คอลัมนิสต์

จะคุ้มมั๊ย!!งบ 4 แสนล้าน บางโครงการ งบ 6.6 ล้าน เน้น ให้วิทยากรเดินหน้าอบรม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ตรวจสอบ งบ 4 แสนล้าน ภาครัฐเสนอโครงการฯ 1.4 ล้านล้านบาท บางโครงการ งบ 6.6 ล้าน เน้น ให้วิทยากรเดินหน้าอบรม

ภายหลังจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ในฐานะหน่วยงานเลขานุการและหน่วยงานกลั่นกรองโครงการต่างๆ เปิดตัวเว็บไซต์ THAIme เพื่อใช้ติดตามตรวจสอบบริหารจัดการงบเงินกู้ 1 ล้านล้านบาทจากภาคประชาชน โดยเฉพาะส่วน 400,000 ล้านบาทที่มีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยภายหลังโควิด-19 เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 63 และปิดรับโครงการไปเมื่อวันที่ 12 มิ.ย.63  ปรากฏว่า หน่วยงานราชการได้ส่งโครงการเข้ามามากถึง 46,411 โครงการ รวมวงเงินกว่า 1,448,474  ล้านบาท ซึ่งสูงกว่า 400,000 ล้านบาทที่กำหนดไว้กว่า 3 เท่ากว่า  

จะคุ้มมั๊ย!!งบ 4 แสนล้าน บางโครงการ งบ 6.6 ล้าน เน้น ให้วิทยากรเดินหน้าอบรม

โดยโครงการเงินกู้แบ่งออกเป็น 4 แผนงาน ประกอบด้วยแผนงานที่ 1 เน้นการลงทุนและกิจกรรมการพัฒนาที่สามารถพลิกฟื้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แผนงานที่ 2 การฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากและชุมชน ที่เน้นสร้างงานรองรับการกลับสู่ต่างจังหวัด แผนงานที่ 3 ส่งเสริมการบริโภคและกระตุ้นเศรษฐกิจ และแผนงานที่ 4 การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระดับชุมชน

แต่เสนอมาเยอะก็ไม่ใช่จะผ่านทุกโครงการ เพราะระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กำหนดขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติโครงการฯ ซึ่งมีการตรวจสอบ กลั่นกรองพอสมควร

 

หน่วยงานเจ้าของโครงการ : จัดทำโครงการ เสนอตามวิธีการที่ คณะกรรมการฯกำหนด (รูปแบบอิเล็กทรอนิส์ และเอกสารจำนวน 15 ชุด ส่งให้สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

สศช. : พิจารณาจัดทำความเห็น ไม่ช้ากว่า 10 วัน  ถ้าครบถ้วน ส่งเข้ากระบวนการพิจารณาและอนุมัติโครงการ แต่ถ้าไม่สมบูรณ์ ส่งกลับ หน่วยงานเจ้าของโครงการเพิ่มเติมแก้ไขข้อมูล แล้ว ส่งเข้า กระบวนการพิจารณาและอนุมัติโครงการ

 

จะคุ้มมั๊ย!!งบ 4 แสนล้าน บางโครงการ งบ 6.6 ล้าน เน้น ให้วิทยากรเดินหน้าอบรม

กระบวนการพิจารณาและอนุมัติโครงการ

ขั้นที่ 1 ผ่าน คณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนงาน/โครงการฯ กลุ่มที่ 3  ซึ่งคณะกรรมการ จะประกอบด้วย 1.นายอนุชา พิชยนันท์ (รศช./สศช.) เป็นประธานอุนกรรมการ 2.ที่ปรึกษา สำนักงานงบประมาณ(สงป.)เป็นรองประธานอนุกรรมการ  3.ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล อนุกรรมการ 4..ศ.ดร.สกนธ์ วรัญญวัฒนา อนุกรรมการ 5.ผู้แทน สศค. อนุกรรมการ 6.ผู้แทน สบน. อนุกรรมการ 7.ผู้แทน นร. อนุกรรมการ 8.ผู้แทน บก. อนุกรรมการ 9. ผู้แทน สคก. อนุกรรมการ 10.นางธิดา พัทธธรรม (ทปษ./สศช.) อนุกรรมการ/เลขานุการ 11.นายสุริยนต์ ธัญกิจจานุกิจ (ทปษ./สศช.) อนุกรรมการ/เลขานุการ

ซึ่งคณะอนุกรรมการจะพิจารณาจัดทำความเห็นไม่ช้ากว่า 7 วัน แล้วส่งโครงการฯและความเห็น ไปสู่คณะกรรมการกลั่นกรองแผนงาน/โครงการ กลุ่มที่ 3 

ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองแผนงาน/โครงการ กลุ่มที่ 3  จะประกอบไปด้วย 1.เลขาธิการ สศช. ประธานกรรมการ 2. ปลัด นร. กรรมการ 3.ปลัด กค.  กรรมการ 4.ผอ.สงป. กรรมการ 5.ผอ.สบน. กรรมการ 6. ผอ.สศค. กรรมการ 7.นายปกรณ์ นิลประพันธ์ กรรมการ 8.รองเลขาธิการ สศช. เลขานุการ 9.ผู้แทน สงป. ผู้ช่วยเลขานุการ 10.ผู้แทน สบน. ผู้ช่วยเลขานุการ

คณะกรรมการกลั่นกรองชุดใหญ่ จะพิจารณาทำความเห็น ไม่ช้ากว่า 13 วัน  รวมระยะเวลาพิจารณาทั้ง 2 ชุด ทำความเห็นไม่ช้ากว่า 20 วัน  แล้วคณะกรรมการ ก็เสนอโครงการฯ ที่ผ่านการพิจารณาเข้าสู่ คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

 

เมื่อคมชัดลึก ออนไลน์ ได้ตรวจสอบ เวปไซต์ thaime ได้รายงานข้อเสนอโครงการที่ผ่านการวิเคราะห์เบื้องต้นในรอบแรก พบมี 196 โครงการ วงเงิน 94,069 ล้านบาท แบ่งเป็น

1.แผนงานที่มีวัตถุประสงเพื่อสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก จำนวน 111 โครงการ วงเงิน 51,328.68 ล้านบาท

2.แผนงานสร้างความเจริญเติมโตอย่างยั่งยืน  จำนวน 83 โครงการ วงเงิน 20,340.43 ล้านบาท

3.แผนงานกระตุ้นอุปโภคบริโภคและกระตุ้นการท่องเที่ยว จำนวน 2 โครงการ วงเงิน 22,400 ล้านบาท

ซึ่งในจำนวนนี้ พบว่า มีโครงการที่ เห็นชอบผ่านแล้ว รวมวงเงิน 22,400 ล้านบาท

จะคุ้มมั๊ย!!งบ 4 แสนล้าน บางโครงการ งบ 6.6 ล้าน เน้น ให้วิทยากรเดินหน้าอบรม

 

เมื่อตรวจสอบดูก็พบส่วนมากเป็นโครงการฯ ลงในระดับจังหวัด ที่ผ่านการเห็นชอบแล้ว ส่วนโครงการ ระดับกระทรวง ส่วนกลางนั้น พบว่า ยังไม่มีการอนุมัติแต่อย่างใด ซึ่งวันนี้ เราจะนำเสนอโครงการฯ ที่ผ่านมการเห็นชอบแล้ว คือโครงการยกระดับคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรสู่มาตรฐานเกษตรปลอดภัย  เสนอโครงการโดย สำนักงานประมงจังหวัดปทุมธานี สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปทุมธานี สำนักงานประมงจังหวัดปทุมธานี งบประมาณ 6,691,000 บาท

จะคุ้มมั๊ย!!งบ 4 แสนล้าน บางโครงการ งบ 6.6 ล้าน เน้น ให้วิทยากรเดินหน้าอบรม

ในโครงการนี้ จะมี 3 กิจกรรมย่อย คือ  โครงการยกระดับคุณภาพผลผลิตางการเกษตรสู่มาตรฐานเกษตรปลอดภัย  มี1.กิจกรรมส่งเสริมการผลิตและพัฒนาฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้ได้มาตรฐาน งบประมาณ 5,390,000 บาท รับผิดชอบโดยสำนักงานประมงจังหวัดปทุมธานี

โดยจะดำเนินการ 1.ส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ หัวข้อมาตรฐานการปฏิบัติทางการประมงที่ดีสำหรับฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เกษตรกร จำนวน 200 ราย

2.ตรวจสอบรับรองคุณภาพสินค้าประมง (ตรวจประเมินฟาร์มและตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าเนื้อปลา) โดยผู้ร่วมโครงการต้องได้รับใบรับรองมาตรฐานระดับ GAP ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ส่วนที่เหลือต้องเข้าหลักเกณธ์มาตรฐานเพื่อเตรียมความพร้อในการพัฒนาเข้าสู่ระดับมาตรฐาน GAP ร้อยละ 80

จะคุ้มมั๊ย!!งบ 4 แสนล้าน บางโครงการ งบ 6.6 ล้าน เน้น ให้วิทยากรเดินหน้าอบรม

จะคุ้มมั๊ย!!งบ 4 แสนล้าน บางโครงการ งบ 6.6 ล้าน เน้น ให้วิทยากรเดินหน้าอบรม

ต่อมาคือ 2. กิจกรรมส่งเสริมการเลี้ยงไก่พื้นเมืองปลอดสารในจ.ปทุมธานี งบประมาณ 645,000 บาท รับผิดชอบโดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด

ดำเนินกิจกรรม 1. อบรมให้ความรู้เชิงวิชาการ หลักสูตรทางการเลี้ยงไก่พื้นเมืองของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง (เครือข่ายไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่) จำนวน 50 ราย

2.ส่งเสริมจัดระบบการจัดการโรงเรียน ให้ได้มาตรฐานตามระบบปลอดภัยของกรมปศุสัตว์

 

และกิจกรรมสุดท้ายคือ การพัฒนาศักยภาพเกษตรกรด้านการแปรรูปสัตว์น้ำ งบประมาณ 656,000 บาท รับผิดชอบโดย สำนักงานประมงจังหวัด

ดำเนินกิจกรรม 1.การเพิ่มศักยภาพและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปสัตว์น้ำให้ได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย เกษตรกร จำนวน 30 ราย หมู่ที่ 8 ต.คลองหก อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

2.ส่งเสริมการจัดการโรงเรือนเพื่อให้ได้มาตรฐานการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ตามมาตรฐาน Primay GMP

ซึ่งเมื่อรัฐจ่ายเงินตามโครงการนี้จำนวน 6,691,000 บาท อบรมใน 3 กิจกรรมนี้แล้ว จะทำให้เกษตรกรได้รับประโยชน์ 3 อย่าง 1. พัฒนากลุ่มเกษตรกรที่มีอยู่ให้มีความรู้และทักษะในกระบวนการผลิต การแปรรูปเพิ่มมากขึ้น

2. สามารถยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์สินคาเกษตรให้มีโอกาสขยายตัวและแข่งขันด้านการตลาดมากขึ้น

3.มีแปลง / ฟาร์ม เข้าเกณฑ์มาตรฐานเพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาเข้าสู่ระดับมาตรฐาน GAP/GMP /กรมปศุสัตว์ จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

จะคุ้มมั๊ย!!งบ 4 แสนล้าน บางโครงการ งบ 6.6 ล้าน เน้น ให้วิทยากรเดินหน้าอบรม

และนี่ก็คือ บางส่วนของโครงการ ที่ผ่านการเห็นชอบแล้ว ซึ่งมีเอกสารเพียงแค่ 8 หน้า กิจกรรมยังไม่ชัดเจน แต่เนื้องานหลักๆตามที่เอกสารปรากฎนั้นจะเน้นหนักไปทาง อบรมให้ความรู้เกษตรกร ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่า ถ้าอบรมจบแล้ว เกษตรกร จะสามารถพัฒนา ยกระดับ คุณภาพของตัวเอง ได้เลย ตามวัตถุประสงค์ของโครงการหรือไม่ เราก็คงต้องติดตามกันต่อไป

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ