คอลัมนิสต์

เปิด 3 จุดเสี่ยงทุจริต โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มทฤษฎีใหม่ วงเงิน 9.8 พันล้าน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เกาะติดเงินกู้ 4 แสนล้าน หลังรัฐบาลอนุมัติโครงการ คมชัดลึก เปิด 3 ช่องโหว่เสี่ยงทุจริต โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มทฤษฎีใหม่ วงเงิน 9.8 พันล้าน

ภายหลังจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ในฐานะหน่วยงานเลขานุการและหน่วยงานกลั่นกรองโครงการต่างๆ เปิดตัวเว็บไซต์ THAIme เพื่อใช้ติดตามตรวจสอบบริหารจัดการงบเงินกู้ 1 ล้านล้านบาทจากภาคประชาชน โดยเฉพาะส่วน 400,000 ล้านบาทที่มีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยภายหลังโควิด-19 เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 63 และปิดรับโครงการไปเมื่อวันที่ 12 มิ.ย.63  ปรากฏว่า หน่วยงานราชการได้ส่งโครงการเข้ามามากถึง 46,411 โครงการ รวมวงเงินกว่า 1,448,474  ล้านบาท ซึ่งสูงกว่า 400,000 ล้านบาทที่กำหนดไว้กว่า 3 เท่ากว่า  

แต่มีโครงการที่ผ่านคณะกรรมการกลั่นกรอง ผ่านการวิเคราะห์เบื้องต้นในรอบแรกแล้ว 186 โครงการ วงเงิน 92,400 ล้านบาท เป็นแผนงานสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก กว่า 54.1%  แผนงานสร้างความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน 21.6% และแผนงานกระตุ้นอุปโภค บริโภค และกระตุ้นการท่องเที่ยว 24.2% โครงการเหล่านี้ จะต้องผ่านกลไกอนุกรรมการกลั่นกรองฯ และคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ก่อนจะเสนอ ครม.พิจารณา

โดยเบื้องต้น คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาอนุมัติวงเงินงบประมาณรอบแรก 5 โครงการ วงเงินรวม 15,520 ล้านบาท เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2563  ซึ่งทั้ง 5 โครงการแรก เน้นเรื่องการจ้างงาน สร้างอาชีพ และให้ ความรู้ประชาชนเศรษฐกิจฐานราก เป็นหลัก

 

1.โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่ม เกษตรทฤษฎีใหม่  เสนอโดยสำนักปลัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วงเงิน 9,805,707,000 บาท

 

2.โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์ “โคก หนอง นา โมเดล”  เสนอโดยกรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย วงเงิน 4,787,916,000 บาท

 

3.โครงการพัฒนาธุรกิจบริการดินและปุ๋ย เพื่อชุมชน (One Stop Service)  เสนอโดยกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วงเงิน 169,885  บาท

4.โครงการพื้นที่ท่องเที่ยวปลอดภัย (Safety Zone) เสนอโดยกรมการท่องเที่ยว กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา วงเงิน 15,000,000 บาท

5.โครงการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ด้านสัตว์ป่า เสนอโดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วงเงิน 741,588,000 บาท

วงเงินรวม 15,520 ล้านบาท

อ่านข่าวเกี่ยวข้อง : ครม.ไฟเขียวเงินล็อตแรก 1 แสนล้าน ฟื้นฟูเศรษฐกิจ-สังคม

                         จะคุ้มมั๊ย!!งบ 4 แสนล้าน บางโครงการ งบ 6.6 ล้าน เน้น ให้วิทยากรเดินหน้าอบรม​​​​​​​

 

สำหรับ ทางคมชัดลึก ออนไลน์ จะผ่า “โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่” ถือเป็นโครงการที่ใช้เม็ดเงินสูงที่สุด ในกลุ่ม 5 โครงการแรกที่ผ่านการอนุมัติลอตแรก ให้ได้ดูว่า มีจุดช่องโหวต ความเสี่ยง ความคุ้มค่ากับเม็ดเงินหรือไม่อย่างไร

เมื่อตรวจสอบข้อมูลในเว็บไซต์ Thaime ก็จะพบว่า โครงการนี้เดิม ของบ 14,315 ล้านบาท เสนอโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่สุดท้าย ได้ตัดลบลงเหลือ 9,805 ล้านบาท คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติแล้ว

โครงการนี้ มีเป้าหมายพื้นที่ดำเนินการ 6,918 ตำบล ตำบลละ 10 ราย รวม 69,180 ราย รายละ 3 ไร่ เป็นพื้นที่ 207,540 ไร่ ระยะเวลาดำเนินการ 15 เดือน (เริ่มต้นเดือน เริ่มกรกฎาคม 2563 – กันยายน 2564)

ต่อมา ทางสำนักงาน ปปท. ประเมินความเสี่ยการทุจริตการใช้จ่ายงบประมาณ ตามพรก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เกี่ยวกับโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ พบโอกาสและความเสี่ยงดังนี้

1.ความเร่งด่วนในการได้รับเงินงบประมาณในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีงบประมาณ  พบความเสี่ยงที่ หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ต้องเร่งรีบในการดำเนินการก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จโดยเร็ว อาจทำให้เกิดช่องว่างการปฏิบัติตามระเบียบ

2.กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาวัสดุอาจมีการเอื้อประโยชน์ เช่น กำหนดคุณลักษณะพัสดุให้สอดคล้องกับคุณสมบัติของพวกพ้อง ขาดความโปร่งใสในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ส่งผลให้งานไม่มีประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณไม่คุ้มค่าและโปร่งใส

ก็พบมีความเสี่ยงการทุจริต 1.ระเบียบ กฎหมายเกี่ยวข้อง ค่อนข้างมาก และมีการปรับเปลี่ยน ระเบียบอยู่ตลอด 2.กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างมีหลาย ขั้นตอน โดยอาจมีผู้ปฏิบัติงานเพียงคนเดียวทำให้เกิดความผิดพลาดได้ 3. ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจ ไม่เพียงพอหรือประสบการณ์ในการปฏิบัติงานน้อย

3.ความบกพร่องในการเบิกจ่ายงบประมาณ (การเบิกค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ การเดินทางไปราชการ หรือการประชุม อบรมสัมมนา และค่าใช้จ่ายอื่นๆ) เนื่องจากระยะเวลามีจำกัด อาจทำให้เจ้าหน้าที่ขดความรอบคอบในการตรวจรับพัสดุและการเกจ่ายงบประมาณ โอกาสความเสี่ยง 1.การควบคุม กำกับดูแล ตรวจสอบเรื่องการเบิกจ่ายค่าตอบแทนเกิดขอผิดพลาด ไม่เป็นไปตามระเบียบข้อกฎหมายที่กำหนด 2.ผู้ปฎิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจ ระเบียบ ข้อกฎหมายไม่เพียงพอหรือมีประสบการณ์น้อย 3.ผู้ปฏิบัติงานด้วยความประมาท เลินเล่น

ซึ่งนอกจากนี้ ทาง คณะกรรมการยังมีข้อเสนอถึงผู้บริหารโครงการ เรื่องป้องกันความเสี่ยง โดยเน้นย้ำ อบรมทำความเข้าใจ เจ้าหน้าที่ เกี่ยวกับกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้าง ,ข้อกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติการและตรวจสอบได้ ให้หัวหน้างานติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ปฎิบัติงานอย่างเคร่งครัดด้วย

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ