Lifestyle

รู้จัก ประเพณี "ลอยกระทง" แต่ละ ภาค เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ประเพณี "ลอยกระทง" ในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทยนั้น ก็มีประเพณีและพิธีการในวันสำคัญวันนี้ที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็ล้วนมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ “การบูชา-ขอขมาพระแม่คงคา”

“ประเพณีลอยกระทง” เป็นประเพณีที่คนไทยให้ความสำคัญ และมีการจัดงานอย่างต่อเนื่องทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งในแต่ละภูมิภาคมีประเพณีและพิธีการที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็ล้วนมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ “การบูชา - ขอขมา พระแม่คงคา และถือเป็นการ สะเดาะเคราะห์ นำสิ่งร้ายๆ ให้พ้นไปจากตัวเอง โดยจะ ลอยกระทง ในวันเพ็ญ เดือน 12 ของทุกปี (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เข้าสู่ช่วงฤดูหนาว อากาศเริ่มเย็นลง และน้ำในลำคลองขึ้นสูงเต็มตลิ่ง สำหรับปีนี้ วันลอยกระทง ตรงกันวันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2565

 

รู้จัก ประเพณี "ลอยกระทง" แต่ละ ภาค เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

 

ประเพณีลอยกระทง ภาคเหนือ

 

เน้นการ “ลอยโคม” ขึ้นบนท้องฟ้า โดยใช้วัสดุที่ทำจากกระดาษบางๆ เช่นเดียวกับการทำว่าว แล้วทำการสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไป โดยชาวเหนือเรียกประเพณีปล่อยโคมแบบนี้ว่า “ยี่เป็ง” มีความหมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนสิบสองนั่นเอง โดยจังหวัดทางภาคเหนือตอนบนที่นิยมและมีชื่อเสียงในการจัดงานประเพณีนี้ อาทิ “จังหวัดเชียงใหม่” ปล่อยโคมยิ่งใหญ่ในประเพณียี่เป็ง “จังหวัดตาก” กับประเพณี ลอยกระทง สาย (กระทงขนาดเล็ก เรียงรายตามสายน้ำ) “จังหวัดสุโขทัย” ประเพณีแห่โคมชักโคมแขวน เล่นพลุตะไล เป็นต้น

รู้จัก ประเพณี "ลอยกระทง" แต่ละ ภาค เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

 

ประเพณีลอยกระทง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

สำหรับในภาคอีสานนั้น ก็มี ประเพณีลอยกระทง ตามสายน้ำ และปล่อยโคมคล้ายคลึงกับภาคเหนือ โดยในสมัยก่อนจะเรียกประเพณีลอยกระทงว่า “สิบสองเพ็ง” โดยจังหวัดทางภาคอีสานที่นิยมและมีชื่อเสียงในการจัดงาน ประเพณีลอยกระทง อาทิ “จังหวัดสกลนคร” นิยม ลอยกระทง ที่ทำจาก “กาบกล้วย” ผู้คนมักจะเรียกว่าเทศกาลลอยประทีป “จังหวัดนครพนม” ในวันลอยกระทง จะนิยมตกแต่งไฟประดับเรือในรูปร่างต่างๆ อย่างสวยงามวิจิตร ซึ่งเรียกว่า “ประเพณีไหลเรือไฟ” “จังหวัดร้อยเอ็ด” ลอยกระทง ในชื่อประเพณี “สมมาน้ำคืนเพ็ง เส็งประทีป” เพื่อ ขอขมา พระแม่คงคา

 

รู้จัก ประเพณี "ลอยกระทง" แต่ละ ภาค เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

 

ประเพณีลอยกระทง ภาคกลาง

 

สำหรับภาคกลาง มีการจัดงาน ลอยกระทง ที่ยิ่งใหญ่ โดยเน้นการ ลอยกระทงในแม่น้ำลำคลอง ด้วยความเป็นชุมชนเมืองที่ไม่เหมาะกับการใช้โคมลอย โดยมีการจัดงานอย่างครึกครื้นทั้งแสงสี การจัดประกวด และความบันเทิงตระการตา สถานที่ที่นิยมจัดงาน อาทิ วัดวาอารามริมแม่น้ำ  และสะพานต่างๆ เป็นต้น

 

รู้จัก ประเพณี "ลอยกระทง" แต่ละ ภาค เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

 

ประเพณีลอยกระทง ภาคใต้

 

สำหรับในภาคใต้นั้น ในสมัยก่อนไม่ได้มีการกำหนดในช่วงวันเพ็ญ เดือนสิบสอง แต่เป็นการทำแพบรรจุอาหารแล้วลอยเพื่อสะเดาะเคราะห์ ปัดสิ่งร้ายเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ ตามความเชื่อของคนท้องถิ่นนั่นเอง

 

ความเชื่อและความสำคัญอื่น ๆ เกี่ยวกับการ "ลอยกระทง" นอกจากเป็นประเพณีที่งดงามแล้ว การ ลอยกระทง ในปัจจุบันถือเป็นการรักษาวัฒนธรรมประเพณีโบราณเอาไว้ให้คงอยู่กับลูกหลาน ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับประเทศ และสำหรับบุคคลทั่วไปนั้น ยังได้ใช้ทักษะการสร้างสรรค์กระทงจากการออกแบบและลงมือทำภายใต้วัสดุและภูมิปัญญาแบบไทยๆ และที่สำคัญที่สุด เพื่อให้ประเพณีนี้ยังคงอยู่คู่กับคนไทยไปทุกยุคสมัย ก็คือการช่วยการรักษาแม่น้ำลำคลอง ที่ช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตและความเป็นอยู่ของพวกเราทุกคนเอาไว้

 

ข้อมูล-ภาพ : กรมศิลปากร

 

อัพเดทประเด็นที่เป็นกระแส กับ คมชัดลึก เพิ่มเติม ที่นี่

Twitter - https://twitter.com/Kom_chad_luek

Instagram - https://www.instagram.com/komchadluek_online/

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ