โควิด-19

เช็คเลยใครได้บ้าง "ค่าเสี่ยงภัยโควิด" รัฐจ่าย 6 เดือน ได้เงินเท่าไหร่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ตรวจสอบ อัปเดต มติ ครม. จนท.ท้องถิ่นได้เฮ เมื่อรัฐจ่าย "ค่าเสี่ยงภัยโควิด" 6 เดือน เช็คเลยใครได้บ้าง ได้เงินเท่าไหร่

ตรวจสอบอัปเดตมติคณะรัฐมนตรีเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้เฮ เมื่อรัฐบาลเตรียมจ่าย "ค่าเสี่ยงภัยโควิด" 6 เดือน เช็คเลยใครได้บ้าง ได้เงินเท่าไหร่

 

ล่าสุด น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกรัฐบาล เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติ ค่าเสี่ยงภัยโควิด 500 บาท 6 เดือน ให้ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ฯลฯ

ทั้งนี้ เมื่อวันอังคารที่ 22 มี.ค. 2565 คณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติงบประมาณจำนวน 811.77 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าตอบแทนเสี่ยงภัยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานส่วนหน้า

 

ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน(สมาชิกอส.)ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย(มท.)จำนวน 270,590 คน ในอัตราคนละ 500 บาทต่อเดือนระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนต.ค. 2564-มี.ค. 2565

 

คณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้มีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สำหรับเป็นค่าตอบแทนเสี่ยงภัยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด่านหน้าในสถานการณ์โควิด-19 

 

ได้แก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน (สมาชิก อส.) จำนวน 270,590 คน ในอัตราเดือนละ 500 บาท/คน เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ถึงมีนาคม 2565 รวมเป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้น 811,770,000 บาท

 

เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้แก่บุคลากรฝ่ายปกครองในระดับพื้นที่ในการปฏิบัติหน้าที่สกัดกั้นและสนับสนุนการบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในระดับพื้นที่ ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความอดทน เสียสละอย่างต่อเนื่อง และยาวนาน เสี่ยงต่อสุขภาพอนามัยและชีวิต

ไม่เพียงเท่านั้น สถานการณืการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระบาดระลอกใหม่ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564-มีนาคม 2565  กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และและสมาชิก อส. ได้ร่วมดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด-19 ในพื้นที่อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ในด้านต่าง ๆ ได้แก่

 

1.การสกัดกั้นการลักลอบเข้าประเทศการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวโดยผิดกฎหมาย ตั้งจุดตรวจ รวม 1.9 แสนครั้ง มีผู้ผ่านการตรวจ จำนวน 3.8 ล้านคน และทำการลาดตระเวนพื้นที่ชายแดน รวม 1.9 แสนครั้ง จับกุมผู้ลักลอบหลบหนี เข้าเมือง ผู้นำพา ผู้ให้ที่พักพิง รวม 6,910 คน

 

 

2.การคัดกรองผู้เดินทางเข้ามาในหมู่บ้าน/ชุมชนกว่า 4.3 แสนคน

 

3.การสนับสนุนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโดยการจัดเตรียมสถานที่ และวัสดุอุปกรณ์ในสถานที่ราชการ และเอกชนที่มีความพร้อม อำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีน ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) กว่า 4.1 ล้านคน

 

4.สนับสนุนจังหวัด อำเภอในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม/ สถานที่กักกันตัวแห่งรัฐในพื้นที่จังหวัด (State Quarantine) / สถานที่กักกันตัวทางเลือก (Alternative Quarantine) / ที่พักคอย / สถานที่แยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation) รวม 10,133 แห่ง 292,898 เตียง

 

5.กวดขันการลักลอบเล่นการพนันการเปิดสถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ ผับ บาร์ คาราโอเกะที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ร่วมกับ นายอำเภอ ปลัดอำเภอ จำแนกเป็น จับกุมการลักลอบเล่นการพนัน จำนวน 263 คดี รวม 1,430 คน และออกตรวจสถานบริการ สถานประกอบการฯ กว่า 40,395 ครั้ง สั่งปิด รวม 15 แห่ง

 

ว่ากันว่า  ก่อนหน้านั้นเจ้าหน้าที่พยาบาล ที่ไปเยี่ยมผู้ป่วยโควิด-19 ที่บ้านก็ได้สิทธิ์ รับเงิน "ค่าเสี่ยงภัยโควิด" ภายใต้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ยังไม่รับเงินครบเต็มจำนวน เนื่องจากหน่วยงานท้องถิ่นเป็นคนตั้งเบิกงบประมาณ และยังไม่มีการดำเนินการ 

 

ประกอบช่วงเดือนมีนาคม 2565 มีการขอถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพสต.) ไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) ในจังหวัดหลายพื้นที่ของประเทศไทย แต่ อบจ. หลายแห่งไม่สามารถรับโอน รพสต. ได้ตามที่ขอ เนื่องจากติดขัดไม่มีการตั้งงบประมาณมารองรับ ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ที่จังหวัดศรีสะเกษ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ