ข่าว

"กยท."ขยายผลโครงการชะลอ"ขายยาง" มั่นใจช่วยกระตุ้นราคาสร้างเสถียรภาพ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

บอร์ด "กยท."ไฟเขียว โครงการชะลอการ"ขายยาง"ของสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง   เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง  ระยะที่ 2 ขยายผลดำเนินโครงการทั่วประเทศ สนองความต้องการของเกษตรกร

บอร์ด กยท.ไฟเขียว โครงการชะลอการขายยางของสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางระยะที่ 2 ขยายผลดำเนินโครงการทั่วประเทศสนองความต้องการของเกษตรกร มั่นใจช่วยยกระดับราคาซื้อขายยางในตลาดและเกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม ลดความเสี่ยง ในขณะที่ผู้ประกอบการจะได้ยางที่มีคุณภาพ

               "กยท."ขยายผลโครงการชะลอ"ขายยาง" มั่นใจช่วยกระตุ้นราคาสร้างเสถียรภาพ
นายณกรณ์  ตรรกวิรพัท  ผู้ว่าการ การยางแห่งประเทศไทย(กยท.)เปิดเผยว่า คณะกรรมการ กยท.ได้เห็นชอบให้ดำเนินโครงการชะลอการขายยางของสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง ระยะ 2 หลังจากประสบผลสำเร็จในการนำร่องดำเนินโครงการชะลอการขายยางของสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางเขตภาคเหนือ ที่ส่งผลให้ราคายางก้อนถ้วยมีเสถียรภาพมากขึ้นเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น จากผลต่างของราคาที่จำหน่ายสูงสุดถึง 4.50 บาทต่อกิโลกรัมทำให้ราคายางทำให้ราคายางที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยจาก 26.56 บาทต่อกิโลกรัมเป็นราคาเฉลี่ย 29.72 บาท หรือเพิ่มขึ้น 3.16 บาทต่อกิโลกรัม


                    "กยท."ขยายผลโครงการชะลอ"ขายยาง" มั่นใจช่วยกระตุ้นราคาสร้างเสถียรภาพ

 

 

                "กยท."ขยายผลโครงการชะลอ"ขายยาง" มั่นใจช่วยกระตุ้นราคาสร้างเสถียรภาพ

                   นายณกรณ์  ตรรกวิรพัท  ผู้ว่าการ การยางแห่งประเทศไทย(กยท.)

    นอกจากนี้ ยังทำให้ทัศนคติของการผลิตและจำหน่ายยางของเกษตรกรชาวสวนยางที่ผลิตยางก้อนถ้วยเปลี่ยนไปในแนวทางที่ดีขึ้น โดยพัฒนาเป็นการผลิตยางก้อนถ้วยแห้ง แทนการผลิตยางก้อนถ้วยเปียก เกิดภาพลักษณ์ที่ดีของอา ชีพการทำสวนยาง  สามารถลดมลภาวะเป็นพิษ  ลดอุบัติเหตุทางท้องถนน จากการขนส่งยางก้อนถ้วยเปียกบนท้องถนน ทำให้ถนนเลื่อนได้   ดังนั้นจึงทำให้เกษตรกรชาวสวนยางในภูมิภาคอื่นๆต้องการให้ กยท.ขยายผลโครงการดังกล่าว

                          "กยท."ขยายผลโครงการชะลอ"ขายยาง" มั่นใจช่วยกระตุ้นราคาสร้างเสถียรภาพ
    สำหรับโครงการชะลอการขายยางของสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง ระยะ 2 ดังกล่าว กยท. จะขยายผลดำเนินการทั่วประเทศ ซึ่ง กยท.มั่นใจว่า นอกจากจะเป็นไปตามความต้องการของเกษตรกรชาวสวนยางแล้ว ยังเป็นการชะลอปริมาณผลผลิตยางพาราออกสู่ตลาด  ช่วยให้สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง มีสภาพคล่องทางการเงินในระหว่างรอขายผลผลิต  ช่วยลดความเสี่ยงจากการผันผวนของราคายางให้มีเสถียรภาพมากขึ้น   ในขณะที่ผู้ประกอบการจะได้ยางที่มีคุณภาพที่ดี   รวมทั้งยังเป็นการยกระดับราคาซื้อขายยางในตลาด และเกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมตามกลไกตลาด   โดยสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับกยท.จะทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนบริหารจัดการยางทั้งหมด  
 "ขณะนี้มี สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางที่เข้าร่วมโครงการรวม 79 แห่ง มีจำนวนสมาชิกรวม 45,800 ราย  และการดำเนินโครงการในระยะที่ 2 ดังกล่าว  กยท. ไม่ได้ดำเนินการเฉพาะยางก้อนถ้วยเท่านั้น แต่ยังขยายผลดำเนินโครงการฯ กับน้ำยางสด  ยางแผ่นดิบ  ยางแผ่นรมควันด้วย"  นายณกรณ์กล่าว
ทั้งนี้กยท.ได้ตั้งเป้าในการดำนินโครงการชะลอการขายยางของสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ระยะ 2 ไว้ ประมาณ 20,300 ตัน โดยจะใช้งบประมาณจากกองทุนพัฒนา 49(3)  เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการเสริมสภาพคล่องให้กับสถาบันเกษตรกร รวมทั้งสิ้นกว่า 276 ล้านบาท โดยสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางที่เข้าร่วมโครงการฯจะได้รับสินเชื่อวงเงิน 80% ของมูลค่ายาง และยังได้รับค่าบริหารโครงการ อีก  0.50 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนการกำหนดราคากลางสำหรับประเมินสินเชื่อนั้น กยท.จะใช้ราคาเฉลี่ยย้อนหลัง 15 วัน ของราคากลางเปิดตลาดของยางชนิดนั้นๆ
ผู้ว่าการ กยท.กล่าวต่อว่า กยท.ได้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมสำหรับยางที่เข้าร่วมโครงการจะต้องขายผ่านตลาดกลางยางพารา หรือตลาดเครือข่ายตลาดกลางยางพาราจังหวัดของ กยท. เท่านั้น เมื่อขายยางแล้ว กยท.จะหักเงินสินเชื่อกลับเข้าโครงการฯ และจ่ายเงินส่วนต่างให้แก่สถาบันเกษตรกร  ระยะเวลาของโครงการตั้งแต่เดือน มิถุนายน – กันยายน2564 ส่วนการใช้เงินคืนนั้น สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ต้องส่งใช้เงินคืนในวงเงินที่ได้รับอนุมัติเต็มจำนวน โดยไม่เสียดอกเบี้ยใน 3 เดือนแรก แต่เมื่อสิ้นสุดโครงการฯ สถาบันเกษตรกรไม่ขายยางได้ จะมีการคิดอัตราดอกเบี้ยตามระเบียบ สูงสุดไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี ของมูลค่ายางที่ขอสินเชื่อ
 อย่างไรก็ตามเพื่อสร้างความมั่นในในคุณภาพยางที่เข้าร่วมโครงการฯกยท.ยังได้มาตรฐานคุณภาพยางที่จะเข้าร่วมโครงการและการจัดเก็บ  โดย ยางก้อนถ้วยจะต้องมีเป็นยางที่มีค่า DRC 75%  และสามารถเก็บได้ไม่น้อยกว่า 1 เดือน โดยไม่เสียคุณภาพส่วนน้ำยางสดกำหนดค่า DRC 100%และจะต้องเก็บได้ไม่น้อยกว่า 10 วัน โดยไม่เสียคุณภาพ ในแท็งค์ที่ได้มาตรฐานที่ กยท. กำหนด ในขณะที่ยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรวมควันจะต้องเต็มได้ไม่น้อยกว่า 1 เดือนโดยไม่เสียคุณภาพ    สำหรับสถานบันเกษตรกรที่สนใจร่วมโครงการฯสามารถติดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การยางแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ หรือหน่วยงานของกยท.ในส่วนภูมิภาค
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ