Lifestyle

จาก ”เซ็กส์ในวัยรุ่น” ถึง “ท้องในวัยเรียน” อีกบทสรุปเรื่องเพศที่ควรเปิดกว้างหรือปิดกั้น?

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ในระหว่างที่กำลังเกิดประเด็นร้อน เกี่ยวกับภาพยนตร์ซีรี่ส์ต่างประเทศเรื่องหนึ่ง ที่พูดเรื่องเพศในวัยรุ่น ได้กลายเป็นประเด็นที่จุดชนวนให้สังคมไทยกำลังถกเถียงกันอย่างหนักถึงความเหมาะสม

โดยฝ่ายหนึ่งมองว่าการพูดเรื่อง “เพศ” ในกลุ่มเด็กและเยาวชนคือการชี้นำ และยังไม่ใช่วัยที่เหมาะสมจะรับรู้ ขณะที่อีกฝ่ายก็มองว่าเรื่องเพศควรเปิดกว้างเพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องเพศอย่างถูกต้อง

ไม่ว่าข้อสรุปควรจะเป็นอย่างไร แต่สำหรับในวันที่  28-30 มกราคม 2562 นี้ ประเทศไทยกำลังจะมีการจัดประชุมเรื่องสุขภาวะทางเพศครั้งที่ 3 ณ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ โดยมีหน่วยงานที่ร่วมจัดได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ยูนิเซฟประเทศไทย มูลนิธิแพธทูเฮลท์ (P2H) และมูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง นอกจากนั้น ยังมีภาคีและอีกหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ร่วมสนับสนุนการจัดประชุมในหลายๆ ด้าน 

หากจะย้อนกล่าวถึงเส้นทางความเป็นมาของการจัดประชุมระดับชาติเรื่องสุขภาวะทางเพศ  ต้องเริ่มจากสถานการณ์ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของประเทศไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่าในช่วงปี 2551-2555 เรามีสถิติแม่วัยรุ่นเพิ่มขึ้นสูงมากอย่างต่อเนื่อง  ปัญหานี้กำลังเป็นหนึ่งในอุปสรรคที่กางกั้นอนาคตอันสดใสของเด็กไทยอย่างหนักหน่วง

โดยเฉพาะในปี 2555 เรามีวัยรุ่นที่เป็นแม่ตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 20 ปีสูงถึงวันละ 350 คนหรือ 130,000 คนต่อปี  จากประเด็นปัญหาดังกล่าว ทำให้ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา สสส.ร่วมกับหลายหน่วยงานได้เริ่มทำงานทั้งด้านการประมวลความรู้ การบูรณาการทำงานร่วมระหว่างต่างหน่วยงาน และร่วมมือกันสนับสนุนการพัฒนาโมเดลการทำงานเรื่องท้องวัยรุ่นในระดับจังหวัดขึ้น ใน 20 จังหวัด

ผลลัพธ์ที่ได้จากความร่วมมือครั้งนั้น คือช่วยให้สามารถรวบรวมบทเรียน และชุดความรู้จากการทำงาน  เพื่อนำมาใช้ขับเคลื่อนระดับนโยบายต่อไป

ต่อมาในเดือนกันยายน ปี 2557 สสส. ร่วมกับหน่วยงานหลักและภาคี ในการจัดประชุมระดับชาติเรื่องสุขภาวะทางเพศ ครั้งแรกขึ้น โดยชูประเด็น “การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” เพื่อกระตุกให้ทุกฝ่ายในสังคมได้รู้จักและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหานี้ร่วมกันอย่างลึกซึ้งมากขึ้น ผลจากการจัดประชุมครั้งแรกนี้  ส่งผลให้เกิดความตื่นตัวอย่างมากในสังคมและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง  เป็นเงื่อนไขและโอกาส ที่ช่วยให้ สสส. และกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับหลายหน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้อง  สามารถขับเคลื่อนผลักดัน พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ซึ่ง สนช. ได้ให้การสนับสนุนและผ่านเป็นกฎหมาย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี 2559 

ส่วนในปี 2560 ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นได้รับการต่อยอดประเด็นอีกครั้ง ในการประชุมสุขภาวะทางเพศระดับชาติครั้งที่ 2 ภายใต้แนวคิด “เซ็กส์เปิดในวัยรุ่น: เปิดพื้นที่เพิ่มความฉลาดรู้เรื่องเพศ” เพราะสิ่งสำคัญในการทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาท้องวัยรุ่นได้อย่างยั่งยืน คือการที่ผู้ใหญ่ต้องเข้าใจธรรมชาติของวัยรุ่น และต้องเปิดพื้นที่ให้วัยรุ่นได้เรียนรู้เรื่องเพศเพื่อช่วยให้วัยรุ่นปลอดภัยจากทั้งเรื่องท้องไม่พร้อมและปัญหาอื่นๆ ที่ตามมา เพราะการห้ามวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ไม่มีทางเป็นไปได้ แต่จะทำอย่างไรให้วัยรุ่นได้เรียนรู้และมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมและปลอดภัย  ซึ่งในช่วงการประชุมครั้งที่ 2 นี้เป็นช่วงที่มีการประกาศยุทธศาสตร์ชาติ 10 ปี ตาม พ.ร.บ. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นพอดี จึงมีการนำเป้าหมายลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ลง 50% ภายในปี 2569 มาสื่อสารให้สังคมรับรู้อย่างกว้างขวาง เพื่อร่วมกันผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย

สำหรับในปีนี้ วาระเด่นของการประชุมระดับชาติ ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น โดยครั้งนี้จะเป็นโอกาสสำคัญที่รวบรวมเอา นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงเยาวชนที่ทำงานด้านสุขภาวะทางเพศ มาร่วมแชร์ความรู้ ประสบการณ์และหลายเรื่องราว ที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อนว่าเคยเกิดขึ้นจริงในประเทศไทย  ซึ่งมาในหัวข้อหลักเรื่อง “การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น: จากยุทธศาสตร์ สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืน”

ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. กล่าวว่า สำหรับการประชุมสุขภาวะทางเพศระดับชาติ ครั้งที่ 3 ในปี 2562 นี้ สสส. ร่วมกับหน่วยงานหลักและภาคีเครือข่าย ได้กำหนดหัวข้อหลักของการประชุมคือ “การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น : จากยุทธศาสตร์ สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืน” เพราะหลังจากพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2559 และมียุทธศาสตร์ 10 ปี เพื่อลดการคลอดในวัยรุ่นลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2569 แล้ว ขณะนี้ 5 กระทรวงหลักได้เตรียมออกกฎกระทรวงเพื่อให้หน่วยปฏิบัติทุกระดับเข้าใจบทบาทภารกิจของตนตาม พ.ร.บ.  โดยมีสาระสำคัญในการดูแลสนับสนุนให้วัยรุ่นสามารถเข้าถึงมีสิทธิต่างๆ โดยเฉพาะการเรียนรู้เรื่องเพศวิถีศึกษา การได้รับบริการคุมกำเนิดและอนามัยการเจริญพันธุ์ การต้องได้เรียนต่อเนื่องแม้จะตั้งครรภ์ รวมถึงการได้รับสวัสดิการสังคมอย่างเสมอภาค ไม่ถูกเลือกปฏิบัติ

“สสส. มีความยินดีที่หลังจาก พ.ร.บ.ดังกล่าวได้รับการประกาศใช้มาเป็นเวลากว่า 3 ปี ก็มีแนวโน้มว่าสถานการณ์หญิงคลอดบุตรในช่วงอายุ 10-19 ปี กำลังค่อยๆ ลดลง จาก 5 ปีที่แล้ว ที่มีวัยรุ่นต้องเป็นแม่วันละกว่า 350  คน ในปี 2560 ลดลงมาอยู่ที่วันละ 250 คน ทั้งหมดนี้เป็นผลจากการที่หน่วยงานต่างๆ นำนโยบายมาพัฒนาสู่การปฏิบัติจริง โดย สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ นักวิชาการและภาคประชาสังคม ได้สนับสนุนการขับเคลื่อนเชิงยุทธศาสตร์และลงลึกถึงระดับพื้นที่ และในเดือนนี้ก็ถึงเวลาแล้วที่ทุกหน่วยงาน ทุกภาคส่วนในสังคม  จะได้นำข้อมูล ความรู้ บทเรียน และประสบการณ์ จากการทำงานในช่วงที่ผ่านมา มาร่วมแลกเปลี่ยนและนำเสนอให้สังคมได้เรียนรู้ร่วมกัน  จึงเกิดเป็นการประชุมระดับชาติสุขภาวะเพศ ครั้งที่ 3 ในแนวคิด การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น: จากยุทธศาสตร์ สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืน” ทพ.ศิริเกียรติ กล่าว

สำหรับร่มใหญ่ของการประชุมในปีนี้ ประกอบไปด้วย 3 ประเด็น ได้แก่ 1.การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืน 2.เพศวิถีและสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่น และ 3.นวัตกรรมและความรู้ใหม่ๆในการดำเนินงาน โดยมีการประชุมรวม (Plenary) จำนวน 4 ห้อง ควบคู่ไปกับการนำเสนอหัวข้อสำคัญ (Symposium) อีกมากกว่า 40 หัวข้อ

ผอ.สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. กล่าวแนะนำว่า หนึ่งในการอภิปรายย่อยที่น่าสนใจของการประชุมครั้งนี้ คือการสื่อสารนโยบายเด็กท้องต้องได้เรียน ใน Symposium 1.5 ซึ่งในครั้งนี้ได้เชิญตัวแทนสถานศึกษามาร่วมแลกเปลี่ยนถึงวิธีการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ตั้งครรภ์ให้ได้รับรูปแบบการศึกษาที่เหมาะสมและต่อเนื่อง โดยเชื่อมั่นว่าประสบการณ์เหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อสถานศึกษาแห่งอื่นๆ ทั่วประเทศ ให้ได้กลับไปทบทวนถึงวิธีการที่เหมาะสมกับสภาพบริบทภายในสถานศึกษา

อีกหนึ่งห้องที่น่าสนใจไม่ควรพลาดคือ Symposium 3.5 การทำงานกับพ่อแม่ใน 3 settings: โรงเรียน ชุมชน และสถานประกอบการ “การสื่อสารเชิงบวกในบ้าน ป้องกันปัญหาได้ทุกเรื่อง” สำหรับห้องนี้มีที่มาจากความเชื่อมั่นที่ว่า ถ้าเด็กหรือวัยรุ่นในบ้านมีคนเข้าใจ รับฟัง เป็นห่วง สามารถพึ่งพิงได้เมื่อกำลังเผชิญกับปัญหา นี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการลดปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องเพศ แต่การจะเข้าถึงพ่อกับแม่ได้อย่างไร คือโจทย์สำคัญของเรื่องนี้ ซึ่งในห้องนี้ผู้เข้าร่วมจะได้รับฟังประสบการณ์ทำงานร่วมกับผู้ปกครอง เริ่มจากการทำงานร่วมกับพ่อแม่ของสถานศึกษา การทำงานร่วมกับพ่อแม่ที่อยู่ในชุมชนเมือง และชนบท รวมทั้งพ่อแม่ที่เป็นพนักงานอยู่ในสถานประกอบการ

รวมถึงพลาดไม่ได้ กับช่วงพิธีเปิดในวันที่ 28 มกราคม 2562 เวลา 10.00-12.00 น. กับการปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “ประเทศไทยกับการขับเคลื่อนเรื่องการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” โดย พลเอกปัฐมพงศ์ ประถมภัฏ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และร่วมรับชมการแสดงพลังเยาวชน โดยแกนนำเยาวชนหลายภูมิภาค ตลอดจนเพลิดเพลินไปกับกิจกรรมสุดสร้างสรรค์ที่ “ลานเรียนรู้ ปฏิบัติการชุมชนสู่สุขภาวะทางเพศ”  ผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมสามารถสมัครได้ทาง goo.gl/oronKx

สอบถาม โทร. 097-0454410 หรือ อีเมล์ [email protected]

จาก ”เซ็กส์ในวัยรุ่น” ถึง “ท้องในวัยเรียน”  อีกบทสรุปเรื่องเพศที่ควรเปิดกว้างหรือปิดกั้น?

จาก ”เซ็กส์ในวัยรุ่น” ถึง “ท้องในวัยเรียน”  อีกบทสรุปเรื่องเพศที่ควรเปิดกว้างหรือปิดกั้น?

จาก ”เซ็กส์ในวัยรุ่น” ถึง “ท้องในวัยเรียน”  อีกบทสรุปเรื่องเพศที่ควรเปิดกว้างหรือปิดกั้น?

จาก ”เซ็กส์ในวัยรุ่น” ถึง “ท้องในวัยเรียน”  อีกบทสรุปเรื่องเพศที่ควรเปิดกว้างหรือปิดกั้น?

จาก ”เซ็กส์ในวัยรุ่น” ถึง “ท้องในวัยเรียน”  อีกบทสรุปเรื่องเพศที่ควรเปิดกว้างหรือปิดกั้น?

จาก ”เซ็กส์ในวัยรุ่น” ถึง “ท้องในวัยเรียน”  อีกบทสรุปเรื่องเพศที่ควรเปิดกว้างหรือปิดกั้น?

จาก ”เซ็กส์ในวัยรุ่น” ถึง “ท้องในวัยเรียน”  อีกบทสรุปเรื่องเพศที่ควรเปิดกว้างหรือปิดกั้น?

จาก ”เซ็กส์ในวัยรุ่น” ถึง “ท้องในวัยเรียน”  อีกบทสรุปเรื่องเพศที่ควรเปิดกว้างหรือปิดกั้น?

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ