ไลฟ์สไตล์

ข้อควรระวังกับการใช้ "GPS" ในการเดินทางด้วยรถยนต์

ข้อควรระวังกับการใช้ "GPS" ในการเดินทางด้วยรถยนต์

08 พ.ย. 2564

รถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่ออกสู่ตลาดบ้านเราเดี๋ยวนี้จะมีระบบนำทาง GPS ติดตั้ง ให้มาด้วย ใครไม่มีก็สามารถซื้อมาติดตั้งได้เพราะราคาจำหน่ายทุกวันนี้ ถูกกว่าแต่ก่อนมาก รวมถึงบรรดาโทรศัพท์มือถือต่างๆ มักรองรับระบบ 4G มีระบบนำทางติดตั้งให้มาด้วยกันครบทุกรุ่นทุกระบบ

GPS คือ อะไร?

GPS ย่อมาจากคำว่า GLOBAL POSITIONING SYSTEM เป็นระบบบอกตำแหน่ง บนพื้นผิวโลก โดยอาศัยการคำนวนพิกัดของเส้นรุ้ง/เส้นแวง จากสัญญาณนาฬิกาที่ส่งมาจาก ดาวเทียมที่โคจรอยู่โดยรอบโลกซึ่งมีตำแหน่งที่แน่นอน และระบบนี้สามารถบอกตำแหน่ง ณ จุดที่สามารถรับ สัญญาณได้ทั่วโลกโดยเครื่องรับ สัญญาณ GPS รุ่นใหม่ ๆ จะคำนวณความ เร็วและทิศทางเพื่อนำไปใช้ร่วมกับโพรแกรมแผนที่ เพื่อใช้ในการนำทางได้ แต่อย่างไรก็ตาม บางครั้ง GPS ก็เคยพาเราหลงเข้าป่าดงพงไพรมาแล้ว และยังอาจพาไปยังเส้นทางที่ห่าง ไกลที่ไม่มีปั๊มน้ำมันหรือจุดพักรถอีกด้วย

 

ดังนั้นสำหรับผู้ที่ตั้งใจจะใช้ระบบนำทางอย่างจริงจังควรศึกษาข้อควรระวังเอาไว้ จะได้ไม่มีปัญหาตามมาภายหลัง


 

1. ศึกษาว่ารถคุณใช้ GPS โปรแกรม/แบรนด์อะไร - เพราะแบรนด์เป็นตัวมีความน่าเชื่อถือ และ บอกความแม่นยำของเส้นทาง โดยอาจลองระบุปลายทางที่คุณรู้จักหรือต้องไปบ่อย ๆ เพื่อเทสความถูกต้องแม่นยำ รวมถึงศึกษาโหมดต่าง ๆ ทั้งร้านอาหาร ปั๊มน้ำมัน โรงแรม และ ห้างสรรพสินค้า ทางลัด ทางด่วน ว่าอันไหนใช้สะดวกสุด และเราใช้ถนัดมือหรือไม่


 

2. มีสมาธิในการขับขี่ - การใช้ระบบนำทางก็มีส่วนทำให้ท่านเสียสมาธิในการขับขี่ได้อาจจากเสียงในการบอกระยะที่ต้องเลี้ยว หรือการที่ต้องละสายตาเพื่อมามองหน้าจอ GPS
ซึ่งการเสียสมาธินี้อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุตามมาได้โดยเฉพาะหากขับรถเร็ว ดังนั้นไม่ควรขับรถเร็วเวลาใช้ GPS และที่สำคัญผู้ขับขี่ไม่ควรมาปรับเปลี่ยนโหมด GPS ในระหว่างขับขี่รถยนต์ด้วยความเร็วสูงแต่ควรจอดรถเมื่อจำเป็นต้องใช้จริง ๆ เท่านั้น

3. อัพเดตระบบซอฟท์แวร์สม่ำเสมอ และ ดูป้ายเส้นทางควบคู่ไปด้วย - ในบางครั้งถ้าระบบนำทางขาดการอัพเดตเส้นทางอาจจะผิดเพี้ยนไปได้ แต่หากเป็นการนำทางไปในกรุงเทพฯ อาจไม่ค่อยมีปัญหานัก และในการเดินทางในต่างหวัดบางทีเส้นทางนั้นจะเปลี่ยนเป็นขับรถทางเดียวทำให้ไม่สามารถวิ่งสวนทางเข้าไปได้ ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังในการดูป้ายจราจรควบคู่ไปด้วยเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ หรือ เข้าไปกีดขวางการจราจร หรือบางครั้งอาจเกิดจากความผิดพลาดของตัวระบบทำให้คุณต้อง เลี้ยวรถก่อน หรือเลี้ยวหลังจากจุดที่ต้อวเลี้ยวทำให้ต้องเสียเวลาคำนวณหาเส้นทางใหม่ได้ 

 

4. ศึกษาเส้นทาง - ถึงแม้จะมีระบบ GPS ช่วยนำทางให้ผู้ขับขี่ควรทำการบ้านศึกษาเส้นทางก่อนล่วงหน้าโดยเฉพาะเส้นทางที่ไม่คุ้นเคยมาก่อนเพราะ ระบบนำทางอาจพาท่านไปในเส้นทางที่ไม่มีปั๊มน้ำมันหรือจุดพักรถเลย หรือจุดที่อ้อมไปยังเส้นทางไกลมาก ๆ แล้วทำให้คุณสายจากการนัดประชุม

 

5. ศึกษาข้อจำกัดการใช้งาน GPS - เช่น สภาพภูมิอากาศใดที่จะทำให้ไม่สามารถใช้ GPS เต็มประสิทธิภาพได้เช่นวัน ฝนตก เมฆหนา พื้นที่บดบัง เช่น ใต้อุโมงค์ หรืออยู่ระหว่างตึกสูง เป็นต้น รวมถึงฟิล์มกรองแสงในรถยนต์บางยี่ห้อมีผลต่อสัญญาณ GPS ทำให้ สัญญาณจากดาวเทียมไม่สามารถทะลุผ่านไปยังตัวรับสัญญาณ GPS ได้

 

 

ที่มาข้อมูล: 
www.roojai.com/article/car-parts-and-car-accessories/5-carefulness-use-gps/