Lifestyle

Sci. KU Research Utilization and Innovation Forum ครั้งที่ 2

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หัวเรื่อง “โอมิกส์: จากงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์” วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน 2562 ณ ห้องประชุม 341 ชั้น 3 อาคาร 45 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

กิจกรรม  Sci. KU Research Utilization and Innovation Forum (โอมิกส์: จากงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์) จัดโดย คณะทำงานฝ่ายพัฒนานวัตกรรมร่วมกับฝ่ายวิจัยและวิเทศน์สัมพันธ์ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการสนับสนุนโดย เครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) สมาคมนิสิตเก่าคณะวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวัสดุยางและพอลิเมอร์เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีเข้าร่วมประชุมทั้งหมด 150 คน เป็นผู้แทนจากหน่วยงานรัฐและเหล่าทัพ ผู้แทนจากภาคการเกษตรและเอกชน คณาจารย์ คุณครู นิสิต นักศึกษา นักเรียน และสื่อมวลชน

Sci. KU Research Utilization and Innovation Forum ครั้งที่ 2

กล่าวเปิดงานประชุมโดยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร. อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้คณาจารย์ในคณะวิทยาศาสตร์ได้มีโอกาสนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมของคณาจารย์มานำเสนอเพื่อให้เกิดการผลักดันไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างแท้จริงต่อสังคม และเพื่อเป็นเวทีของนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ ได้มีโอกาสแสดงออกถึงการพัฒนาแนวความคิดทางนวัตกรรม กิจกรรมนี้จะเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาทางนวัตกรรมของประเทศอย่างเป็นระบบ จนถึงการเชื่อมโยงผลงานวิจัยที่ได้ไปสู่หน่วยงานที่ต้องการใช้ประโยชน์ เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับภาครัฐและภาคเอกชนตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำของแต่ละอุตสาหกรรม รวมถึงเป็นการบูรณาการองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้เกิดการยกระดับประเทศสู่ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม เติบโต และก้าวไปข้างหน้าร่วมกันทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน

 

Sci. KU Research Utilization and Innovation Forum ครั้งที่ 2

เสวนา (ช่วงเช้า รอบแรก) : เรื่องงานวิจัยทางโอมิกส์ โดยคณาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แก่

  1. รองศาสตราจารย์ ดร. วรรณวิภา วงศ์แสงนาค ภาควิชาสัตววิทยา
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธีรศักดิ์ เอโกบล ภาควิชาพันธุศาสตร์
  3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ครศร ศรีกุลนาถ ภาควิชาพันธุศาสตร์

โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. อรินทิพย์ ธรรมชัยพิเนต ภาควิชาพันธุศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินรายการ

 

Sci. KU Research Utilization and Innovation Forum ครั้งที่ 2

เสวนา (ช่วงเช้า รอบสอง) : เรื่อง โอมิกส์สู่การใช้ประโยชน์ โดยภาคเอกชน ได้แก่

  1. รองศาสตราจารย์ ดร. วิรัตน์ วงศ์แสงนาค 
    บริษัท ศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยทางการแพทย์และการเกษตรแห่งเอเชีย จำกัด
  2. ดร. ระบือศักย์ ขุมทอง บริษัท ศูนย์วิทยาศาสตร์เบทาโกร จำกัด
  3. คุณวรกร รังสี บริษัท Eurofin 

โดยมี คุณอภิญญา บุญยะประณัย ผู้ประกาศข่าวช่อง 5 เป็นผู้ดำเนินรายการ 

 

Sci. KU Research Utilization and Innovation Forum ครั้งที่ 2

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดการ การ Pitching ของนิสิตภายใต้ Theme: Omics Young Entrepreneur for Social Sustainability Competition (Omics YESS Competition) ให้นิสิตนำเสนอแนวคิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และความรู้ทางด้านโอมิกส์ เพื่อการใช้ประโยชน์ในการพัฒนา ทางด้านการเกษตร อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสิ่งทอ การแพทย์ หรือการนำไปใช้ประโยชน์ด้านสังคม
 

Sci. KU Research Utilization and Innovation Forum ครั้งที่ 2

ตัวอย่างผลงานวิจัย โอมิกส์: จากงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ของคณาจารย์ในคณะวิทยาศาสตร์

รองศาสตราจารย์ ดร. วรรณวิภา วงศ์แสงนาค  ภาควิชาสัตววิทยา  ผลงาน การผลิตผงถั่งเช่าและสารคอร์ไดซิปินจากถั่งเช่าสีทองเพื่อการประยุกต์ใช้ทางเภสัชกรรมและเมแทจีโนมิกส์ และไมโครไบโอม สำหรับพัฒนา probiotics การใช้ประโยชน์ เชิงวิชาการ และเชิงพาณิชย์  ผลผลิต กระบวนการเพาะเลี้ยง และกระบวนการผลิตผงถั่งเช่า และชนิดจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ผลลัพธ์ การพัฒนาผงถั่งเช่าเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและเครื่องสำอาง และ Probiotics ผลกระทบ อุตสาหกรรมทางเทคโนโลยีชีวภาพและอุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ

รองศาสตราจารย์ ดร. อรินทิพย์ ธรรมชัยพิเนต ภาควิชาพันธุศาสตร์ ผลงาน การผลิตผงถั่งเช่า และสารคอร์ไดซิปินจากถั่งเช่าสีทองเพื่อการประยุกต์ใช้ทางเภสัชกรรม การใช้ประโยชน์ เชิงวิชาการ ผลผลิต แอคติโนมัยสีท ที่ช่วยให้ข้าวและอ้อยทนเค็ม ป้องกันโรค กลไกการแสดงออกของกลุ่มยีนในอ้อย และไฟโตพลาสมาที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคใบขาว ผลลัพธ์ สายพันธุ์แอคติโนมัยสีทที่ช่วยให้ข้าวและอ้อยทนเค็ม ป้องกันโรค เพื่อพัฒนาต่อยอดใช้ในแปลงจริง ผลกระทบ ส่งเสริมการใช้ชีววิธี ปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ ลดการใช้สารเคมี ในการป้องกันโรคพืช

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรศักดิ์  เอโกบล ภาควิชาพันธุศาสตร์ ผลงาน การใช้ประโยชน์จากเมือกหอยทาก การใช้ประโยชน์ เชิงพาณิชย์ ผลผลิต ข้อมูลเปปไทด์ที่เป็นองค์ประกอบของเมือกหอยทาก ผลลัพธ์ ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์ของเปปไทด์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผลกระทบ เพิ่มมูลค่า และการใช้ประโยชน์จากเมือกหอยทาก

ดร. เมษยะมาศ คงเสมา ภาควิชสัตววิทยา ผลงาน การศึกษาโปรตีโอมิกส์ของคุณภาพน้ำเชื้อกระบือไทย การใช้ประโยชน์  เชิงปศุสัตว์ และเกษตรกรรม ผลผลิต ทราบ Proteomics profile และ Protein marker สำหรับชี้วัดคุณภาพกระบือไทย ผลลัพธ์ กรมปศุสัตว์ และเกษตรกรได้ใช้ประโยชน์ ในการตรวจสอบ ประเมินคุณภาพน้ำเชื้อกระบือไทย ผลกระทบ พัฒนาคุณภาพน้ำเชื้อพ่อพันธุ์กระบือไทย

ดร. มิ่งขวัญ นิพิฐวัธนะผล ภาควิชาพันธุศาสตร์ ผลงาน การใช้ Next-generation sequencing ในการศึกษา microbiome ของรังปลวก และลำไส้ปลวกเลี้ยงรา เพื่อหาแบคทีเรียที่มีความสำคัญต่อการปรากฏของเห็ดโคนในสภาพธรรมชาติ การใช้ประโยชน์  เชิงวิชาการ  ผลผลิต ข้อมูลชนิดของแบคทีเรียที่น่าจะมีความสำคัญต่อสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการผลิตเห็ดโคนในสภาพธรรมชาติ ผลลัพธ์ การพัฒนาแนวทางการเพิ่มปริมาณเห็ดโคนในสภาพธรรมชาติ ผลกระทบ เพิ่มมูลค่า และการใช้ประโยชน์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภัสสร วรรณพินิจ ภาควิชาพันธุ ผลงาน การใช้ Next-generation sequencing ในการระบุประเภทสุกรจากแหล่งโบราณคดีบนพื้นที่สูงใน อำเภอปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน การใช้ประโยชน์  เชิงวิชาการ  ผลผลิต ข้อมูลดีเอ็นเอที่สกัดจากกระดูกสุกรที่พบในแหล่งโบราณคดี ผลลัพธ์ ข้อมูลชนิดสุกรที่ใช้ประกอบข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดีเพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชนบนพื้นที่สูงในอดีต ผลกระทบ เพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวในพื้นที่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุภชัย วุฒิพงศ์ชัยกิจ ภาควิชาพันธุศาสตร์ ผลงาน การศึกษายีนกำหนดเพศและการผลิตน้ำตาลในช่อดอกตาลโตนดด้วย Next-generation sequencing การใช้ประโยชน์  เชิงวิชาการ  ผลผลิต ข้อมูลทรานสคริปของยีนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดเพศในตาลโตนด และยีนควบคุมการผลิตน้ำตาลในงวงตาล ผลลัพธ์ องค์ความรู้พื้นฐานสำหรับการคัดแยกเพศ การกำหนดเพศในพืชกลุ่มปาล์ม และยีนควบคุมการผลิตน้ำตาล ผลกระทบ ความเข้าใจในที่มาของตาลโตนด และการใช้ประโยชน์จากต้นตาลตโนด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปกรณ์ วรรธนะอมร ภาควิชาเคมี ผลงาน ข้อมูลวิถีชีวสังเคราะห์ของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ รวมทั้งการผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพชนิดใหม่จาก cryptic biosynthetic gene cluster ที่พบในเชื้อรา การใช้ประโยชน์ เพื่อนำสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ได้ไปใช้ประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมการแพทย์ หรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  ผลผลิต สารสำคัญ ที่ได้สามารถนำไปพัฒนาเป็นยาได้ ผลลัพธ์ ภาคเอกชนสามารถนำเทคโนโลยีที่ได้จากงานวิจัยไปพัฒนาในการผลิตยาได้ ผลกระทบ ทำให้ลดต้นทุนในการนำเข้ายาจากต่างประเทศ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศศิมนัส อุณจักร ภาควิชาชีวเคมี ผลงาน การพัฒนาวัคซีนควบคุมโรคปลา การใช้ประโยชน์ เชิงพาณิชย์  ผลผลิต สายพันธุ์แบคทีเรียที่ใช้พัฒนาเป็นวัคซีน ผลลัพธ์ บริษัทผลิต และจำหน่ายวัคซีนสัตว์ ผลกระทบ เพิ่มผลผลิต และความเข้มแข็งเศรษฐกิจของการผลิตสัตว์น้ำ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัญชลี ศิริขจรกิจ ภาควิชาพันธุศาสตร์ ผลงาน กระบวนการสำคัญในการปรับตัวต่อความร้อนในพืช การใช้ประโยชน์ เชิงพาณิชย์  ผลผลิต ยีน และกระบวนการที่ช่วยให้พืชปรับตัวกับสภาวะโลกร้อนได้ดีขึ้น ผลลัพธ์ เกษตรกร และผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ปรับปรุงพันธุ์พืชหรือคัดเลือกพันธุ์ที่ปรับตัวต่อสภาวะโลกร้อนได้ดี ผลกระทบ เพิ่มผลผลิตด้านการเกษตร และลดความเสียหายของผลผลิตเพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคงทางอาหาร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปิยะดา จันทวงศ์ ภาควิชาพันธุศาสตร์ ผลงาน กกลไกระดับอณูพันธุศาสตร์ ที่ทำให้พืชตระกูลถั่วทนทานต่อสภาวะน้ำท่วม การใช้ประโยชน์ เชิงสาธารณะ ผลผลิต ทราบกลไกระดับอณูพันธุศาสตร์ และกลุ่มยีนที่ทำให้พืชตระกูลถั่วมีความสามารถในการทนต่อสภาวะน้ำท่วมขังได้นาน ผลลัพธ์ กลุ่มยีนที่ทำให้ทนน้ำท่วม นำไปใช้เพื่อปรับปรุงพันธุ์พืชตระกูลถั่วของไทย ให้ทนต่อสภาวะน้ำท่วมขัง ผลกระทบ สายพันธุ์ถั่วทนน้ำท่วมขังช่วยเพิ่มผลผลิตถั่ว เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร และเพิ่มปริมาณการส่งออกถั่วจากประเทศไทยได้

 

 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ