Lifestyle

เที่ยมชม " วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร " พระอารามสำหรับลี้ภัย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ชวนทำความรู้จัก และ เที่ยวชม พื้นที่ประวัติศาสตร์ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ "วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร" สถานที่เตรียมลี้ภัยการเมืองของ เจ้าฟ้ามงกุฏ

"วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร" พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นวัดที่พระวชิรญาณเถระ หรือ รัชกาลที่ 4 โปรดให้เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2377 ประกอบด้วยพระอุโบสถ พระเจดีย์ และกุฏิ 14 หลัง การก่อสร้างดังดำเนินมาจนกระทั่ง พระวชิรญาณเถระ ลาผนวชและขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอารามได้รับการปฏิสังขรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่อีกครั้ง ในสมัยที่พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นเจ้าอาวาส โดยเจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ 5 และพระราชโอรสธิดา เป็นผู้สนับสนุนทุนทรัพย์ พระอารามยังมีเสนาสนะสร้างเพิ่มเติมและได้รับปฏิสังขรณ์ในสมัยเจ้าอาวาสรุ่นต่อ ๆ มาจวบจนปัจจุบัน

เที่ยมชม " วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร " พระอารามสำหรับลี้ภัย

เที่ยมชม " วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร " พระอารามสำหรับลี้ภัย

ตัวพระอุโบสถ หน้าบันมีลายปูนปั้นรูปมงกุฎ ซึ่งเป็นตราประจำพระองค์รัชกาลที่ 4  ล้อมรอบด้วยลายดอกไม้ บานประตูภายในเป็นภาพทหารจีนสอดสี บนหน้าต่างภายในเป็นภาพเครื่องบูชาแบบจีน กรอบหน้าต่างเป็นภาพเปรียบเทียบอุปมัยถึงวิธีการที่พระบรมศาสดาได้ทรงใช้ในการอบรมสั่งสอนบุคคลชั้นต่างๆ มีรูปชาวยุโรปเครื่องแต่งกายและบ้านเรือนเป็นฝรั่งหมด เขียนโดยช่างสมัยรัชกาลที่ 4 

เที่ยมชม " วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร " พระอารามสำหรับลี้ภัย
 

ด้านในพระอุโบสถ มีภาพจิตกรรม ที่เขียนโดย ขรัวอินโข่ง ช่างเขียนชื่อดังในยุคนั้น และเป็นการอธิบายถึงเรื่องราวของ ชาวต่างประเทศที่ทยอยเข้ามาในสยามเวลานั้น ซึ่งการเขียนภาพดังกล่าว ไม่ใช่เพียงการแหวกขนบ ในการเขียนจิตรกรรมแบบไทย หรือ แบบอยุธยาที่มีค่านิยมสืบต่อกันมา แต่เป็นการเขียนถึงเรื่องต่างชาติ ทั้งสถานีลอนไฟในลอนดอน บ้านเรือน วิถีชีวิต และทั้งหมด ก็แฝงด้วยคติธรรม หลักธรรมต่าง ๆ ภาพหอนาฬิกา ซึ่งเป็นสิ่งแปลกใหม่ในยุคนั้น 

เที่ยมชม " วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร " พระอารามสำหรับลี้ภัย

เที่ยมชม " วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร " พระอารามสำหรับลี้ภัย

เที่ยมชม " วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร " พระอารามสำหรับลี้ภัย


พระเจดีย์ ตั้งอยู่หลังพระอุโบสถ เป็นเจดีย์ทรงกลม ฐานเหลี่ยม สูง 15 วา ภายในทำเป็นห้อง มีประตูทางเข้าตรงกับโบสถ์ บานประตูด้านนอกลงรักประดับมุก เป็นรูปราชกกุธภัณฑ์ มีฉัตรทั้ง 9 ชั้น และ 5 ชั้น พระมหาพิชัยมงกุฎอุณหิส วาลวิชนี ฉลองพระบาท หีบพระโอสถ

เที่ยมชม " วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร " พระอารามสำหรับลี้ภัย

เที่ยมชม " วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร " พระอารามสำหรับลี้ภัย

 
สำหรับสาเหตุที่ รัชกาลที่ 4 ทรงมาสร้างวัดแห่งนี้ ถ้ามองในมุมยุคสมัยและเวลานั้น ย่านนี้ถือว่าห่างไกลมากจากตัวพระนคร หรือ ตัวเกาะรัตนโกสินทร์  และอยู่ในย่านสวน ไม่มีเส้นทางเข้าออกได้สะดวก ทั้งหมดมาจากสถานการณ์ในช่วงเวลานั้น ในช่วงปลายรัชกาลที่ 3 มีข่าวลือว่า อังกฤษ จะบุกสยาม อีกทั้งปัญหาการเมืองภายใน ด้วยรัชกาลที่ 3  ยังไม่ทรงตัดสินพระทัย หลังจากกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์สวรรคตแล้ว จะทรงเลือกใครขึ้นรั้งตำแหน่งรัชทายาทสืบสันตติวงศ์ 

เที่ยมชม " วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร " พระอารามสำหรับลี้ภัย

เที่ยมชม " วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร " พระอารามสำหรับลี้ภัย


ด้วยมีตัวแปรเป็นพวกขุนนาง ถึงพระองค์ จะมีพระอนุชา 3 พระองค์ กรมขุนพิชิตภูเบนทร์ เจ้าฟ้ามงกุฎ หรือ พระวชิรญาณภิกขุในเวลานั้น และ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ และความหวาดระแวงกันเองในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ เจ้านายหลายพระองค์หวั่นวิตกว่า ถ้าองค์ที่ไม่ต้องอัธยาศัยกันขึ้นเป็นใหญ่ ก็อาจจะมีภัยมาถึงตนได้ จึงคิดหาทางป้องกันพระองค์
ในเวลานั้น เชื้อพระวงศ์ที่บวช และเป็นเจ้านายระดับสูงมี 2 พระองค์ คือ เจ้าฟ้ามงกุฎ กับ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิต พระโอรส รัชกาลที่ 1  ซึ่งขณะนั้นดำรงพระอิสริยศเป็น กรมหมื่นนุชิตชิโนรส 

เที่ยมชม " วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร " พระอารามสำหรับลี้ภัย

ด้วยสาเหตุปัจจัยทั้งหลาย จึงทำให้ทั้งสองพระองค์ ทรงสร้างวัดขึ้น 2 สถานที่ เพื่อเป็นสถานที่ลี้ภัย กรมหมื่นนุชิตชิโนรส ทรงสร้างวัดชิโนรส ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎ สร้าง วัดบรมสุข ชื่อเดิมในเวลานั้น ซึ่งเป็นคู่แฝดกับ วัดบวรนิเวศวิหาร  แต่การสร้างวัดของเจ้าฟ้ามงกุฎ ก็เป็นสร้างเตรียมไว้ ไม่เคยได้มาประทับ เพราะสถานการณ์เปลี่ยน สิ้นรัชกาลของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อน พระองค์จึงทรงลาผนวชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติต่อไป .

เที่ยมชม " วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร " พระอารามสำหรับลี้ภัย
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ