ข่าว

เช็กด่วน 7 "เครื่องครัวสแตนเลส" เสี่ยง สารปนเปื้อน สมอ. ห้ามซื้อใช้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สมอ. เปิดรายชื่อ "เครื่องครัวสแตนเลส" 7 ชนิด เสี่ยงเจอ "สารปนเปื้อน" โลหะหนัก เร่งบังคับใช้ในปี 2567 คนทำ-คนขาย ฝ่าฝืน เจอโทษหนัก

หลังจากกระทรวงอุตสาหกรรม สั่งกำชับ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) คุมเข้มภาชนะสแตนเลส คุณภาพต่ำจากต่างประเทศ ที่นำเข้ามาจำหน่ายในไทยเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ทางช่องทางออนไลน์ ซึ่งพบว่าเสี่ยงเจอสารปนเปื้อน โลหะหนัก โดยเฉพาะ “เครื่องครัวสแตนเลส” ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคในระยะยาวได้

เครื่องครัว 7 ชนิดเสี่ยงสารปนเปื้อน

นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) กล่าวว่า จากการประชุม กมอ. เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบให้ภาชนะและเครื่องใช้เหล็กกล้าไร้สนิม สำหรับอาหารที่ใช้ในครัวเรือน หรือ “ภาชนะสแตนเลส” เป็นสินค้าควบคุม ตามที่ สมอ. เสนอแล้ว โดยมีการปรับปรุงแก้ไขสาระสำคัญของมาตรฐานให้มีความปลอดภัยมากขึ้น และจะเร่งประกาศให้เป็นสินค้าควบคุมภายในปี 2567

 

 

รวมทั้ง ยังได้เห็นชอบร่างมาตรฐานอีกจำนวน 106 มาตรฐาน เช่น ลิฟต์โดยสารและลิฟต์ที่ใช้ขนของ สายไฟแรงสูง สวิตช์ไฟที่ติดกับสายไฟ เครื่องล้างจานเชิงพาณิชย์ แบตเตอรี่รถไฮบริด บอลลูนขยายหลอดเลือด ยางปิดช่องว่างระหว่างชานชาลากับขบวนรถขนส่งทางราง ยานยนต์ที่ติดตั้งระบบเบรกฉุกเฉินขั้นสูง หม้อหุงข้าวและเตารีดประหยัดพลังงาน หมอนยางพารา น้ำมันหอมระเหยขิงไทย เป็นต้น รวมทั้งเห็นชอบรายชื่อมาตรฐานที่จะจัดทำในปี 2567 เพิ่มเติมอีก จำนวน 349 มาตรฐาน

เครื่องครัว 7 ชนิดเสี่ยงสารปนเปื้อน

ด้านนายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า มาตรฐานนี้ครอบคลุม “เครื่องครัวสแตนเลส” ที่สัมผัสโดยตรงกับอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 7 รายการ ได้แก่

 

  1. หม้อ
  2. กระทะ
  3. ตะหลิว
  4. ช้อน
  5. ส้อม
  6. ถาดหลุมใส่อาหาร
  7. ปิ่นโต

เครื่องครัว 7 ชนิดเสี่ยงสารปนเปื้อน

 

ทั้งนี้ ไม่ครอบคลุมอุปกรณ์ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อให้ควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้ากลุ่มดังกล่าวได้อย่างครบถ้วน เพราะสินค้าเหล่านี้มีการใช้งานแพร่หลายมาก โดยเฉพาะในโรงพยาบาล และโรงเรียน โดยมีข้อกำหนดที่สำคัญ คือ การควบคุมปริมาณโลหะหนัก ได้แก่ โครเมียม นิกเกิล ตะกั่ว แคดเมียม สารหนู และโมลิบดินัม ให้อยู่ในเกณฑ์ที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพผู้บริโภค

 

 

หลังจากนี้ สมอ. จะเร่งดำเนินการประกาศให้เป็นสินค้าควบคุมภายในปี 2567 ซึ่งจะมีผลให้ ทั้งผู้ทำและนำเข้าทุกราย จะต้องขออนุญาตก่อนทำหรือนำเข้า และจะต้องแสดงเครื่องหมายมาตรฐานที่สินค้าทุกชิ้น หากฝ่าฝืนจะมีความผิดตามกฎหมาย โดยผู้ทำ หรือนำเข้าสินค้าโดยไม่ได้รับใบอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

 

สำหรับร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน มีโทษจำคุก ไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ