คอลัมนิสต์

สิ้น"ไกรศักดิ์"ไม่สิ้นกลุ่มราชครู

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สิ้น"ไกรศักดิ์"ไม่สิ้นกลุ่มราชครู เกือบศตวรรษที่ "กลุ่มราชครู" อยู่กับการเมืองไทย แม้วันนี้จะสิ้น"ไกรศักดิ์" แต่ราชครูสาย "อดิเรกสาร" ก็ยังอยู่ในค่าย 3 ป.

 

++
          ทางชีวิตของ ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ มิต่างจากหนังสือประวัติศาสตร์เล่มโตๆ เล่มหนึ่ง ซึ่งบันทึกเรื่องราวการแย่งชิงอำนาจทางการเมือง ด้วยกระบอกปืน และบัตรเลือกตั้ง ทั้งเหตุการณ์รัฐประหาร 2490 , รัฐประหาร 2500 , กำเนิดพรรคชาติไทย , รัฐประหาร 2534 และอวสานของพรรคชาติพัฒนา

 

อ่านข่าว..."สว.วีระศักดิ์" ชู "อ.โต้ง" ตำนานของตระกูล "ชุณหะวัณ" ที่น่าจดจำ
 


          ไกรศักดิ์ เป็นบุตรชายคนเดียวของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรี และท่านผู้หญิง บุญเรือน ชุณหะวัณ เติบโตมาในกลุ่มอำนาจ “ซอยราชครู”


          ปฐมบทของกลุ่มราชครู คือรัฐประหาร 2490 นำโดย จอมพล ผิน ชุณหะวัณ ผู้สร้างตำนานรัฐประหารด้วยน้ำตา

 

สิ้น\"ไกรศักดิ์\"ไม่สิ้นกลุ่มราชครู

ราชครู สายเสรีนิยม

 

          บทศึกษาเรื่อวการแต่งงานและอำนาจของจอมพลผินนั้น หาอ่านได้ในหอสมุด เพราะมีนักวิชาการทำงานวิจัยการเมืองไว้มากมาย สรุปย่อๆดังนี้
          1.อุดมลักษณ์ ลูกสาวคนโต แต่งงานกับ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์
          2.พร้อม ลูกสาวคนรอง แต่งงานกับ อรุณ ทัพพะรังสี (มารดาของกร ทัพพะรังสี)
          3.เจริญ ลูกสาวคนที่สาม แต่งงานกับ พล.ต.อ.ประมาณ อดิเรกสาร
          4.พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ แต่งงานกับบุญเรือน โสพจน์
          5.พูนสุข แต่งงานกับเฉลิม เชี่ยวสกุล


++
กลุ่มราชครูพ่ายแพ้
++
          ในทศวรรษ 2490 มีศึกการเมือง 3 เส้าคือ กลุ่มจอมพล ป.พิบูลสงคราม , กลุ่มราชครู และกลุ่มสี่เสาเทเวศร์ ของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ 


          รัฐประหาร 2500 จอมพลสฤษดิ์ ทำรัฐประหารกวาดล้างกลุ่มจอมพล ป. และกลุ่มราชครู ส่งผลให้กลุ่มราชครู ต้องหันไปทำธุรกิจ ร่วมทุนกับต่างชาติ


          หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ประชาธิปไตยเบ่งบาน พล.ต.อ.ประมาณ อดิเรกสาร และ พล.อ.ชาติชาย ชุณะวัณ ร่วมกันตั้งพรรคชาติไทย เป็นแหล่งรวมนายทุนชาติ นายทุนท้องถิ่น และขุนศึก 


          รัฐบาลผสมโดยการสนับสนุนของ พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา ทำให้กลุ่มราชครูกลับมาเฟื่องฟูอีกหน เมื่อพรรคชาติไทย ร่วมรัฐบาลคึกฤทธิ์


++
กลุ่มราชครูผงาด
++
          ยุคสมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี พรรคชาติไทย ถูกเขี่ยให้เป็นพรรคฝ่ายค้านอยู่ 2 สมัย จนหลังเลือกตั้ง 2531 พล.อ.ชาติชาย ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทย ที่ได้เสียงอันดับ 1 ได้เป็นนายกรัฐมนตรี


          “ไกรศักดิ์” ราชครูรุ่นที่ 3 จึงมีบทบาททางการเมือง โดยการดึงกลุ่มนักวิชาการรุ่นใหม่มาเป็นทีมที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลก มีผลงานสร้างชื่อคือ การผลักดันนโยบายเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า


          ขณะเดียวกัน ปองพล อดิเรกสาร และ กร ทัพพะรังสี ก็มีบทบาทมากขึ้น ได้เป็นรัฐมนตรี และ ส.ส.


          แล้วรัฐประหาร 23 ก.พ.2534 ได้ทำให้กลุ่มราชครู ต้องเผชิญวิบากอีกรอบ พล.อ.ชาติชายถูกเนรเทศไปอังกฤษ

 

 

สิ้น\"ไกรศักดิ์\"ไม่สิ้นกลุ่มราชครู  

"ปรพล อดิเรกสาร" ยังอยู่ในเส้นทางการเมือง

 

 

++
ราชครู 2 สาย
++
          เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ นำมาซึ่งการเลือกตั้งครั้งใหม่ 13 ก.ย.2535 พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ กลับจากอังกฤษมาตั้ง “พรรคชาติพัฒนา” ขณะที่ พล.ต.อ.ประมาณ อดิเรกสาร ยังอยู่ที่พรรคชาติไทยเหมือนเดิม

          เท่ากับว่า กลุ่มราชครู แยกออกเป็น 2 สายคือ พรรคชาติไทย และพรรคชาติพัฒนา


          การเลือกตั้งปี 2538 ไกรศักดิ์ ลงสมัคร ส.ส.กทม.เขต 3 ในนามพรรคชาติพัฒนา ในปี 2538 แต่สอบตก และฟากราชครูสายพรรคชาติไทย ก็ต้องสูญเสียพรรคชาติไทยให้กับตระกูล “ศิลปอาชา”


++
ราชครูกลายพันธุ์
++
          ปี 2543 ไกรศักดิ์ ได้ลงเลือกตั้ง ส.ว.ที่นครราชสีมา โดยได้รับความช่วยเหลือจากสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ไกรศักดิ์ จึงได้เป็น ส.ว.นครราชสีมา
          ปี 2544 ปองพล อดิเรกสาร หอบหิ้วพี่ชาย และลูกชาย พร้อมหัวคะแนนแถวสระบุรี มาอยู่ในร่มเงาของทักษิณ ชินวัตร


          ปี 2550 ไกรศักดิ์ ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ระบบสัดส่วน เขต 5 พรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 1 และได้เป็น ส.ส.พร้อมสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ แกนนำพันธมิตรฯ หลังรัฐประหาร 2557 ไกรศักดิ์ปิดฉากการเมืองที่ ปชป. 


          ปี 2554 กลุ่มราชครูสายอดิเรกสาร เลือกสังกัดพรรคภูมิใจไทย แต่ไม่ประสบผลสำเร็จในสนามเลือกตั้ง 
          ปี 2562 ปรพล อดิเรกสาร ลูกชายปองพล และอดีต ส.ส.สระบุรี ลาออกจากพรรคภูมิใจไทย เข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ แต่ไม่ได้ลงสนามเลือกตั้ง


          เมื่อสิ้นไกรศักดิ์ ก็คงจบตำนานการเมืองราชครูสาย “น้าชาติ” ก็เหลือราชครูสาย “ปู่มาณ” ที่ยังโลดแล่นไปกับพรรคพลังประชารัฐ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ