สัญชาติไทย โดยอาสาสมัครผู้ผ่านการคัดกรองที่มีสุขภาพดีในระยะที่ 1 เผยสามารถต้าน "โควิด-19" ได้ถึง 4 สายพันธุ์ และยังมีจุดเด่นอื่นอีกหลายข้อ 

 

 

 

ความคืบหน้าการทดสอบฉีด "วัคซีนโควิด" "ChulaCov19" (จุ-ฬา-คอฟ-ไนน์-ทีน) วัคซีนชนิด "mRNA" ได้ทดลองในอาสาสมัครผู้ผ่านการคัดกรองที่มีสุขภาพดี ในระยะที่ 1 พบว่า อาสาสมัครมีภูมิคุ้มกันดี กระตุ้นแอนตี้บอดี้ได้สูงมากในการยับยั้งเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิม และสามารถยับยั้งเชื้อข้ามสายพันธุ์ได้ทั้ง 4 สายพันธุ์คือ อัลฟา , เบตา , แกมมา และ เดลตา ได้เกิน 80% 

 

"วัคซีนโควิด" "ChulaCov19" ยังกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิด T-Cell ซึ่งจะช่วยขจัดและควบคุมเชื้อที่อยู่ในเซลล์ของคนที่ติดเชื้อได้อีกด้วย เร่งเตรียมเดินหน้าผลิต และเตรียมการเพื่อขึ้นทะเบียนใช้ในภาวะฉุกเฉินต่อไป 

 

ในส่วนกรณีจุดเด่นอื่น ๆ ของวัคซีน "ChulaCov19" ก็จะมีทั้ง 

 

1.จากการทดสอบความทนต่ออุณหภูมิของวัคซีนพบว่า วัคซีน ChulaCov19 สามารถอยู่ในอุณหภูมิตู้เย็น (2-8 องศาเซลเซียส) ได้นานถึง 3 เดือน และเก็บในอุณหภูมิห้อง (25 องศาเซลเซียส) ได้นาน 2 สัปดาห์ ซึ่งทำให้การจัดเก็บรักษาง่ายกว่าวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ยี่ห้ออื่นเป็นอย่างมาก 

 

 

2.ผลการทดสอบในสัตว์ผ่านเกณฑ์ดีมาก จากการทดลองในหนูทดลองชนิดพิเศษที่ออกแบบให้สามารถเกิดโรคโควิด-19 ได้ พบว่า เมื่อหนูได้รับการฉีดวัคซีน ChulaCov19 ครบ 2 เข็ม ห่างกัน 3 สัปดาห์ แล้วให้หนูทดลองได้รับเชื้อโควิด-19 เข้าทางจมูก สามารถป้องกันหนูทดลองไม่ให้ป่วยเป็นโรคและยับยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าสู่กระแสเลือด รวมทั้งสามารถลดจำนวนเชื้อในจมูกและในปอดลงไปอย่างน้อย 10,000,000 เท่า 

 

เมื่อทดสอบความเป็นพิษก็พบว่าปลอดภัยดี ส่วนหนูที่ไม่ได้รับวัคซีนจะเกิดอาการป่วยโควิด-19 ภายใน 3-5 วัน และทุกตัวมีเชื้อสูงในกระแสเลือด ในจมูก และปอด เป็นจำนวนมาก 

 

3.วัคซีนชนิด mRNA สามารถผลิตได้เร็ว ไม่ต้องรอเพาะเลี้ยงเชื้ออย่างวัคซีนบางชนิด แต่วัคซีนชนิด mRNA เพียงรู้สายพันธุ์ของเชื้อก็ไปออกแบบวัคซีนได้ สังเคราะห์ในหลอดทดลอง ไม่เกิน 4 สัปดาห์มีวัคซีนมาทดสอบในหนูได้ การที่ผลิตได้รวดเร็วนี้ ทำให้ไม่ต้องใช้โรงงานขนาดใหญ่ นอกจากนี้ เมื่อเกิดเชื้อกลายพันธุ์ก็สามารถสังเคราะห์วัคซีนได้เร็วเช่นกัน 


ขอบคุณข้อมูลจาก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย www.md.chula.ac.th 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ